28 ธ.ค. 2019 เวลา 22:09 • ประวัติศาสตร์
ตำนานรักควายเหล็ก 2490
อ่านชื่อเรื่องพาดหัวแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดไปว่าเกษตรเอสจะมารีวิวหนังใหม่ที่กำลังจะเข้าฉายในโรงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นี้นะครับ เพราะนั่นไม่ใช่แนวของเพจเกษตรเอส
ถ้าเป็นเรื่องหนังคงต้องนกนิ้วให้เพจพี่ Movie Talk
และพี่หนังพาไปมาสาธยายให้ฟังน่าจะมันส์กว่า
ส่วนตัวยังขอยึดแนวทางเดิมเพื่อทำมาหากินครับ
😊
ร่วมสร้างตำนานโดย:pixabay
😊
ครั้งหนึ่งในอดีตชาวนาไทยนิยมใช้ควายไถนา
แต่ปัจจุบันอาจพอมีหลงเหลืออยู่บ้างแต่คิดว่ามี
น้อยเต็มที เหตุเพราะชาวนาส่วนใหญ่นั้นหันมาใช้รถไถนาแทนการใช้ควาย
มีทั้งรถไถนาแบบเดินตามและแบบนั่งขับ 4 ล้อเพราะสะดวกสบายกว่า ทั้งช่วยทุ่นแรงและประหยัด
เวลาได้มาก
ภาพ:pixabay
แต่นั้นมาควายเลยตกงานถูกปลดระวางจากการไถนากลายเป็นควายขุน ควายเนื้อ ควายแดดเดียวแทน น่าสงสารควาย
เห็นจะอยู่ดีมีสุขขึ้นมาหน่อยก็แต่ควายที่อาศัยอยู่ตามศูนย์อนุรักษ์ควายต่างๆ เพราะเขาเลี้ยงไว้เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ควายไม่ให้สูญพันธุ์ เช่น ที่สุพรรณบุรี
😊
ประวัติความเป็นมาของควาย เอ้ย! ของรถไถนา
รถไถนาในยุคแรกๆนั้นถูกเรียกขานกันว่ารถไถนา
เดินตาม เหตุที่เรียกเช่นนั้นอาจเป็นเพราะหากไม่เดินตามมันแล้ว จะให้ยืนตาม นั่งตาม นอนตามมัน
คงจะดูไม่เข้าท่า ฮา
เผลอๆมันอาจจะไม่ไถนาเพราะมัวแต่จะแวะไปเที่ยวเมืองชนแทน
😊
รถไถนาเดินตามเริ่มนำเข้าจากต่างประเทศครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2490
ต่อมาได้มีการพัฒนารถไถเดินตามภายใต้
โครงการควายเหล็กรวมทั้งหน่วยราชการอื่นๆ
เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ
(International Rice Resarch institute: IRRI) และภาคเอกชน
😊
ยังจำละครไทยเรื่องหนึ่งได้ไหมครับที่พระเอกชื่อไอ้คล้าวกับนางเอกสุดสวยชื่อทองกวาว ตัวร้ายชื่อไอ้เจิดลูกกำนันจอม
ที่ออกฉายทางช่อง 7 สี ราวปี 2538
โดยบริษัทดาราวิดีโอ
นำแสดงโดย"พี่ตั้ว ศรัณยู วงษ์กระจ่าง กับ
คุณน้ำผึ้ง ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์"
มีฉากหนึ่งที่สะเทือนอารมณ์คนดูมากๆ ครับคือฉาก
ที่ไอ้คล้าวต้องพาไอ้ฉ่ำลงแข่งไถนากับควายเหล็ก
ของไอ้เจิดลูกกำนันจอม โดยมีเดิมพันเป็นสัญญา
ลูกผู้ชายว่าถ้าไอ้คล้าวแพ้ต้องไถนาให้พ่อก้อนฟรีๆ
พ่อก้อนนี่เป็นว่าที่พ่อตาของไอ้คล้าวครับ
การแข่งขันคู่คี่สูสีเบียดกันมา ไอ้ฉ่ำจะชนะอยู่แล้วแต่สุดท้ายต้องพ่ายแพ้ให้แก่ควายเหล็กไปแบบฉิวเฉียดอย่างน่าเสียดาย
ไม่ใช่เพราะว่าไอ้ฉ่ำไร้ความสามารถนะครับ
แต่เป็นเพราะไอ้เจิดใช้แผนสกปรก โดยใช้ให้
ไอ้จ้อยน้องชายของทองกวาวไปลอบวางยาถ่ายลงในน้ำดื่มจนไอ้ฉ่ำขี้แตกไหลเป็นทางไถนาต่อไม่ได้
เลยต้องแพ้
ละครเรื่องนี้ก่อนหน้านั้นได้เคยถูกนำไปสร้าง
เป็นหนังใหญ่จอเงินออกฉายราวปี พ.ศ.2513
นำแสดงโดยมิตร ชัยบัญชา และเพชรา เชาวราษฎร์
เป็นภาพยนต์ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวชนบทใน
สมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
นับเป็นภาพยนต์ที่ทำรายได้ถล่มทลายจาก
ทั่วประเทศครับได้ยินมาว่ารับทรัพย์ไปกว่า
13 ล้านบาท
และออกฉายติดต่อกันนาน ถึง 6 เดือนกล่าวกันว่าเป็นสุดยอดของภาพยนต์แห่งยุคสมัยเลยทีเดียว
จริงแท้แค่ไหนไม่รู้ครับบอกตามตรงเกษตรเอสก็เกิดไม่ทันฟังเขาเล่ามาอีกที ฮา
*คำว่าคล้าวผมหาความหมายไม่เจอแต่ชาวอีสาน
นิยมเรียกปลาเนื้ออ่อนชนิดหนึ่งว่า"ปลาค้าว"
ภาพสวยๆ:pixabay
😊
โครงการนี้ได้พัฒนาเป็นรถแบบนั่งขับคันแรกที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยซึ่งเป็นรถไถสามล้อ
จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2503 ได้พัฒนาเป็นแทรกเตอร์สี่ล้อรุ่นควายเหล็ก คือ รุ่น A.S.L. 850 ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 8.5 แรงม้า
และในปี พ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โปรดให้ ม.ร.ว. เทพฤทธ์ เทวกุล
นำควายเหล็กรุ่นนี้ไปใช้ในแปลงนาทดลองบริเวณ
สวนจิตรลดา
พระองค์ทรงขับรถไถพร้อมพระราชโอรสซึ่งก็คือ
ในหลวงรัชกาลที่ 10 องค์ปัจจุบันดังที่ทุกท่านได้เห็นปรากฎผ่านสื่อ
และต่อมาให้ได้บริษัท อีสท์เอเชียติค (East Asiatic) นำไปผลิตขาย
ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมนกันพัฒนารถแทรก
เตอร์แบบนั่งขับเรื่อยมาและมี บริษัทเอกชนผลิตออกมาขายอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน
😊
จุดเริ่มต้นของควายเหล็กก็เพื่อนำมาใช้ไถนา
แทนควายเนื้อ แต่ในปัจจุบันควายเหล็กนับแต่ปี
พ ศ. 2490 ได้ถูกพัฒนาไปไกลมาก
โดยเฉพาะการทำไร่ เช่น ไร่อ้อยต้องพึ่งพาควายเหล็กเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการไถ ดัน ยกร่อง ปลูก พรวนดิน ใส่ปุ๋ย พ่นยา หรือถูกดัดแปลงเป็นรถคีบอ้อยแทนแรงงานคน
หรือมีแม้กระทั่งดัดแปลงเป็นรถบรรทุกอ้อยที่ชาวบ้านเรียกสาลี่และอื่นๆอีกสารพัด
😊
ไอ้คล้าวซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวแทนของชาวนาในอดีตแม้จะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงการเข้ามาของ
ควายเหล็กในยุคแรก
แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เกษตรกรบ้านเราส่วนใหญ่นับแต่นั้นมาก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้ควายเหล็กแทนควายเนื้ออย่างที่เห็น
ทุกสิ่งอย่างในโลกล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้กว่า 2,600 ปีมาแล้ว
อย่างที่ศัพท์วิชาการสมัยใหม่เรียกของเก่าที่ถูกทดแทนด้วยสิ่งใหม่ว่า"disruption"นั่นเอง
เพราะอะไรที่มันดีในอดีตอาจไม่เหมาะที่จะนำมาใช้
ในปัจจุบัน
อาจจะด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบที่มันไม่เอื้ออำนวย จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
แต่ไม่ได้หมายความว่าของเดิมไม่ดีเพียงแต่มันอาจจะไม่เหมาะสมกับบางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ก็เท่านั้น
โดยเฉพาะเกษตรกรไทยและหลากหลายอาชีพคงหนีไม่พ้นที่จะต้องปรับตัวให้ทัน ไม่งั้นท่านอาจจะต้องถูกปรับออกไปจากระบบดังเช่นควายเนื้อของ
ไอ้คล้าว
อย่างว่าละครับอะไรที่ว่าแน่มันก็ไม่แน่เสมอไปเมื่อวันหนึ่งข้างหน้าเทคโนโลยีที่เรามีที่คิดว่าดีหนักหนา
ก็อาจถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ ซึ่งก็จะกลายของเก่าที่
เราไม่ต้องการ
ในความเห็นส่วนตัวผมคิดว่าอะไรที่มันดีในอดีตเรา
ก็ควรจะเก็บรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้
ต่อไป เพราะไม่แน่ว่าวันหนึ่งข้างหน้าเราอาจมีความจำเป็นต้องกลับมาใช้มันอีกก็เป็นได้
😊
ภาพ:pixabay
😊
หากผิดพลาดต้องขออภัย
มีความคิดเห็นเป็นประการใดเขียนมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
ภาพ:facebook:Wongchayuth Ya Poster Sukhow
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้
ก่อนจบเกษตรเอสขอแนะนำให้ท่านฟังเพลง
มนต์รักลูกทุ่งที่พี่แอ๊ว ยอดรัก สลักใจร้องไว้
เพราะมากครับ
ฟังจบแล้วท่านอาจจะเข้าใจบริบทของสังคมไทย
ในอีกแง่มุมได้ดียิ่งขึ้นครับ
เกษตรเอส"SOCIETY
"อยากเห็นคนในสังคมนี้ 
มีรอยยิ้มและความสุข"
อ้างอิง
โฆษณา