26 ธ.ค. 2019 เวลา 04:43
ผู้ป่วยต้องชดใช้ค่ารักษาพยายาลเป็นจำนวนกว่า 4 แสนบาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โรงพยาบาล ในกรณีใช้สิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน 72 ชม. ตามโครงการของยูเซป หรือ สปสช.
tnews.co.th
ตามที่พวกเราพอทราบกันดีในเรื่องของโครงการ เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาฟรีไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล หรือ เอกชน ภายใน 72 ชม.
ถ้ามาดูรายละเอียดกันลึก ๆ แล้ว การโฆษณาของ สปสช. ดูเหมือนจะดี และ เกินจริงไปซักหน่อย ก่อนเข้าไปรับการรักษาพยาบาลควรศึกษาให้ดี
posttoday.com
มีกรณีที่มีผู้ป่วยรายหนึ่ง เข้าไปรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลธนบุรี และได้ใช้สิทธิในโครงการนี้ หลังจากได้รับการปั้มหัวใจ หรือ CPR แล้วต้องนอนพักฟื้นจนกว่าอาการจะคงที่ ถึงทำการย้ายผู้ป่วยได้
เพราะฉะนั้น คำว่า รักษาฟรี 72 ชม.แรก จึงไม่เพียงพอต่อการรักษาและเฝ้าดูอาการของผู้ป่วย มิหนำซ้ำยังมีวงเงินที่จำกัดเพียง 53,000 บาทเท่านั้น
ถ้าเกินจากนี้ ผู้ป่วยต้องจ่ายเอง จึงเป็นการนำมาซึ่งการฟ้องร้องจากโรงพยาบาลถึงผู้ป่วย ที่เรียกร้องค่ารักษาพยาบาล โดย ทาง สปสช.ไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
สุดท้าย ศาลชั้นต้นจึงมีคำตัดสินลงมาให้จำเลย (ญาติผู้ป่วย) ต้องชำระค่ารักษาพยาบาลให้กับโจทย์ (โรงพยาบาล) เป็นจำนวนเงินกว่า 4 แสนบาทพร้อมดอกเบี้ย และ สปสช.เป็นจำเลยร่วม จ่ายเพียง 53,000 บาทเท่านั้น
twitter.com
.
1
ข้อคิดในคดีนี้
1.แพทย์ต้องทำการรักษาผู้ป่วยโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าผู้ป่วยนั้นจะมีเงินชำระค่ารักษาพยาบาลหรือไม่ก็ตาม
2.ถ้าผู้ป่วยอาการไม่คงที่ ห้ามโรงพยาบาลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็ดขาด ยกเว้น ญาติผู้ป่วยจะปฏิเสธที่จะรับการรักษา เป็นลายลักษณ์อักษร
3.ถ้าแพทย์ไม่อนุญาติให้ย้ายผู้ป่วย กฏหมายก็ไม่สามารถบังคับได้ แม้ว่าจะมีค่ารักษาพยาบาลมากเท่าไหร่ก็ตาม เพราะถ้าแพทย์เห็นใจให้ย้ายผู้ป่วยขั้นวิกฤษ แพทย์จะมีความผิดตามกฏหมาย
.
ข้อควรระวัง ถ้าต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน
1.ระวังกำหนดเวลาไม่เกิน 72 ชม.
2.วงเงินไม่เกิน 53,000 บาท
3.สปสช.ไม่มีส่วนในการรับผิดชอบ
4.ถ้าแพทย์ไม่ให้ย้าย ผู้ป่วยต้องจ่ายส่วนเกินเอง จนกว่าแพทย์จะอนุญาติให้ย้ายได้
.
สุดท้ายก็ขอให้รักษาสุขภาพกันนะครับ จะได้ไม่ต้องไปใช้สิทธิที่เหมือนจะดี โฆษณาดี แต่ใช้จริง ก็ต้องระวังค่าใช้จ่ายจะบานปลาย
Merry X' Mas and Happy New Year ครับ
แหล่งที่มา : mgronline.com
โฆษณา