5 ม.ค. 2020 เวลา 06:20 • ธุรกิจ
มนุษย์เงินเดือนต้องรู้!! ถ้าเราลาออกจากบริษัท จะจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อไม่ต้องเสียภาษีอย่างไร
2
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก Provident fund คร่าวๆ กัน
กองทุน Provident fund หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ และยังเป็นสวัสดิการที่นายจ้างให้ลูกจ้างอีกด้วย
1
โดยเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมาจาก 2 ทาง คือ
1.เงินที่ลูกจ้าง (หรือพนักงาน) หักส่วนหนึ่งสะสมเข้ากองทุนทุกเดือน ส่วนใหญ่เราจะเลือกหักเงินประมาณ 5-10% ของเงินเดือน
2.เงินที่นายจ้าง (หรือบริษัท) สมทบเข้ามาในกองทุน ตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างสมทบไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง
CR. SCBAM
ระหว่างที่เงินอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ก็จะมีบริษัทจัดการ หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เพื่อหาผลตอบแทนสูงสุดตามนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน
1
ดังนั้น ลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์จากทั้งในส่วนของเงินสะสมจากตัวเอง และเงินสมทบจากนายจ้าง รวมถึงยังได้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีอีกด้วย
หลังจากที่เรารู้จักกองทุนนี้คร่าวๆ แล้ว เชื่อว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ถ้าเราลาออกจากบริษัท จะทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ต่อดีหล่ะ
หลายคนอาจจะเลือกใช้วิธีการขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลาออกจากบริษัท และสิ้นปีจะต้องนำผลประโยชน์ทั้งหมดไปคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีในปีนั้น ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก
แต่รู้มั้ยว่ายังมีวิธีอื่น ที่ทำให้เราไม่ต้องเสียภาษีด้วยนะ คือ
1.ถ้าย้ายบริษัทใหม่ ก็ทำเรื่องโอนย้าย PVD ไปไว้กับที่บริษัทใหม่
2.โอนย้ายจาก PVD ไปที่กองทุน RMF
3.คงบัญชีไว้ตามเดิม
1.ถ้าย้ายบริษัทใหม่ ก็ทำเรื่องโอนย้าย PVD ไปไว้กับที่บริษัทใหม่
1
ในกรณีที่เราย้ายบริษัททำงาน ต้องเช็คกับบริษัทใหม่ก่อนว่า มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เรามั้ย ถ้ามีก็สามารถโอนย้ายไปที่บริษัทใหม่ได้เลย
1
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อเราย้ายที่ทำงานใหม่ก็มักจะมีช่วงทดลองงานก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ในช่วงนี้บริษัทก็จะยังไม่สมัครสมาชิก PVD ให้จนกว่าเราจะผ่านช่วงการทดลองงานซะก่อน
ดังนั้น เราต้องแจ้งกับทางฝ่าย HR บริษัทเดิมว่าขอคงเงินไว้ใน PVD ไว้ก่อน ซึ่งก็จะมีค่าธรรมเนียมในการคงเงินไว้ที่เราต้องจ่ายให้กับบลจ. และเมื่อเราผ่านช่วงทดลองงานบริษัทใหม่เรียบร้อยแล้ว ก็ค่อยแจ้งโอนย้ายมาไว้ที่ PVD ของบริษัทใหม่
ส่วนในเรื่องของขั้นตอนการทำเรื่องขอย้ายต่างๆ สามารถสอบถามกับทางฝ่าย HR ของทั้ง 2 บริษัท เนื่องจากขั้นตอนของแต่ละที่จะมีความแตกต่างอยู่เล็กน้อย
1
2.โอนย้ายจาก PVD ไปที่กองทุน RMF
ถ้าเราลาออกจากงานประจำ ไปทำธุรกิจส่วนตัว ไปเป็นฟรีแลนซ์ หรือ บริษัทใหม่ที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถย้ายเงินจาก PVD ไปยังกองทุน RMF ได้
เมื่อเราย้ายเข้ากองทุน RMF แล้ว ก็ต้องถือครองตามเงื่อนไขของ RMF ด้วย โดยจะสามารถขายได้ต่อเมื่อเราอายุครบ 55 ปี และมีอายุสมาชิกนับรวมทั้ง PVD และ RMF ไม่น้อยกว่า 5 ปี ก็จะได้รับยกเว้นภาษี
แต่ก่อนจะย้าย เราต้องเช็คเงื่อนไขการย้าย และเช็คกับทาง บลจ. นั้น ว่าเราสามารถย้าย PVD เข้ากองทุน RMF ได้รึป่าว เนื่องจากตอนนี้ยังมีเพียงไม่กี่บลจ. ที่จะสามารถย้ายได้
เราสามารถสอบถามรายละเอียดโดยตรงกับ บลจ. ที่เราจะย้ายเข้าได้เลยค่ะ ซึ่งกองทุน RMF ที่รับโอนเงินจาก PVD ได้ต้องเป็น “RMF for PVD” โดยจะมีระบุในหนังสือชี้ชวนว่า รองรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การย้ายไปกองทุน RMF มีข้อดีตรงที่มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ลงทุนในหลายสินทรัพย์ ซึ่ง PVD ของบางที่อาจจะมีนโยบายการลงทุนให้เราเลือกลงทุนไม่เยอะ
3.คงบัญชีไว้ตามเดิม
วิธีสุดท้ายคือ การคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามเดิม โดยเราต้องบอกกับทางบริษัทจัดการกองทุนนั้นว่าจะคงไว้นานเท่าใด และจะต้องไม่ขัดกับข้อกำหนดของทางกองทุนด้วย
1
ซึ่งเราจะไม่ได้รับเงินสมทบจากนายจ้างอีกต่อไป แต่ทาง PVD ก็ยังนำเงินของเราที่มีอยู่ลงทุนสร้างผลตอบแทนให้เหมือนเดิม
และเราจะยังคงได้รับใบรับรองหรือรายงานยอดเงินสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund Statement) คอยแจ้งยอดเงินในกองทุนที่เราคงเงินไว้ตามรอบปกติ
การคงเงินไว้จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 500 บาทต่อปี ถ้าเราคงเงินไว้จนอายุครบ 55 ปี และมีอายุสมาชิกใน PVD ไม่น้อยกว่า 5 ปี เมื่อขายกองทุนก็จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีอีกด้วย
ข้อควรระวังสำหรับวิธีนี้ คือ ถ้าเราลืมชำระค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้ในปีถัดๆไป กองทุน PVD ก็จะยังคงนำเงินของเราที่มีอยู่ลงทุนตามนโบายที่เราเลือกต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะลาออกจาก PVD และเมื่อเรามาทำเรื่องลาออกจาก PVD ทางกองทุนก็จะเก็บค่าธรรมเนียมย้อนหลังของปีที่เรายังไม่ได้ชำระ
ถ้าถามว่าวิธีไหนดีกว่ากัน คงไม่สามารถตอบได้ เพราะไม่มีคำตอบที่ตายตัวนั้นเอง แต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละคนจะดีกว่า
เราแนะนำว่า ถ้าย้ายงานไปทำบริษัทใหม่และเค้ามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ ก็เลือกใช้วิธีย้ายไป PVD ของบริษัทใหม่ดีกว่า
แต่ถ้าบริษัทใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ หรือลาออกจากงานมาทำธุรกิจส่วนตัว หรือใดๆ ก็ตามที่ในอนาคตไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อ อยากให้ลองเทียบดูก่อนว่า PVD ของเรากับกองทุน RMF อันไหนดีกว่ากัน แต่ละกองทุนมีนโยบายการลงทุนแบบใดบ้าง PVDของเราสามารถสร้างผลตอบแทนคุ้มกับที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมคงเงินไว้หรือไม่
2
สุดท้ายนี้ หากเราแจ้งเรื่องลาออกกับทางฝ่าย HR แล้ว อย่าลืมแจ้งเรื่อง PVD ด้วยนะว่าเราจะจัดการอย่างไรต่อ ถ้าไม่ได้แจ้งไว้ส่วนใหญ่เค้าจะทำเรื่องนำเงินออกมาให้เราอัตโนมัติเลย ซึ่งถ้าได้เงินออกมาแล้วก็ยากที่จะทำเรื่องขอเปลี่ยนไปเป็นวิธีอื่นนะ
เรียบเรียงข้อมูลโดย Secret FUN(d)
ฝากติดตาม กด Like กด Share และเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ จะคอยอัพเดตข้อมูลสาระเกี่ยวกับกองทุนรวมและการลงทุน
#SecretFund
โฆษณา