2 ม.ค. 2020 เวลา 10:13 • ปรัชญา
คอลัมน์ชีวิตพลัดถิ่น (3)
การสร้างทรัพยากร
ปราการด่านสุดท้าย ของคนชนบท คือบ้าน ไร่นา เรือกสวน ชีวิตกับการมีที่ดิน มีโอกาสถือครองที่ดิน เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง นั้นเป็นความมั่นคงยิ่ง หนุ่มสาวในยุคการแสวงหา ความหมายของชีวิต เมื่อจบการศึกษา ทุกคนล้วนมุ่งหน้าไปสู่ การหางานในมหานคร หรือ ในนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะที่นั่นตอบโจทย์เรื่องรายได้
คันนาทองคำ
ข่าวคราวการ ปิดกิจการ การเลิกจ้าง หนาหู มากขึ้นในช่วงนี้ บางคนตกงาน ต้องเดินทางกลับบ้าน คำว่าบ้าน พูดเมื่อไหนก็อุ่นใจ ปลอดภัยเสมอ เพราะบ้านในชนบท ผมถือว่ามีความั่นคง
มัลเบอร์รี่
มั่นคงบนฐานการมีญาติพี่น้อง ที่คอยช่วยเหลือกัน ด้วยความห่วงใยเสมอ มั่นคงด้วยทรัพยากรตามธรรมชาติ ที่มีให้หาอยู่หากิน เช่น ไข่มดแดง กบ เขียด ปู ปลา ปลาไหล เห็ด หรือผักตามฤดูกาล เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ยังมีให้เก็บกิน หรือแม้กระทั่งหาขาย ก็ยังได้เลย
ดอกแค:จิ้มน้ำพริก อร่อยดี
ผมเชื่อมั่นอย่าง สนิทใจว่า แนวทางการสร้างทรัพยากร การดูแลดิน น้ำ ป่า ให้สมบูรณ์ จะทำให้เราอยู่รอด การสร้างทรัพยากร คือการสร้างแหล่งอาหารตามธรรมชาติให้พวกเราทุกคน
ปลูกให้หลากหลาย
แนวทางคันนาทองคำ หรือ หลุมพอเพียงที่กำลังลงมือ คือ ส่วนหนึ่งในการสร้างทรัพยากร สร้างอาหารที่มีความปลอดภัย สร้างพื้นที่ความสุขให้แก่เราเอง
แม้ภาวะเศรษฐกิจจะ ถดถอยซบเซา เท่าใด
เราจะมีความมั่นคงทางอาหาร แม้ไม่มีรายได้มากมาย แต่เรายังมีแหล่งอาหาร ให้ได้กิน
พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น
ปลูกเพิ่มสักนิด
โฆษณา