3 ม.ค. 2020 เวลา 09:30
ถุงผ้า “สปันบอนด์” ผลิตจากพลาสติก สารก่อมะเร็ง ไมโครพลาสติก [เทคโนยาง..ยางไงกัน]
1
ถุงผ้าสปันบอนด์ ถุงผ้า Nonwoven
หลังจากดีเดย์ไปแล้วสำหรับวันที่ 1 มกราคม 2563 กับ นโยบายของรัฐบาล งดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในการจับจ่ายใช้สอย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน โดยพบว่าส่วนหนึ่งมีการเตรียมถุงผ้าเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยอยู่จำนวนไม่น้อย
แต่มีร้านค้าและห้างหลายแห่งหันมาขายถุงผ้าประเภทสปันบอนด์ ซึ่งถุงผ้าสปันบอนด์ผลิตมาจากพลาสติกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไมโครพลาสติก (Microplastic) ซึ่งสวนทางกับนโยบายอย่างมากนั้น
1
เพราะถุงผ้าสปันบอนด์แตกและเปื่อยยุ่ยง่าย แต่ใช้เวลาย่อยสลาย 5-10 ปี
ถุงผ้าสปันบอนด์กับไมโครพลาสติก
รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า ถุงผ้าประเภทสปันบอนด์ หรือ ถุงผ้านอนวูฟเวน (Nonwoven) ผลิตมาจากพอลิโพรพิลีน (PP) ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้ทำถุงพลาสติกที่บรรจุของร้อน เช่น ถุงใส่แกง ถุงใส่กาแฟร้อน
กระบวนการผลิตผ้าสปันบอนด์ Spunbond :
1. นำเม็ดพลาสติกใส่ในเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์ (extruder)
2. พลาสติกถูกหลอมให้เป็นเส้นใยและถูกฉีดออกมาจากหัวฉีดเส้นใย (spinnerets)
3. เส้นใยต่อเนื่อง (continuous filament) ที่กำลังร้อนก็จะถูกฉีดสานไปมาบนสายพานที่กำลังหมุนอยู่
4. เส้นใยเย็นตัวลงจะเกิดการเชื่อมติดตรงจุดที่มีการพาดผ่านระหว่างเส้นใยด้วยกัน การเชื่อมติดอาจทำเพิ่มเติม โดยการใช้ความร้อนและแรงกด
นอนวูฟเวน ที่ได้จากการผลิตโดยวิธีนี้จะมีค่าการทนต่อแรงดึงและแรงฉีกสูง และบาง (low bulk) ตัวอย่างการใช้งานได้แก่ พื้นพรม (carpet backing) ผ้าที่ใช้ในงานธรณี (geotextiles) เสื้อผ้าป้องกัน (protective apparel) ไส้กรอง เป็นต้น
ถุงผ้าสปันบอนด์ เป็นถุงผ้าที่ผลิตจากพลาสติกที่มีความหนาแน่นน้อย จึงไม่แข็งแรง ละลายในน้ำได้ มีความยุ่ยง่าย และสลายตัวง่ายกว่าพลาสติกทั่วไป ซึ่งใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 5-10 ปี แตกต่างจากพลาสติกทั่วไปใช้เวลาย่อยสลายนานกว่า 500 ปี
แม้จะย่อยสลายเร็วกว่าถุงพลาสติก แต่รู้หรือไม่ว่า อันตรายก็มากเพราะด้วยลักษณะที่ยุ่ยง่าย ทำให้ละลายในน้ำ ปะปนไปกับสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร โดยสปันบอนด์ แค่ถูกความร้อนก็กลายเป็นผง ออกเป็นไมโครพลาสติก (Microplastic) และปะปนไปกับแหล่งน้ำ ปนปนไปอยู่ในตัวของสัตว์น้ำต่างๆ อย่างปลา และหากเรากินเข้าไป สารเหล่านี้ก็จะไปสะสมในร่างกาย และมีความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งได้
ไมโครพลาสติกใหลายชนิดทั้งที่มีอันตรายมากและน้อยมีต้นกำเนิดจากพลาสติกที่ผลิตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุงพลาสติกใส่อาหารทั้งร้อนและเย็น ประกอบด้วยสารพอลิโพรพิลีน ขวดน้ำดื่มประกอบด้วยสารพอลิเอทิลีน เทเรฟธาเรต และ ฟิล์มห่ออาหาร ผลิตจาก พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC)
ปัจจุบัน ไมโครพลาสติกแพร่กระจายอยู่ในทะเล และมหาสมุทรทั่วโลก และสะสมอยู่ในสัตว์น้ำเกือบทุกชนิด ดังนั้นไมโครพลาสติกเหล่านี้จึงเข้าสู่คนโดยการกินอาหารทะเล แม้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ แต่ไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กเท่าแบคทีเรีย หรือ ไวรัส อาจแทรกเข้าไปในเส้นเลือด นำไปสู่อวัยวะต่างๆ เช่น เข้าไปฝังอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งไมโครพลาสติกอาจเข้าไปสะสมอยู่ในระบบหมุมเวียนโลหิต ทำให้เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น
อาจพูดได้ว่า ไมโครพลาสติกเป็นอันตรายเงียบ ที่เราต้องตระหนักและหาทางป้องกันโดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้มีการทิ้งขยะพลาสติกลงไปในทะเล
ถุงกับการเกิดไมโครพลาสติก
กรมควบคุมมลพิษระบุว่า ในแต่ละปีคนไทยใช้ ‘ถุงพลาสติกหูหิ้ว’ กว่า 45,000 ล้านใบ โดยที่มาของถุงพลาสติกแบ่งออกเป็น 3 แหล่งหลักๆ คือ
1. ตลาดสดเทศบาล เอกชน และแผงลอย จำนวน 18,000 ล้านใบ หรือเท่ากับ 40% ของทั้งหมด
2. ร้านขายของชำ จำนวน 13,500 ล้านใบ หรือเท่ากับ 30% ของทั้งหมด
3. ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ จำนวน 13,500 ล้านใบ หรือเท่ากับ 30% ของทั้งหมด
นอกจากนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษยังระบุว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยคนละ 8 ใบ/วัน ส่งผลให้มีขยะพลาสติกมากถึง 80 ล้านใบ/วัน
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากผ้าสปันบอนด์ ส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขอนามัย:
1. ผ้าอนามัย
2. ผ้าอ้อมเด็ก
3. ผ้าทางการแพทย์และศัลยกรรม
4. เสื้อกาวน์ (Gowns)
5. หน้ากากอนามัย (Face Mask)
6. หมวกแบบใช้แล้วทิ้ง
7. ผ้าม่าน
8. ผลิตภัณฑ์กรองวัสดุต่างๆ
9. การเกษตร เช่น ถุงปุ๋ย ถุงใส่ทราย
10. Headliner ในหลังคารถยนต์
11. งานทั่วไป เช่น ผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง ผ้าเปียก ถุงชา
2
กดไลค์ กดแชร์
เพื่อเป็นกำลังใจให้มือใหม่ด้วยนะคะ
ไมโครพลาสติก
โฆษณา