20 ธ.ค. 2019 เวลา 06:21 • ประวัติศาสตร์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
"ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบ แต่เพียงผู้เดียว"
Time x Biography
ผม The Time ขอเล่า
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ในปี พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2506 คนไทยทุกคนคงไม่มีใครไม่รู้จักนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ซึ้งเป็นนายทหารหนุ่มผู้มีนามว่า "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" หรือสมญานาม "จอมผลผ้าขาวม้าแดง"
ท่านเป็นคนมีท่าทางองอาจ พูดจาโผงผางและเสียงดัง ซึ่งเมื่อเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาปกครองของประเทศโดยใช้มาตรการเผด็จการเบ็ดเสร็จ เด็ดขาล
แต่ก็ถือได้ว่าในช่วงที่เขาปกครอง ประเทศมีความสงบเรียบร้อยเป็นอย่างมาก
และนักวิชาการขนานนามยุคนี้ว่า "ยุคเผด็จการทหาร"
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านม่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร
บิดาชื่อ นายทองดี ธนะรัชต์ หรือก็คือ พันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์
มารดาชื่อ นางจันทิพย์ ธนะรัชต์
จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2471 โดยใช้เวลาเรียนถึง 10 ปี และเข้ารับราขการเป็นนักเรียนทำหารนายร้อย กองพันที่ 1 กรมมหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ หลังจากนั้นท่านก็ค่อยๆไต่เต้าตำแหน่งขึ้นมาเรื่อยๆ และเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของกลุ่มอำนาจต่างๆมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2476 ที่เกิดกบฏบวชเดชขึ้น นำโดยพลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช ที่นำทหารจากโคราขเพื่อต่อต้านคณะราษฏร์ ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศในเวลานั้น) เป็นหนึ่งในปู้บังคับหมวดเข้าปราบปรามกลุ่มกบฏชนชนะ และได้ขึ้นเป็นร้อยโท และร้อยเอกในอีกสองปีต่อมา
พลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช
ท่านยังเคยเข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา ในปี พ.ศ. 2484 โคยในเวลานั้นมียศเป็นพันตรี และปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้ขึ้นเป็นพันเอก
ในปี พ.ศ. 2491 พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์กับพรรคพวกทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และเชิญจอมพล ป. พิบูลสงครามกลับมานายกฯอีกครั้ง
4
ในปี พ.ศ. 2495 ท่านสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก มียศเป็นพลเอกและยังเป็ฯรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐของจอมพล ป. จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญาชาการทหารบกและมียศเป็นจอมพล ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497
ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ท่านก็ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจจากรัฐของจอมพล ป. ที่ทำเช่นนั้นเพราะมีการเดิกขบวนประท้วงจากนักเรียน นักศึกษา ประชาชนกว่าแสนคน
4
เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและพลตำรวจเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวง ให้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะมีการโกงการเลือกตั้งอย่างมโหฬารและสกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
5
เหล่านักศึกษาที่มาเดินขบวนประท้วง
ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. รีบแต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อหวังจะกอบกู้สถานการณ์ แต่กลายเป็นว่าจอมพลสฤษดิ์เลือกข้างฝั่งประชาชนแทนและสั่งการให้ไม่ให้ทหารทำร้ายประชาชนเป็นอันขาด ทำให้ท่านกลายเป็นขวัญใจประชาชนไปทันที
ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2500 ได้มีข่างลือว่าท่านจอมพลสฤษดิ์จะทำหารปฏิวัติ แต่ท่านก็ออกมาตอบว่า
"อย่าพูดเรื่องตำแหน่งนายกฯหรือการปฏิวัติกับตนเลย ตนจะขอมีนายเพียงคนเดียวเท่านั้นคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และจะไม่ขอวัดรอยเท้ากับท่านจอมพล ป."
1
แต่เหตุการณ์บ้านเมืองก็ไม่มีทีท่าจะสงบลงไปได้ จนในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และคณะทหารได้ยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. ให้ลาออก
1
แต่จอมพล ป. ไม่ยอดโดยมีข้อแม้ว่า ถ้าจะให้ตนลาออก ต้องให้ตนเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่เอง และนี้ก็ทำให้ประชาชนและจอมพลสฤษดิ์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จนจอมพลสฤษดิ์ได้ส่งสัญญาการปฏิวัติผ่านสถานีวิทยุยานเกราะให้กับประชาชนด้วยวลีเด็ดว่า "พบกันเมื่อชาติต้องการ"
1
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งห้ามทหารทำร้ายประชาชน
ในที่สุดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็ทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของจอมพล ป. และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500
2
ทางสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ท่านจอมพลสฤษดิ์เป็นนายก แต่ท่านปฏิเสธและให้ พลโทถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกฯแทน
2
วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2501 หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์กลับมาจากการรักษาตัวที่อเมริกาและอังกฤษ ก็ได้เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติทำการยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง โดย จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
2
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ซ้าย) และ จอมพลถนอม กิตติขจร (ขวา)
หลังจากนั้นจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจ ก็ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญ และปกครองประเทศด้วยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรซึ้งให้อำนาจเด็ดขาดแก่นายกรัฐมนตรี
วันที่ 9 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2502 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ตั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 และให้ใช้มาตรา 17 ที่ทำให้นายกฯมีอำนาจอย่างไม่มีขอบเขต ทั้งอำนาจการบริหารและตุลาการอยู่ที่นายกรัฐมนตรีทั้งหมด
2
แอดเชื่อว่าทุกคน (ผู้อ่าน) คงคิดว่าประเทศไทย แย่แล้วแน่ๆ แต่ว่า...
ในช่วงที่ท่านจอมพลสฤษดิ์บริหารประเทศ ประเทศไทยเวลานั้นเป็นยุคที่สงบเรียบร้อยมาก
และท่านได้ปรับปรุงบริหารและพัฒนาประเทศไว้มากมาย เช่น
-ออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด
-ออกกฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล
-ปราบปรามการค้าประเวณี
-ปราบปรามคอมมิวนิสต์
2
ทำให้บ้านเมืองอยู่ในความเรียบร้อยและเดินหน้าต่อไปภายใต้คำว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบ แต่เพียงผู้เดียว"
ท่านยังได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับแรกขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนมันกลายมาเป็นแม่แบบของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน
3
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมในขณะที่ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีที่ปกครองประเทศด้วยความเฉียบขาดและสร้างสิ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศอย่างมากมาย แม้จะมีข้อครหาในเรื่องคอร์รัปชั่นและเรื่องชู้สาว รวมถึงทรัพย์สินมหาศาลที่มีการยึดทรัพย์ในรัฐบาลต่อมา
แต่ท่านก็เป็นผู้นำประเทศอีกผู้หนึ่งที่คนไทยต่างยกย่องอยู่เสมอ ในเรื่องคุณสักษณะสบบัติเด่น และในเรื่องความเด็ดขาด ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก
อ้างอิงจาก "หนังสือ 100 ตนผู้ทรงอิทธิพลแห่งสยามประเทศ"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา