22 ธ.ค. 2019 เวลา 07:20 • ไลฟ์สไตล์
Look like a master : มองอย่างเซียนEP5 วิเคราะห์จริงจัง พระเครื่องแบบไหนถึงน่าลงทุน
มองอย่างเซียนเดินทางมาถึงEP5แล้ว บอกเลยว่าถ้าให้เขียนแบบเนื้อหาแบบวงการพระเครื่องเต็มๆ ก็คงจะได้หลายEPแล้ว
แต่เพราะกลัวว่าเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านจะไม่ชอบ และอาจไม่สนใจ ผมเลยพยายามเขียนออกมาในรูปแบบของการลงทุนชนิดหนึ่งซะมากกว่า
EP5 ก็เช่นเดียวกันก็ยังเป็นบทความที่เขียนถึงมุมมองเกี่ยวกับการลงทุนในพระเครื่องต่อจากบทความที่แล้วคือ”การลงทุนในพระทองคำ”
และก็มีเพื่อนๆบางคนเกิดความสงสัยว่า เราจะเอาเกณฑ์อะไรมาวัดว่าเราควรลงทุนในพระเครื่องแบบไหน หลวงพ่ออะไร มองยังไงถึงน่าลงทุนระยะยาวหรือคือถือกันไปยาวๆ เพราะการลงทุนในพระเครื่องแบบนี้จะให้ผลกำไรต่อหน่วยเยอะมาก
ซึ่งบางครั้งให้กำไรเกิน100เท่าก็มีมาแล้ว ซื้อหลักร้อยขายหลักล้านก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ
จึงเป็นสาเหตุให้ผมมาเขียนบทความนี้ให้เพื่อนๆได้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นในการลงทุนในพระเครื่องแบบระยะยาวนะ เน้นระยะยาวนะ ไม่ใช่แบบซื้อมาขายไปรายวัน อันนั้นต้องมีความรู้พอสมควร
ขออนุญาตภาพจากเพจคนรักพระ
เกณฑ์ในการที่ผมจะลงทุนน่าจะมีหลักๆอยู่ 4อย่างด้วยกัน
1️⃣อายุ(age) เป็นพระเครื่องที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 40ปี
2️⃣เรื่องราว(story) เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีประวัติชัดเจน มีหลักฐานให้สืบค้นได้
3️⃣ราคา(price) เป็นพระเครื่องที่มีราคาต่อหน่วยที่เราจับต้องได้ ไม่แพงจนเกินไป และ ไม่ถูกจนเกินไป
4️⃣ความน่าจะเป็น(probability) เป็นพระเครื่องที่มีสายสืบต่อๆกันมา เช่น เป็นลูกศิษย์ของเกจิดังๆ
เขียนเกณฑ์ในการเลือกการลงทุนไปแล้วเพื่อนๆ อาจจะนึกภาพไม่ออก เราไปดูตัวอย่างกัน
วันนี้ผมจะมายกตัวอย่างพระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่งที่ผมเลือกลงทุนโดยผมมีเป้าสะสมไว้ที่100เหรียญ แต่ตอนนี้ เพิ่งจะซื้อเข้ามาได้แค่30กว่าเหรียญ
พระเกจิอาจารย์ที่ผมให้ความสนใจคือ “หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์”
ทำไมผมถึงเลือกลงทุนในพระเครื่องของท่าน เราตามมาดูกันว่าเข้าเกณฑ์ในการเลือกของเราไหม
ภาพถ่ายหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
1️⃣อายุ(age)
พระเครื่องของหลวงปู่สี มีอายุสร้างอยู่ประมาณช่วงระหว่างปี15 ถึงปี19 ซึ่งถ้านำมาห้กลบกับปีปัจจุบันแล้ว จะมีอายุอยู่ประมาณ 42 ปี
ถามว่าทำไมต้องเป็นช่วงอายุประมาณนี้ ตอบเลยว่าเมื่อราว40กว่าปีก่อนนั้น เจตนารมณ์ในการสร้างพระเครื่องส่วนมากไม่ได้มุงเน้นผลกำไร แต่สร้างเพื่อจะนำเงินไปทำประโยชน์ต่างๆ
ซึ่งจำนวนการสร้างจะไม่ค่อยเยอะมาก ทั้งต่อรุ่นที่สร้าง และจำนวนที่สร้างในแต่ละรุ่น บางหลวงพ่อสร้าง5ถึง6รุ่น ตลอดชีวิต บางรุ่นสร้างจำนวนหลักพัน หลักร้อย
ที่ผมตัดสินใจเลือกลงทุนในพระเครืองหลวงปู่สี นั้นก็มีเหตุเกี่ยวกับจำนวนการสร้างด้วย ท่านสร้างพระเครื่องจำนวนไม่เยอะเกินไป ไม่น้อยเกิน กำลังดี
เพื่อนๆอาจจะงงทำไมเยอะเกินไปไม่ดี แล้วทำไมน้อยเกินไปก็ไม่ดีล่ะ เหตุคือ ถ้ามีมากรุ่นหรือจำนวนเยอะเกินไปราคาพระก็จะเดินไม่ดี คือมูลค่าต่อหน่วยจะขึ้นช้ามาก เพราะพระมีเยอะมีมากกว่าความต้องการ
แล้วถ้าอย่างนั้นทำไมจำนวนน้อยก็ไม่ดีล่ะ นั้นเพราะมีจำนวนน้อยเกินไป เลยไม่ทำให้เกิดการซื้อขายหมุนเวียนในตลาด และเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นเลือกเกจิอาจารย์ที่มีการสร้างไม่มากรุ่น และจำนวนสร้างไม่มากไม่น้อยเกินไปดีที่สุด
และอีกกรณีหนึ่งที่เป็นอีกส่วนที่จำเป็นเกี่ยวกับอายุของพระเครื่องก็คือ การที่หลวงพ่อรูปนั้นๆมรณภาพไปแล้ว ถามว่าถ้าท่านมรณภาพแล้วดียังไง ดีตรงstoryเรื่องราวของท่านจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้จะเอาไว้กล่าวต่อในข้อ2 ข้อเรื่องราวstory ผมให้คะแนนเกี่ยวกับเรื่องอายุของพระเครื่องหลวงปู่สีที่ 7 เต็ม10
2️⃣เรื่องราว(story)
เรื่องราวสำคัญยังไง เรื่องราวเป็นสิ่งสำคัญต้นๆเลย ที่จะนำมาพิจารณาในการลงทุน เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อถือศัทธาครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ยิ่งเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วยิ่งมีผลต่อราคามาก
ทำไมผมถึงเลือกลงทุนในพระเครื่องของหลวงปู่สี ผมจะมาเล่าประวัติของท่านแบบคร่าวๆให้ฟังกัน
องค์หลวงปู่สีเองผมรู้จักประวัติของท่านเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ตอนนั้นผมได้อ่านประวัติของท่านแล้วมีความรู้สึกทึ่งในองค์หลวงปู่สีมากๆ เพราะท่านเป็น
1️⃣ หลวงปู่สีเป็นลูกศิษย์สมเด็จโต หรือ พระสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรสี) หรือสมเด็จ
วัดระฆัง ท่านเป็นลูกศิษย์ที่สมเด็จโตบวชให้สมัยเป็นเณรอยู่ที่วัดระฆัง
2️⃣ ท่านเป็นสหธรรมิกที่สนิทที่สุดของพระเถระอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ถึง2 องค์คือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งพระเครื่องของทั้งสององค์นี้ ก็ติดอยู่ในเบญจภาคีเหรียญซึ่งมีมูลค่านับล้านบาทและอีกองค์ก็คือ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ผู้ที่สร้างเขี้ยวเสือ ซึ่งมีมูลค่าเป็นอันดับหนึ่งในเมืองไทย
1
3️⃣ท่านอายุยืนถึง128 ปี และที่สำคัญท่านอยู่มาถึง7 แผ่นดิน คือตั้งแต่รัชกาลที่3 ถึงรัชกาลที่9 ท่านมรณภาพปี19
4️⃣ ท่านยังเป็นองค์อาจารย์ของพระอรหันต์หลายองค์เช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่บุดดา หลวงปู่เย็น เป็นต้น
5️⃣ ที่สำคัญที่สุดคือพระเครื่องของท่านโดยเฉพาะชานหมากของท่านมีอภินิหารมากมายเกินที่จะกล่าวได้หมด ศักดิ์สิทธิ์มากๆชนิดที่ว่า มีคนนำชานหมากไปผูกคอไก่ แล้วนำระเบิดมือขว้างใส่ไก่ แต่ไก่ไม่เป็นไรเลย เพียงแต่ขนร่วงอย่างเดียว แต่สามารถหากินต่อไปได้ นี่แหละที่ทำให้ผมทึ่งสุดๆ (ข้อนี้เป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคล)
2
จาก5ข้อที่ผมได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าน่าสนใจมากทั้งประวัติอาจารย์ ประวัติสหธรรมมิก ทั้งอายุพรรษา และเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของพระดังๆอีกหลายคน รวมทั้งเรื่องปฏิหาริย์เกี่ยวกับพระเครื่องของท่านอีก ถ้าถามผมผมให้คะแนนstoryเต็ม10เลย
3️⃣ราคา(price)
ราคาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราก็ต้องให้ความสำคัญ เพราะราคาจะเป็นตัวบงบอกทิศทางของพระเครื่องนั้นว่ามีอนาคตหรือเปล่า
พระที่ดีที่น่าลงทุนควรมีราคาไม่เกินหมื่นต่อชิ้น หรือ ราคาต่ำสุดควรให้อยู่ไม่ต่ำว่าหลักพันต้นๆ
เพราะพระที่มีราคาหลักพันต้นๆเป็นพระที่ตลาดยอมรับและซื้อขายในวงกว้างพอสมควรแล้ว ไม่ต้องมานั่งรอกระแสปั่นจากใคร เพียงรอเวลาที่พอเหมาะก็จะมีราคาขยับตามกลไกลของตลาดเอง เพราะเป็นพระที่นักสะสมเล่นหากันแล้ว แค่เปลี่ยนมือบ่อยๆราคาก็จะขยับเอง
ส่วนที่ไม่ควรราคาเกินหมื่นต่อชิ้นเพราะ เราต้องซื้อเก็บพระจำนวนมากเพื่อนำไปลงทุน ถ้าราคาต่อหน่วยแพงเกินไปก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนในอนาคตด้วย เพราะถ้าในอนาคตมีการขยับของราคา เราก็สามารถเทขายได้ง่ายเพราะราคาต่อหน่วยไม่สูงมาก
ซึ่งราคาพระของหลวงปู่สีก็มีตั้งแต่ราคา หลักพันต้นๆ จนถึงหมื่นกลางๆ ส่วนตัวผมเลือกเก็บที่ราคาพันต้นๆ โดยเน้นที่จำนวนหน่วยมากกว่าเรื่องของราคา เพื่อสะดวกในการเทขายในอนาคต ผมให้คะแนนของราคาพระเครื่องหลวงปู่สีอยู่ที่7-8 จากเต็ม10
4️⃣ ความน่าจะเป็น(probability)
ความน่าจะเป็นคือการที่เราสำรวจตลาดโดยรวม จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งในสนามพระ และในโลกอินเตอร์เน็ต
ถามว่าดูยังไง ตอบเลยว่าดูจากการพูดคุยสอบถาม ความสนใจของตลาด เช็ดราคาตามเว็บไซต์ต่างๆ ดูความเข็มแข็งของเหล่าลูกศิษย์สายตรง และที่สำคัญคือมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งพระเครื่องหลวงปู่สี ก็มีข้อนี้อยู่ด้วยคือ มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายตลอดเวลา กลุ่มลูกศิษย์สายตรงมีการจัดงานประกวด มีงานกิจกรรมที่วัดตลอดปี และที่น่าสนใจ หาข้อมูลประวัติต่างๆในอินเตอร์เน็ตได้ง่าย ทำให้ง่ายต่อการศึกษาเพื่อที่จะสะสมของคนรุ่นใหม่ๆ
จากความน่าจะเป็นผมให้คะแนนที่ 8 เต็ม10
หวังว่าเกณฑ์การตัดสินใจ4ข้อในการลงทุนในพระเครื่องนี้ น่าจะพอเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ที่สนใจในการลงทุนในวงการพระเครื่องได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
1
สุดท้ายแล้วการตัดสินใจในการลงทุน ไม่ว่าจะลงทุนแบบไหนก็ควรที่จะศึกษาด้วยตัวเองให้เข้าใจก่อนในระดับหนึ่งก่อนการลงทุนทุกครั้ง
##ขอบคุณพี่ๆน้องๆในbdที่แวะเข้ามาเม้น มาอ่าน มาเป็นกำลังใจให้เพจใจดีนะครับ ขอบคุณครับ🙇🏻‍♂️##

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา