4 ม.ค. 2020 เวลา 03:17 • การศึกษา
Series สรุปหนังสือ Homo Deus แบบยาว
บทที่ 4 The Story Tellers
Sapiens อาศัยอยู่ใน triple-layered reality นั่นคือ Objective Reality , Subjective Reality และ Inter-subjective Reality
พูดอย่างง่าย Inter-subjective Reality คือ Fiction หรือ Web of Stories ที่มนุษย์สรรสร้างขึ้นมา
มันคือเรื่องราวของ  พระเจ้า (Gods) ประเทศ (Nation) และ บริษัท (Corporation)
เนื่องจากในศตวรรษที่ 21 นี้ technology ต่างๆมีแนวโน้มที่จะทำให้ Fiction ดังกล่าวนั้นมีอำนาจมากขึ้น
ก่อนที่เราจะเข้าใจในอนาคตได้ เราก็ต้องรู้ก่อนว่า เรื่องราวของพระเยซู ฝรั่งเศส และบริษัทแอปเปิ้ล มันมีอำนาจมากขนาดนี้ได้ยังไง
ผู้คนคิดว่าเขาเองเป็นคนสร้างประวัติศาตร์ แต่หารู้ไม่ว่า ประวัติศาสตร์นั้นเกิดท่ามกลาง web of stories
นั่นเพราะคนในระดับปัจเจกนั้นไม่ได้มีความสามารถพิเศษใดที่เหนือกว่ามนุษย์ยุคหิน
แต่ Web of stories นั้นพลังอำนาจจริง เติบโตจริง
1
มันคือสิ่งที่ทำให้ Stone age กลายเป็น Silicon age
70,000 ปีก่อน Cognitive Revolution ทำให้ Sapiens เริ่มพูดถึงสิ่งที่มีอยู่ในจินตนาการของพวกเขา
60,000 ปีหลังจากนั้น Sapiens ถักทอfictional web มากมาย แต่มันก็ยังคงอยู่ในกลุ่มคนเล็กๆ ในท้องถิ่นใกล้เคียงกัน เช่น เรื่องราวการบูชาผีสาง การใช้เงินจากเปลือกหอย ที่เป็นถิ่นใครถิ่นมัน
แต่ถึงกระนั้นมันก็สร้างประโยชน์กับ Sapiens อย่างมาก เพราะมันทำให้ Sapiens นับพันสามารถมารวมกันได้ และ ร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมันก็เพียงพอแล้ว และมากกว่าที่ นีแอนเดอทัล หรือชิมแปนซีจะทำได้
แต่การรวมกันของ Sapiens ก็ยังมีขีดจำกัด เพราะถ้ามากไป ก็จะขาดอาหารมาเลี้ยงคนจำนนวนมาก นั่นเอง
12,000 ปีก่อน Agricaltural Revolution ทำให้คนได้ อาหารเพียงพอ มาเลี้ยงผู้คนจำนวนมาก  และทำให้เรื่องราวfiction ต่างๆแข็งแกร่งขึ้น
แต่ปัญหาที่ตามมาคือ Fiction ก็ซับซ้อนได้จำกัด เพราะการจะคงเรื่องราวต่างๆให้ตรงกัน ในหลายๆคน ก็ต้องพึ่งแต่สมองมนุษ์ ซึ่งเก็บข้อมูลได้จำกัด
1
ชาวนาเชื่อในพระเจ้า พวกเขาสร้างวิหารเพื่อถวายแด่เทพที่เขาศรัทธา จัดงานพิธีเพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์ ให้สิ่งบูชายัญ อ้างตามเมืองแรกๆของชาวซูเมเรียน (Sumer) เมื่อ 6000 ปีก่อน นอกจากวิหารจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการมอบสิ่งบูชายันให้พระเจ้าแล้ว  มันยังเป็นศูนย์กลางเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ ( political and economic hubs )
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เทพเจ้าของชาวซูเมเรียน ก็ทำหน้าที่เหมือน  modern brand and corporation  นั่นเอง (เช่นในบ้านเรา ผู้คนก็รวมตัวกันผ่านเทพเจ้าชื่อพารากอน เซ็นทรัล โลตัส ประมาณนั้นครับ)
ปัจจุบันบริษัทต่างๆคือ นิติบุคคล ซึ่งมันก็คือเรื่องแต่ง (Fictional legal entity)
บริษัทสามารถมีทรัพสิน สามารถยืมเงิน และว่าจ้างคนมาทำงานได้
1
ในอดีต พระเจ้าก็สามารถมีที่นาของตัวเอง มีทาสของตัวเอง ให้เงินกู้ จ่ายเงินเดือน และสร้างเขื่อนกับขุดคลองได้
เนื่องจากพระเจ้าไม่ตาย พระองค์จึงสะสมสินทรัพและอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ มีชาวสุเมเรียนที่เป็นคนงานของเขา ติดหนี้สินเขา มากขึ้นเรื่อยๆ (ซึ่งไม่ต่างอะไรกับบริษัทในปัจจุบัน ที่ขยายขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ จ้างงานคนได้เรื่อยๆ)
1
สำหรับชาวซูเมอ เทพ Enki และ Iananna นั้นก็อยู่จริงๆ พอๆกับที่คนปัจจุบัน เชื่อว่า Google และ Microsoft มีตัวตนอยู่จริงๆ
เช่นเดียวกันกับ Google , เทพเจ้าโบราณพวกนี้ก็ไม่ได้ดำเนินธุรกิจหรือทำธุรกรรมใดๆเอง เพราะพวกเขาไม่ได้มีตัวตนจริงๆ นอกไปจากตัวตนในจินตนาการของมนุษ์
ในกรณีของเทพเจ้าซูเมเรียน นักบวช ก็คือ Manager ที่คอยบริหารกิจการต่างๆให้พระเจ้า
แต่เมื่อข้อมูลต่างๆมีเยอะขึ้น นักบวชก็คงไม่สามารถจัดการกับมันได้ ไม่สามารถจำที่ดินที่อยู่ในนามของพระเจ้าได้หมด ไม่สามารถจำลูกจ้างได้หมด
2
ดังนั้นแม้จะเกิด Agriculture revolution มาหลายๆปีแล้ว human cooperation network ก็ไม่สามารถexpand ได้มากนัก ด้วยข้อจำกัดเรื่องความซับซ้อนของ Fiction ที่ยังมีมากไปไม่ได้ นั่นเอง
จนเมื่อsumerian คิดค้นตัวอักษรและการเขียน ประมาณ 5000 ปีก่อน ขีดจำกัดของการจดจำข้อมูลนั้นก็หายไป
เงินตรา และการเขียน  ทำให้พวกเขาสามารถขยายอาณาจักรได้มากขึ้น สามารถ collect tax ได้มากขึ้น และสามารถจัดการระบบราชการที่ซับซ้อน (complex bureaucracy) ได้
1
ใน Sumer สิ่งเหล่านี้ถูกจัดการโดยพระเจ้า โดยมีนักบวชเป็นตัวแทน
แต่ในหุบเขาแห่งแม่น้ำไนล์ ชาวอียิป ไปไกลกว่านั้น พวกเขาผสมพระเจ้าและนักบวชเข้าด้วยกัน จนได้มาเป็น living deity นั่นก็คือ องค์ Pharoah
ในอียิป pharaoh คือพระเจ้าจริงๆ ไม่ใช่แค่ตัวแทน
แน่นอนเมื่อเป็นอย่างนี้ตัว biological pharaoh นั้นก็ตายได้ แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆคือ imagnined pharaoh ที่อยู่ในจินตนาการของผู้คน
ด้วยเหตุนี้ระบบการทำงานและการปกครอง การเก็บภาษีของอียิปต์ก็ดำเนินไปได้เรื่อยๆ แม้จะเปลี่ยนฟาโรห์ไปกี่คน
Harrari เปรียบเทียบว่า เทพเจ้าของชาวซูเมเรียน นั้นคือ Company Brand แต่ pharaoh นั้นคือ Personal brand
เขาเปรียบเทียบ pharaoh ว่าเหมือนกับ Elvis
Elvis นั้นมีร่างเนื้อ ที่แม้จะตายไป ชื่อของเขาก็ยังอยู่ เขายังสร้างรายได้ได้ โดยการทำงานของค่ายเพลงต่างๆ  ปัจจุบันนี้ ผู้คนยังคงพูดถึงเขา ยังอยากไปเยี่ยมเยียนบ้านเกิดเขา แม้ Biological Elvis ตายไป แต่ Imagined Elvis ยังอยู่ และสร้างงาน สร้างรายได้ได้ ไม่ต่างอะไรกับ pharaoh
1
ก่อนที่มีการเขียน คุณไม่สามารถสร้างเรื่องที่ซับซ้อนได้มาก เพราะคนจะจำไม่ได้ แต่เมื่อการเขียนเกิดขึ้น เรื่องราวนั้นจะยาวและซับซ้อนเท่าใดก็ได้
การเขียน ทำให้สังคมมนุษย์ประพฤติตัวเป็นระบบอัลกอริทึม (Organise as algorithmic function )
2
นั่นคือ ผู้คนจะหลอมรวมตนไปกับ ฟันเฟืองนึง ขั้นใดขั้นนึง ของระบบอัลกอริทึมอันซับซ้อนทำ และ Algorithm อันใหญ่นี่แหละ ที่เป็นตัวทำงาน ทำให้มีการตัดสินใจ ทำให้มี action
ตัวอย่างเช่น ในโรงพยาบาล แต่ละคนก็จะมีหน้าที่เล็กๆย่อยๆกันไป ตั้งแต่คัดกรองคนไข้ ซักประวัติเบื้องตัน ซักประวัติตรวจร่างกายให้การรักษาเบื้องต้น ไปจนถึงรักษาแบบจำเพาะเจาะจง
Algorithm ทำให้ ระบบมันอยู่ได้ เพราะไม่สำคัญว่าใครจะเป็นเสมียน เป็นพยาบาล เป็นแพทย์ ไม่สำคัญว่าพวกเขาจะมีนิสัยแบบไหน ตราบใดที่มันยังเป็นไปตามอัลกอริทึม มันก็ยังเวิค
ความเป็น algorithm นี้ก็พบในกองทัพ โรงงาน โรงเรียน คุก และยังพบในอียิปโบราณอีกด้วย
1
การที่คนอียิปนั้นสามารถขุดคลองจากแม่น้ำไนท์ได้ยาวๆ หรือ สร้างพีระมิดได้ ก็เพราะระบบสายพานนี้
แน่นอนว่าฟาโรห์แทบไม่ได้ทำอะไร แต่เมื่อคนเป็นล้านเชื่อในฟาโรห์ และร่วมมือกันสร้างเขื่อน ขุดคลอง ผลดีก็เกิดขึ้นกับพวกเขาจริงๆ ทำให้พวกเขามีกินมากขึ้นจริงๆ ในระยะยาว
การมองในแง่นี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่า Fiction มีอำนาจ และมันสามารถเปลี่ยน Reality ได้มากมายแค่ไหน
ในแง่ของชาวอียิป จึงกล่าวได้ว่า ฟาโรห์และเทพเจ้าต่างๆ นั้นทรงพลังจริงๆ เพราะเขาทำให้สามารถสร้างเมือง สร้างกองทัพขึ้นได้ และเป็นตัวสำคัญต่อชีวิตสัตว์ต่างๆมากมาย
บางคนอาจจะฟังแล้วรู้สึกแปลกๆ ที่บอกว่าฟาโรห์ หรือเทพเจ้าต่างๆ (ไม่ใช่คนงานอียิปต์) เป็นสิ่งที่สร้างสร้างเขื่อน ขุดคลอง ขุดแม่น้ำ สร้างวิหาร
แต่ปัจจุบันเราก็พูดกันนะ เช่น จีนสร้างเขื่อนสามฝา กูเกิ้ลสร้างรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ แอปเปิ้ลสร้างไอโฟน
Living On Paper
ภาษาเขียน จึงทำให้ fictional entities มีพลังอำนาจมากขึ้น จนทำให้ผู้คนนับล้านร่วมมือกันได้
ความร่วมมือนี้ นำไปสู่การสร้างแม่น้ำสายใหม่ สร้างเขื่อน สร้างสิ่งก่อสร้างมากมาย ที่ท้ายสุดก็กลับมากระทบชีวิตคนจำนวนมาก วนลูปมาทำให้ผู้คนเชื่อในการมีอยู่จริงของ fictional entities มากขึ้นไปอีก
1
การเขียนนั้นยังมีพลังมาก จนอาจจะตัดสินชะตาชีวิตคนนับล้านได้
เช่น ในปี 1940 ทืนาซียึดครองฝรั่งเศษได้ คนยิวบางส่วนจำเป็นต้องอพยพมาทางใต้เข้าสู่สเปนและโปรตุเกส แต่การจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาต้องมีวีซ่า
แน่นอนว่ากงศุลหลายๆคนปฏิเสธที่จะให้ แต่มีกงศุลคนหนึ่ง ชือ Souse Mendes ตัดสินใจไม่ทำตามสั่ง และ visa ให้คนยิวนับหมื่นคนในช่วงสิบวันอย่างไม่หยุดพัก
เพียงแค่กระดาษและตรายางนั้น ก็สามารถช่วยชีวิตคนได้สามหมื่นคน
หรือระหว่างปี 1958-1961 ในช่วง The Great leap forward ของเหมาเจ๋อตุง ที่ต้องการเปลี่ยนให้จีนเป็นมหาอำนาจอย่งรวดเร็ว เขาตั้งใจใช้ผลผลิตทางเกษตร ซึ่งมีส่วนเกินมหาศาล มาเพิ่มเป็นทุนเพื่อเพิ่มขีดอำนาจของอุตสาหกรรมและทหาร  เขาจึงสั่งให้เพิ่มการผลิตเกษรกรรมเป็น 2-3 เท่า
คำสั่งนี้ส่งมาจากส่วนกลาง ไปสู่ ท้องถิ่น
แต่ก็มีแค่คำสั่ง ท้องถื่นต้องไปหาวิธีการเอาเองว่าจะทำไงให้ตอบสนองความต้องการนี้ได้
ตัวเลขTarget ที่แทบเป็นไปไม่ได้ได้นี้ ทำให้เหล่า local officer แก้ปัญหาด้วยการใส่ตัวเลขในจินตนาการลงไปใน"กระดาษรายงาน" เพื่อให้ดูว่าผลผลิตมากขึ้นจริงๆ
ด้วยอำนาจของปากกา ผลผลิตทางเกษตร ก็เพิ่มขึ้นมามหาศาล!!
นั่นทำให้ปี 1958 รัฐบาลจีนได้ตัวเลขมาว่าผลผลิตทางการเกษตรประจำปี เพิ่มขึ้นมามากกว่า 50 เปอเซนที่ต้องการ
ผลคือพวกเขาจึงขายข้าวจำนวนมากให้กับต่างประเทศเพื่อซื้ออาวุธและเครื่องจักร
แต่ตัวเลขนั้นคือของปลอม
ท้ายสุด คนในประเทศจีนจึงไม่มีอะไรกิน เกิดเป็นความอดอยากที่ร้ายแรงสุดในประวัติศาสตร์จีน  และทำให้คนตายด้วยความอดอยาก หลายสิบล้านคน
กรณีศึกษา ทำให้ได้บทเรียนว่า การตวัดปากกา ฆ่าคนได้หลายล้านคน!!
รอยปากกานั้นมีพลังมากมหาศาล
ในกรณีของจีน ปากกา ควรมีหน้าที่แค่บรรยาย "ความเป็นจริง" (Describe reality)
ไปๆมาๆ อำนาจของปากกา มีมากขึ้นจนถึงขั้น reshape reality ได้
เมื่อ official report (ตัวเลขในรายงาน)ไม่ตรงกันกับ objective reality (ผลผลิตที่ได้มาจริงๆ) ผลคือเป็น reality นั่นแหละที่ต้องถอยออกไป
อาจจะคิดว่า เว่อไปรึปล่าว ไกลตัวไปใหม
แต่เอาจริงแล้ว ปรากฏการณ์ที่ความเป็นจริง ต้องหลีกทางให้สิ่งที่เขียนอยู่บนกระดาษนี้ มันเป็นอะไรที่เราคุ้นเคยดี
เช่น เวลาที่ต้องจ่ายภาษี ในระบบการศึกษา หรือระบบประเมินต่างๆ
ความเป็นจริง จะเป็นอย่างไรนั้นไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญจริงๆคือ มันเขียนในกระดาษไว้ว่ายังไง!!!
The truth is hardly matters, what’s written on your form is far more important
Holy Scriptures
คำกล่าวที่ว่าเมื่อ text กับ reality ไม่ลงรอยกัน ก็เป็น reality ต้องหลีกทางไป นั้นเป็นการกล่าวหาเกินจริงไปหรือไม่?
ในเมื่อบทเรียนความฉิบหายจากเรื่องนี้มีอยู่มากมาย และผู้คนที่ทำงานนั้นก็เป็นคนฉลาดมีเหตุผล เขาก็น่าจะปรับมันได้ เขาก็ควรlearn from mistake และทำให้record ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้นสิ
นั่นก็ไม่แน่เสมอไป เพราะหากดูตามประวัติศาสตร์ มีหลายๆครั้งที่ แทนที่ story จะถูกเปลี่ยนให้ตรงกับ reality , พวกเขาเปลี่ยน reality ให้มาตรงกับstory ของพวกเขา โดยบังคับ ให้ Reality เป็นไปตามที่เขาต้องการ
ตัวอย่างเช่น เขตแดนของหลายๆประเทศในแอฟริกา
คิดง่ายๆว่า เขตแดนของประเทศใดๆ ก็ต้องมีเรื่องทางเดินแม่น้ำ มีเทือกเขา มีเรื่องของถิ่นอาศัย วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ มาเกี่ยวข้อง
ซึ่งในกรณีการขีดแผนที่ทวีปแอฟริกานั้น เรื่องต่างๆพวกนี้ ไม่ได้มีในหัวของผู้มีอำนาจแต่อย่างใด
ที่ขอบเขตของหลายๆประเทศในแอฟริกา เป็นบล็อกเหลี่ยม และทำให้เกิดปัญหามากมายเช่นทุกวันนี้ ก็เพราะเขตแดนต่างๆเหล่านั้นถูกเขียนโดยเจ้าพนักงานชาวยุโรป ที่ไม่แม้แต่จะเคยไปเยือนแอฟริกาด้วยตัวเองจริงๆ
แต่นั่นก็ไม่สำคัญ พวกเขาเพียงแค่กางแผนที่ที่ว่างเปล่าแล้วขีดเส้นแบ่งดินแดนของ Africaออก เพื่อป้องกันการขัดแย้งกันระหว่างประเทศในยุโรปที่กำลังจะมาแย่งดินแดนกัน
จนเมื่อข้อมูลในพื้นที่แอฟริกามีมากขึ้น พวกเขาก็รู้ว่าเส้นที่แบ่งไปนั้นไม่ได้สมเหตุสมผลและไม่เป็นผลดีต่อคนในแอฟริกา แต่เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง พวกเขาจึงยึดเส้นเดิมนี้ต่อไป
1
จนเมื่อประเทศเหล่านี้ได้อิสระภาพของตนคืน พวกเขาก็ต้องจำยอมรับดินแดนนี้ต่อ ด้วยกลัวว่ามันจะทำให้เกิดสงครามอีกระลอก
เช่นเดียวกันในระบบการศึกษา เมื่อระบบโรงเรียนตัดสินใจวัดความสามารถคนด้วยตัวเลข ชีวิตของนักเรียนหลายล้านทั่วโลกก็เปลี่ยนไปตลอดกาล
คะแนนถือว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มาก เมื่อเทียบกับประวัติมนุษย์ ในยุคก่อนๆคุณคงไม่วัดความสำเร็จด้วยคะแนน ในยุคกลางนักรบฝึกหัดก็ไม่ได้ใบคะแนนเพื่อบอกว่าเขาได้ C ในวิชาการรบ A ในวิชาการวางแผน มีเพียงแค่ผ่านกับไม่ผ่าน
แต่เมื่อยุคอุตสาหกรรมเกิดขึ้น และจำเป็นที่จะต้องมี mass education system ระบบคะแนนจึงเกิดขึ้น
มันต่างกัน ระหว่างการ enlight และ educate นักศึกษา กับการวัดความสำเร็จด้วยระบบคะแนน
ทักษะในการสอบได้คะแนนสูงๆ ไม่ใช่อันเดียวกับ ความเข้าใจอันแท้จริงในวิชาต่างๆ
แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อต้องจำยอมเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างสองสิ่งนี้ ทุกๆคนก็พุ่งไปที่คะแนน
Written record แสดงอำนาจมากที่สุด ในรูปแบบของคัมภีร์ศาสนา (holy scripture)
ในทางทฤษฎี หาก holy book พวกนี้ให้คำบรรยายหรือพยากรณ์ reality ผิดไป ผู้ติดตามย่อมค้นพบความผิดพลาดนี้ และความศักสิทธิ์ ก็ควรจะลดลงไป
แต่ในชีวิตจริงมันจะเป็นอีกแบบ การร่วมมือของมนุษย์นั้นต้องมีความสมดุลระหว่าง truth และ fiction
หากคุณปรับเปรี่ยนความจริงมากเกินไป คุณจะอ่อนแอและไม่สามารถ สู้กับศัตรู ที่มีความจริงชัดเจนกว่าได้
แต่หากคุณจัดระเบียบคนหมู่มาก โดยไม่พึ่ง fictional myth เลย ก็จะไม่มีใครติดตามคุณ
เช่น สมมติคุณนั่งไทม์แมชชีนกลบไปยังยุคอียิปโบราณ สมมติให้คุณเป็นโคตรนักวิทยาศาสตร์สุดปราดเปรื่อง คุณรู้วิธีสร้างไฟฟ้า สร้างอุปรณ์ สร้างอาวุธ แต่ก็จะไม่มีอำนาจใดๆ และคงไม่มีใครเชื่อคุณ แม้คุณจะพยายามเปิดโปงว่าเหล่านักบวชนั้นก็แค่คนธรรมดาเดินดิน  คุณอธิบายหลักควอนตัมฟิสิกให้ชาวบ้านฟัง
โอเค คุณอาจจะใช้ความรู้ในการสร้างอาวุธเพื่อมายึดอำนาจฟาโรได้ แต่จะทำอย่างนั้นคุณก็ต้องมีเงินทุน มีเหล็ก มีเตาเผา มีผงดินระเบิด และมีเหล่าชาวบ้านที่ขยันขันแข็ง มาช่วยงานของคุณเสียก่อน
Powerful human organization ต่างๆ เช่น ฟาโร European empire หรือระบบโรงเรียนสมัยใหม่ และระบบเงินตรา มักจะไม่ได้มีความจริงอย่างชัดแจ้ง อยู่ในระบบไปทั้งหมด
อำนาจของพวกเขานั้นมักตั้งอยู่ใน ความสามารถในการบังคับใช้ความเชื่อเพื่อลงไปบิดเบือนความจริง (ability to force their fictional belifes on a submissive reality )
ในระบบการศึกษา เมื่อมันประกาศว่าการสอบเก็บคะแนนวัดผลสอบ หรือการตัดเกรด นั้นเป็นสิ่งที่่ประเมินนักเรียนได้ดีที่สุด ระบบนี้ก็จะไปมีอิทธิพลต่อการเข้าโรงเรียนดังๆ หรือมหาวิทยาลัยดังๆ  และการจ้างงาน นักเรียนจึงทุ่มเต็มที่กับการเตรียมสอบให้ได้คะแนนดี
เมื่อตำแหน่งงานดีๆ เต็มไปด้วยคนที่ได้คะแนนดีๆ ระบบการสอบและคะแนนก็ยิ่งได้รับความสำคัญมากขึ้นไปอีก ในการได้ที่เรียนดีๆ ได้งานดีๆ ต่อไป
ถ้าบางคนประท้วงว่า เกรด หรือ ปริญญา  ก็แค่กระดาษแผ่นนึง เขาคงไปไม่ได้ไกลในชีวิต
เช่นเดียวกับ Holy Scripture, เมื่อสถาบันศาสนาป่าวประกาศว่า คัมภีร์ศาสนามีคำตอบทุกสรรพสิ่ง( holy book contain answer to all questions) มันก็ทำให้ศาล รัฐบาล ภาคเศรษฐกิจ ทำตามนั้น เมื่อมีคนฉลาดมาอ่าน scripture และมองโลก พวกเขาก็จะเห็นว่ามีสิ่งต่างๆมากมายที่เป็นไปตามคัมภีร์กล่าว (Good Match)
ในคัมภีร์ เขียนไว้ว่าคนที่ศึกษาและทำตามคำสอนของพระเจ้าจะประสบความสำเร็จ และเมื่อดูตามจริงแล้ว งานที่ดีๆ ก็อยู่ในมือคนที่รู้จักคัมภีร์ศาสนาอย่างดีจริงๆ
ดังนั้น คนฉลาดคนนั้น จึงศึกษาตำรา และเพราะเขาฉลาด เขาก็จะกลายเป็น ผู้เชี่ยวชาญ และได้รับการต่างตั้งเป็นผู้พิพากษา เมื่อเขากลายเป็นผู้พิพากษา ก็จะไม่ยอมให้ ผู้หญิงสามารถมาเป็นพยานในศาสได้ ตามที่ตำราเขียนไว้
และเมื่อต้องเลือกผู้สืบทอด เขาก็จะเลือกคนที่รู้จักคัมภีร์อย่างถ่องแท้
หากมีใครมาท้วงว่าตำราพวกนี้ก็แค่หนังสือและกระดาษ พวกเขาก็จะไปไม่ไกลในชีวิต
แม้คัมภีร์ศาสนาสามารถทำให้ผู้คนเข้าใจความเป็นจริงผิดไปได้อย่างยาวนาน แต่องค์กรของพวกเขาก็สามารถมีอำนาจได้จริงหลายพันปี  เช่น ในคัมภีร์ไบเบิลที่อ้างว่าโลกปกครองด้วยพระเจ้าองค์เดียว และพระองค์ตัดสินว่าฉันเป็นคนดีหรือไมดี จะให้รางวัลและทำโทษต่อความดีและบาป
1
ดังนั้นชาวยิวจึงเชื่อว่าการที่พวกเขาเจอภัยแล้ง เป็นเพราะบาปของพวกเขา ... bible ก็ไม่ได้ยอมรับว่าภัยแล้งนี้ มันอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิดที่ฟิลิปปินด็ได้
1
แน่นอนในยุคสมัยนั้น ก็มีนักคิดหลายๆคนที่พยายามหาข้อมูลที่แม่นยำกว่า มาอธิบายประวัติศาสตร์  เช่น Herodotus นักประวัติศาสตร์ของกรีกก็อธิบายว่าสงครามต่างๆ เกิดจากปัจจัยอันซับซ้อนด้านการเมือง เศรษฐกิจ
ผู้คนตกเป็นเหยื่อ โดยที่ตัวเองไม่ได้มีความผิดอะไร ขัดกับใน bible ที่เชื่อว่าสงคราม เกิดจากบาปของพวกเขา
1
แม้เหล่านักประวัติศาสตร์จะมีความเข้าใจในความเป็นจริงมากกว่าคนที่แต่งไบเบิล แต่เมื่อทั้งสอง view นี้ไม่ลงรอยกัน ก็เป็นไบเบิลที่ชนะไปอย่างง่ายดาย
1
สุดท้ายชาวกรีกก็เหมือนยิว ที่เชื่อว่าหากมี คนเถื่อน มาจู่โจมพวกเขา นั่นก็เพราะ พระเจ้าลงโทษ
"No matter how mistaken the biblibcal world view was, it provide better basis for Large-scale human cooperation "
แม้ในปัจจุบัน ก่อนที่ประธานาธิบดีของสหรัฐ จะสาบานตนก่อนเข้าทำงานในทำเนียบขาว มือเขาต้องทาบลงบนไบเบิล หรือแม้แต่การให้พยานในศาลที่ต้องเอามือ ทาบลงบนไบเบิล
มันเป็นตลกร้าย ที่พวกเขาสาบานจะพูดแต่ความจริง โดยอิงจากหนังสือที่เต็มไปด้วยเรื่องแต่ง ( myth and error )
But it Works!
Fiction ทำให้คน cooperate better แต่มันก็มีราคาที่ต้องจ่าย
ราคาที่ว่านั้นคือการที่ fiction มันก็ กำหนดเป้าหมาย (determine goal) ของเราด้วย – fiction ที่เราสร้างเพื่อให้เราร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เราต้องสร้างเป้าหมายของระบบนั้นๆลงไปด้วย  เพื่อที่ระบบจะไปต่อได้
เช่น ชาวมุสลิมอาจบอกว่าระบบมัน work ทำให้ตอนนี้มีชาวอิสลามเป็นพันล้านคนทั่วโลก และหลายๆคนก็สนใจศึกษาคัมภีร์อัลกุรอาน หรือ ระบบการศึกษาที่ใช้เกรดและคะแนนนี้ก็ work ทำให้โรงเรียนต่างๆแข่งขันยกมาตรฐานการสอบได้มากขึ้น แต่คำถามคือ สิ่งที่ถูกต้องจริงๆในการมาใช้วัดความสำเร็จนั้น ( right yardstick for measure success ) มันคืออะไรกันหละ?
ผู้คนมีความต้องการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น material social psychological need
แม้อียิบโบราณจะยิ่งใหญ่ แต่ถ้าเรามองในคุณภาพชีวิตของชาวนาหรือคนงานก่อสร้างนั้น ชีวิตพวกเขากลับแย่กว่าเมื่อเทียบกับคนในยุค hunter-gatherer เสียอีก
พวกชาวอียิปต์ ถูกใช้แรงงานอย่างหนักหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีเวลาพักผ่อน และตายไปอย่างผักปลา ด้วยงานที่หนักกาย และหนักใจ อาหารที่ไม่พอกิน สุขอนามัยที่ตกต่ำ โรคระบาดในที่ทำงาน
ในขณะที่ยุคหิน งานในแต่ละวัน คือการเดินไปมาในป่า เพื่อหาอาหาร  หาผักหาปลาตามเรื่องราว เย็นๆก็ตั้งแคมป์ข้างแม่น้ำชิวๆ
ดังนั้น เมื่อมองในแง่มุมของการร่วมมือกันของมนุษย์  (Human cooperation networks)  มันก็ขึ้นกับว่า เราจะนิยามความสำเร็จว่ายังไง (It all depends on the yardstick and viewpoint we adopt)
เราตัดสินอียิบโบราณยังไง?
ถ้าเรามองในแง่มุมการผลิต ความสงบของสังคม หรือ มองในความยิ่งใหญ่ของฟาโรห์ อิยปต์คืออาณาจักรที่ยิ่งใหญ่
แต่หากมองมันในแง่ของความกินดีอยู่ดี ความสุขของคนชนชั้นล่าง คนในอิยิปก็มีทุกขลาภมากกว่าคนยุคหิน
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ก็ไม่น่าแปลกใจที่เราจะชอบมองในมุมมองแรกมากกว่า เพราะ Human cooperation network มักตัดสินมันเอง โดยใช้นิยามหรือเครื่องมือที่มันสร้างมาเอง (judge themselves by yardstick of their own invention)
ความสำเร็จนั้นก็เลยมาจากมุมมองของ imaginary entity นั้นๆแหละ เช่น
Imaginary Entity ของอียิปต์ ก็คือฟาโรห์และเทพเจ้า ถ้าฟาโรห์ยิ่งใหญ่ มีพีระมิดมากมาย ยุคของฟาร์โรนั้นก็คือ ประสบความสำเร็จ
Imaginary Entity อื่นๆ เช่น ศาสนา ก็จะเรียกว่าประสบความสำเร็จ หากผู้ติดตามนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธาเคร่งครัด
ประเทศนั้นประสบความสำเร็จหากมันทำให้ผู้คนสนใจรักชาติได้มาก
เวลาเรามองประวัติศาสตร์ เราจึงมักตัดสินความสำเร็จของมันผ่าน Imaginary Entitiy ซึ่งอาจไม่ถูกต้องนัก
ดังนั้น เวลาสำรวจประวัติศาสตร์มนุษย์ มันเป็นการดีที่จะลองหยุดใช้เวลาสังเกตสิ่งต่างๆ ในมุมมองของ real entity
real entity ก็คือสิ่งที่เจ็บปวดได้ (It can suffer) เช่น เมื่อแบงค์ล้มละลาย แบงค์ไม่เจ็บปวด เมื่อประเทศแพ้สงคราม ประเทศไม่เจ็บปวด ในขณะที่ถ้าทหารล้มตาย ทหารเจ็บปวดจริงๆ
Fiction ไม่ใช่สิ่งที่แย่ มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หากไม่มี stories ที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันมันทำให้เรามี complex human society
แต่สิ่งสำคัญเราต้องตระหนักให้ได้ว่า fiction คือ tool เพราะถ้าเราลืมข้อนี้ไป เราจะสูญเสีย touch of reality และมันอันตราย เช่น มันอาจทำให้เรายอมก่อสงคราม เพียงเพื่อ ปกป้องประโยชน์ของชาติ หรือ ทำผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ ให้บริษัท (protect national interes or make tons of money for cooperation )
เราสร้าง Fiction ต่างๆ  (money, state, coporation) มารับใช้เรา, ทำไม ไปๆมาๆ เป็นเราที่ต้องเสียสละชีวิตให้มัน
ซึ่งแนวโน้มในศตวรรษที่21 นั้น เราจะสามารถสร้าง Fiction ที่มีพลังมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะมีศาสนา ที่มีพลังอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยความก้าวหน้าของ biotechnology และ computer algorithm, ศาสนาที่เรากำลังเพิ่มพลังให้มันนั้น จะไม่เพียงควบคุมชีวิตความเป็นอยู่ของเราในแต่ละวัน มันอาจมีอำนาจมากจนเปลี่ยนร่างกาย เปลี่ยนสมอง เปลี่ยนจิตใจ และสร้างโลก virtual world  ได้
ดังนั้น ความสามารถในการแยกแยะ Fiction จาก Reality แยกแยะ Religion ออกจาก Science จะทำได้ยากขึ้นในอนาคต แต่จะยิ่งสำคัญกับเรามากขึ้นกว่าเดิม
ติตตาม อัพเดท บทความอื่นๆ ได้ที่ FB : ในโลกของคนอยู่เป็น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา