26 ธ.ค. 2019 เวลา 10:31 • ความคิดเห็น
ธุรกิจกับทำเล......
ตอน แฟรนไชส์ตู้ซักผ้าหยอดเหรียญ
ช่วงที่ผ่านมานี้มีหลายคนมาปรึกษาเกี่ยวกับ ธุรกิจ
แฟรนไชส์ที่กำลังมาแรงอยู่ 2 ตัว
ตัวแรกคือ ตู้ซักผ้าหยอดเหรียญ และ ชานมจากญี่ปุ่น ที่ราคาแก้วละ19บาท (ขอสงวนชื่อนะคะ)
เรื่องทำเล จริงๆแล้วเคทเคยมีลงบทความอยู่เรื่อยๆนะ เช่น การสำรวจเลือกโลเคชั่นต่างๆ
ทีนี้เข้าใจว่า ดีเทล และ คีย์ แต่ละธุรกิจ มีรายละเอียดที่ต่างกัน เพื่อนๆหลายคนจึงยังตีโจทย์ไม่แตกและยังสับสนอยู่ เคทจะขออธิบายคร่าวๆนะคะ
ก่อนคุณจะเปิดธุรกิจค้าขายสักอย่างขึ้นมาเนี่ย คุณควรจะทำแผนที่ก่อน คุณต้องร่างหรือวาดแผนที่ให้ได้ ในโลเคชั่นที่คุณจะเปิดร้านเปิดกิจการ ควรร่างแผนที่อาณาบริเวณรัศมีรอบๆอย่างน้อยสัก 1กิโลเมตร
คุณต้องเขียนให้ได้ ว่าทำเลของคุณนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีโรงเรียนไหม มีหมู่บ้านกี่แห่ง บ้านประมาณกี่หลัง มีโรงงานไหม มีออฟฟิศไหม คุณต้องรู้อาณาบริเวณขอบเขตพวกนี้ก่อนค่ะ เพื่อคุณจะได้รู้ว่า ตลาดของคุณคือใคร !! เซกเม้นไหน สินค้าตัวไหนที่เหมาะสมที่สุด คู่แข่งมีใครบ้าง !!
ทีนี้เนี่ย บางแห่งทำเลดีนะคะ เช่น ปริมาณผู้อยู่อาศัยหนาแน่น พื้นที่ทำเลมีที่จอดรถ แต่...ก็ใช่จะเหมาว่าเหมาะกับทุกธุรกิจ !! ไม่ใช่นะคะ
1
อย่างล่าสุด เคสที่มาปรึกษาเนี่ย วาดโลเคชั่นมาอย่างดีเลย พร้อมอธิบายแผนธุรกิจเสร็จสรรพ
คำอธิบายดังนี้ค่ะ (คร่าวๆ)
ธุรกิจบริการ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ ปัจจุบันเราจะเห็นว่า ธุรกิจบริการอย่างการส่งสินค้า ส่งอาหารกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ธุรกิจเราก็เช่นกัน เป็นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย ต้องการความเร่งรีบ สามารถซักและอบจบภายในระยะเวลาอันสั้น (ราวๆ1 ชม.) เปิดบริการตลอด 24 ด้วยรูปแบบการบริการอันทันสมัย ด้วยถังซักที่มีคุณภาพสูงทนทานแตกต่างไปจากเดิม ให้บริการ FREE WIFI ในระหว่างที่รอ พร้อมมีระบบกล้องวงจรปิดดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีทีมงานคอยดูแลและทำความสะอาดทุกวัน
ลูกค้าจะประทับใจและได้รับประสบการณ์ใหม่ๆจากการซักที่แตกต่างจากเดิม
..........................................................
ว้าวววววววว อ่านละเคลิ้มเลยค่ะ
แต่อ่านจบเคทเดาได้เลยว่า เป็นธุรกิจประเภท
อายุน้อย....ล้านแน่ๆ
คือ ต้องเข้าใจก่อนนะคะว่า ธุรกิจพวกนี้ เจ้าของเน้นขายแฟรนไชส์ค่ะ เขารวยเพราะเขาขายคอนเซป ขายแฟรนไชส์ให้คนมาซื้อ แต่กำไรของคนที่มาซื้อ เขาไม่ได้การันตรีนะคะ และส่วนใหญ่ ก็อย่างที่รู้ๆกัน มักเป็นธุรกิจแฟชั่น มาเร็วไปเร็ว ยืนระยะได้ไม่นาน และปัญหาที่สำคัญคือ ทำซ้ำหรือลอกเลียนได้ง่าย !!
ทีนี้ถ้าคุณมองโลเคชั่น หรืออ่านทำเลไม่ขาดเนี่ย โอกาสเจ็บตัวสูงมากค่ะ
เคทเลยถามว่า : ลงทุนเท่าไหร่
ลค : 3 ล้านกว่า
อืมมม ไม่น้อยเลยนะ
เคทเลยขอดูแผนที่ โลเคชั่น
โอเค เป็นพื้นที่หนาแน่นมากๆ เป็นซอยใหญ่ ผู้อยู่อาศัยเยอะมากๆ มีคอนโด และอพาร์ทเม้นเยอะ มีเซเว่นเปิดทุกๆ 500 ม. ในซอย สะท้อนดัชนีของผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี
จุดเปิดร้าน อยู่ต้นซอยประมาณ 50 เมตร ทุกคนเข้ามาต้องเห็น มีที่จอดรถด้านหน้า ขนาดพื้นที่เป็นคูหา 3 ห้อง สามารถลงตู้ซักผ้า ตู้อบได้ รวมๆกันราว 11 ตู้
เฉลี่ย ตู้ละ 60 บาท (40บาทขั้นต่ำ - 80บาท)
ทีนี้ปกติเคทจะ ประเมินและคำนวณรายได้ จุดคุ้มทุนของธุรกิจให้เขาเลย แต่กับเคสนี้ เคทมองว่ามันยังมีช่องโหว่ในธุรกิจพอสมควร
เคทเลยเลือกที่จะยิงคำถาม เพื่อเป็นการให้เขาตรวจสอบแพลนของธุรกิจอีกครั้ง
เคท : โลเคชั่น ที่ส่งมานั้น มีคนเยอะจริง และผู้อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ ลูกค้า คือ ใคร !!
ลค : (คิดนานมาก) คนที่อาศัยทั่วไป เน้นวัยทำงานและนักศึกษา
เคท : กลุ่มลูกค้า รายได้เท่าไหร่ (เพราะเคทดูแล้วราคาค่าบริการไม่ถูกและสูงกว่าตลาดพอควร)
ลค : (คิดนาน ) 15,000-20,000 (เป็นคำตอบแบบกลางๆ)
เคท : บริเวณนั้น มีร้านบริการ ซักรีด กี่ร้าน
ลค : ประมาณ 4 ร้าน
โอเค ยังทำการบ้านมาดี .....อ่ะต่อ
เคท : อาพาร์ทเม้นท์ หรือ คอนโด ระแวกนั้น ด้านล่างมีเครื่องซักผ้าบริการไหม
ลค : อืมม...มีค่ะ
เคท : แล้ว คิดว่า บ้านผู้อยู่อาศัยแถบนั้น ที่บ้านมีเครื่องซักผ้าเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของทั้งหมด
ลค : ............... ไม่แน่ใจค่ะ ( ตอบไม่ได้ )
.................................................
เคทเลยอธิบายกับเขาเพิ่มเติมไปว่า
ก่อนที่จะคำนวณจุดคุ้มทุนหรือกำไรของธุรกิจ คุณต้องทราบดัชนีของกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนนะคะ
โอเค เรื่องโลเคชั่นคุณทำการบ้านมาดีระดับนึง แต่ดีเทลที่คุณพลาดไป คือ มาร์เกตแชร์ของตลาด และดีมานด์ที่คุณรีเสริชมา มันยังไม่ชัดพอ นั่นก็เพราะกลุ่มเป้าหมายคุณยังไม่ชัดเจนพอนั่นแหละ
ทีนี้ ธุรกิจของคุณอ่ะ มันมีความใกล้เคียงกับธุรกิจอะไรรู้ไหม ธุรกิจคุณมันใกล้เคียงกับ ร้านอินเตอร์เนตค่ะ
อัตราตอบแทนของผลกำไร มาจาก วอลุ่ม ความถี่ของผู้ใช้บริการ/เครื่อง การเติบโตถูกจำกัดด้วยปริมาณเครื่อง
เช่น คอม 1 เครื่อง มีค่าบริการเฉลี่ย17 บาท/ชั่วโมง
ที่ร้านมี ทั้งหมด 30 เครื่อง
ก็เอา (17×30)×24 = 12,240 คือ max สุดของรายได้และไม่สามารถโตไปกว่านี้ได้ (นอกจากจะเพิ่มบริการ ขายอาหาร เครื่องดื่ม)
ทีนี้ ในความเป็นจริง เคยมีร้านไหนคนเต็มตลอดทั้งวันไหมคะ คงมีอ่ะ แต่หายากมากกกกกก และในยุคปัจจุบัน การหาร้านแบบนั้นยิ่งเหมือนงมเข็มในมหาสมุทรอ่ะ
ดังนั้นส่วนใหญ่ จะตีตัวเลขกลมๆที่เป็นไปได้ คือ 12 ชม /30 เครื่อง ก็คือ ลดรายได้ลงมาครึ่งนึง (เอาจริงๆตัวเลขนี้ก็ยังถือว่าสูงนะคะ ความเป็นไปได้ ค่าเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 8-10 ชม คิดจากช่วงเวลาคนใช้บริการหนาแน่นที่เวลา 6โมง-ตี2)
กับธุรกิจ บริการซักผ้าก็เหมือนกัน การคำนวณไม่ต่างกันมาก
อย่างแรกเลยเนี่ย ต้องเข้าใจก่อนว่า ธุรกิจนี้ที่มันบูมในต่างประเทศได้ นั่นก็เพราะ ประเทศเขาเป็นเมืองหนาวค่ะ และไม่ค่อยมีแดด !!
ซึ่งบ้านเรามันแดดร้อนมากกกก ฤดูที่ตากผ้าลำบากมีแค่ ฤดูฝนค่ะ นอกนั้นตากแปปเดียวก็แห้ง
ทีนี้กลุ่มที่ใช้บริการ ทาร์เก็ตคือ คนทำงานออฟฟิศ และนักเรียน นักศึกษา โลเคชั่น คือ ต้องเน้นอพาร์ทเม้นท์ หอพัก ม.เอกชน เพราะค่าบริการซักไม่ถูก และ ย่านคอนโด ระดับกลางถึงบน คอนโดพวกนี้เขาจะไม่ให้ตากผ้าล้นออกมา ส่วนใหญ่จึงใช้บริการซักรีด กะซักอบเครื่องมากกว่า ที่จะซักเอง (สรุป ทำเลต้องโฟกัส กลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ ระดับนึง)
ซึ่งกลุ่มลูกค้าจะมาช่วงเย็นถึงตอนกลางคืน (เลิกงาน เลิกเรียน) ระยะเวลาที่ใช้บริการก็จะอยู่ที่ 8-10 ชม ประมาณนี้
ทีนี้ก็ตั้งสมการออกมา ดังนี้
มีทั้งหมด 11 เครื่อง ×60 บาท × 10 ชม.
= 6,600 /วัน ปีนึงก็จะได้ 2.4 ล้าน ว้าวววววววว
คืนทุนเร็วมากกกกก ประมาณปีครึ่งเอง !!!
แต่ในความเป็นจริง ยังไม่ได้หักค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบำรุงดูแล ออกเลย
และที่สำคัญ อย่างที่บอกคือ ปัญหาเรื่องความถี่ในการใช้งาน ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ไม่เหมือนร้านอินเตอร์เนต
อย่างร้านอินเตอร์เนตเนี่ย เมื่อมี เครื่องว่าง ลูกค้าคนต่อไปสามารถ ใช้บริการและรันชั่วโมงได้ทันที แถมถ้าใช้ชั่วโมงไม่ครบ กำไรก็ตกเป็นของร้าน
แต่ ร้านซักผ้า ที่ไม่มีคนดูแลเฝ้า มันจะมีกรณี ซักผ้าแล้วไม่เอาออกจากเครื่อง ทีนี้ ชั่วโมงการทำงานก็ไม่ต่อเนื่องละ อันนี้ก็เกิดปัญหาละ
แล้วเครื่องอบ จำนวนคนใช้ก็น้อยกว่าคนซัก เพราะ
คงไม่มีใคร เอาผ้ามาอบเฉยๆโดยไม่ซัก ทีนี้เครื่องซักเต็ม แต่ เครื่องอบ จะไม่เต็มตาม เพราะมันเป็นสเตป ขั้นตอนการซัก น้อยมากๆที่คนจะเอาผ้ามาอบเฉยๆ จริงไหม !! แล้วถ้าเขามาอบเฉยๆ ก็แสดงว่า เขาไม่ใช้เครื่องซัก ตรงนี้ก็ทำให้วอลุ่มการใช้งาน ไม่เต็มตามที่ประเมินไว้ในตอนแรก
สรุป ตู้ซัก 6 เครื่อง ตู้อบ 5 เครื่อง สุดท้ายแล้ว วอลุ่มเฉลี่ยใช้งานจะลดลง
นึกภาพออกนะคะ 6 เครื่อง กำลังซักอยู่ แต่ตู้อบจะว่าง เพราะต้องเอาผ้าจากเครื่องซักมาอบ และบางคนก็อาจจะไม่อบ (เพราะ รวมๆแล้วก็ หลัก 100-บาท ซึ่งค่อนข้างแพงละ) ถ้าซักพร้อมอบแถมต้องมานั่งรอ สู้จ้างเขาซักราคาก็ไม่ต่างกันมาก แถมสะดวกกว่า ทั้งหมดที่กล่าวมา คือปัญหาเบื้องต้น และที่สำคัญคือ ต้องเชคพื้นที่ให้ดีว่า จะมีคู่แข่งมาเปิดเพิ่มไหม
ดังนั้นเนี่ย ถ้าทำเล เป็นชุมชนเก่า ส่วนใหญ่จะมี เครื่องซักผ้าที่บ้าน ถ้าย่านอพาร์ทเม้น หรือ คอนโด ต้องเป็นคอนโดระดับกลาง-บน ที่ลูกค้ามีกำลังซื้อสูง ถึงจะได้ผลตอบแทน และคืนทุนไวค่ะ
2
ส่วนเรื่อง กรณีแฟรนไชส์ ชานม ไว้โอกาสหน้าว่างๆจะเขียนนะคะ วันนี้แค่นี้ก่อนละกัน
มิ้วๆ
โฆษณา