6 ม.ค. 2020 เวลา 09:39 • ความคิดเห็น
สงคราม กับ ภาวะเศรษฐกิจโลก และ ไทย (ตลาดหุ้น)
เป็นเวลา 30 ปีพอดี นับจากสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี 2533 ( สมัย จอร์จ บุช X ซัดดัม )
สงครามในครั้งนั้นจัดว่าเป็นสงครามที่มีพันธมิตรเข้าร่วมมากที่สุดในโลกนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2
(10กว่าประเทศ รุมสกรัม อิรัก ประเทศเดียว 😅 )
ช่วงนี้มิตรสหายหลายท่าน ib มาให้ช่วยวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้หน่อย อยากสารภาพว่า ไม่ค่อยได้ตามเรื่องนี้เลย เนื่องจากงานยุ่งมากตั่งแต่เปิดปีมาเลย
จึงมีข้อมูลน้อยมาก
ทีนี้...บทความนี้เคทเลยจะขอเล่าถึงสภาวะการณ์ในอดีตที่ผ่านๆมาเท่าที่จำได้เป็นหลักละกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์และเชื่อมโยงไปข้างหน้ากันเอาเองนะคะ
ย้อนกลับไปช่วงที่เกิด เหตุการณ์ สงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อราวๆ สิงหาคม พ.ศ. 2533
ตอนนั้นประเทศไทย กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นนะคะ อิงจากสภาพเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ( น้าชาติบริหารงานอยู่ในสมัยนั้น) ถ้าในสภาวะโลกก็ ถือ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านความเจริญในแถบอาเซียน ซึ่งเอาจริงๆความเจริญเหล่านั้นมันก็มีผลมาจาก สงครามเวียดนาม ที่ต่อเนื่องมาให้เกิดพลวัตรการเงินโลกครั้งใหญ่ จากการยกเลิกข้อตกลง Bretton Woods ของอเมริกา
พอยกเลิก BW เกิดอะไรขึ้นตามมา กลุ่มโอเปคผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก ก็ประกาศเลิกอิงราคาน้ำมันดิบกับดอลล่าห์เช่นกัน และหันไป อิงกับทองคำแทน !!
เหตุการณ์หลังจากนั้นต่อมาก็เกิดภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจอเมริกาครั้งใหญ่ จนนำไปสู่ ข้อตกลง Plaza Accord และตามมาด้วยความเจริญของแถบอาเซียนที่ไทย เกือบจะเป็น "เสือตัวที่ห้า"
อ่ะ...กลับมาวันที่เกิด สงครามอ่าวกันต่อ
ตอนนั้นดัชนีหุ้นไทย อยู่ที่ ราวๆ 1,100+ นิดๆ
ในช่วงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533
ประกาศสงครามอ่าว ดัชนีอยู่ที่ 1,129.36 จุด
และไหลลงตลอดสัปดาห์ กว่า 175 จุด นับเป็นเปอร์เซ็นต์ = ราวๆ 15% ซึ่งถือว่าเยอะมากในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน
แม้จะมีการกล่าวอ้างว่า ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยลบของภาคการเมืองไทยผสมอยู่ด้วย เพราะเวลานั้นเสถียรภาพรัฐบาลก็ไม่สู้ดีเท่าไหร่ (เกิดการรัฐประหารหลังจบสงครามอ่าว เพียงไม่กี่วัน ตอนนั้น set ลบไป 50กว่าจุด ) แต่เคทมองว่าจากการเคลื่อนไหวของดัชนี ปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวเลขการเปลี่ยนแปลงข้างต้นเป็นเอฟเฟคโดยตรงที่เกิดจากภาวะสงครามมากกว่าภาคการเมือง
ตอนนั้นดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกไหลลงอย่างต่อเนื่อง กระทั่งสิ้นสุดสงครามเมื่อช่วง กุมภาพันธ์ ปี 2534 แล้วก็ดูทีท่าว่าจะกลับมาที่จุดเดิมได้ยาก แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจเล็กน้อย คือ ตลาดหุ้นอเมริกา ดีดตัวกลับไปยืนที่ 3,000 จุดได้รวดเร็วราวกลับไม่มีอะไรเกิดขึ้น 😌
หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ อ่าวเปอร์เซีย ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นกว่า 30% กลายเป็นยุครุ่งเรืองของน้ำมันทันที
จากนั้นโลกก็ถูกผูกติดกับความคิดที่ว่า พลังงานน้ำมันคือ สินทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาล ราคาน้ำมันถูกปั่นขึ้นมาตลอด ถ้าใครจำได้จะมียุคนึงที่ โฆษณาชวนเชื่อ ว่า " น้ำมันกำลังจะหมดโลก "
และ เพลานั้น ทองคำก็ขึ้นราคาตามน้ำมันไปติดๆ
ถัดมาให้หลังอีกเพียงแค่ 10 ปี
เหตุวินาศกรรม 9/11 ตรงกับไทยปี 2544
ประเทศเราได้รับผลกระทบหนักไหม จะว่า หนัก ก็ไม่เชิง เพราะเราเพิ่งผ่านกับวิกฤติใหญ่ ต้มยำกุ้ง ได้ไม่นาน เรียกว่าอยู่ในช่วงกำลังสร้างฐาน อะไรช่วงนั้นก็ไม่รู้สึกว่าหนักแล้วหล่ะ 😅
แต่...ถ้าในแง่ภาคตลาดทุน ตลาดหุ้นในไทย ก็ถือว่าหนักค่ะ ตลาดบ้านเรายังคงอ่อนไหวอยู่ ถือว่าปรับตัวแรงพอสมควร จากวันที่เกิดเหตุ ตลอดสัปดาห์ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงกว่า 20% ได้ สมัยนั้นตลาด ดัชนีอยู่ที่ 330 จุด ลดลงไป 60 จุดได้ อารมณ์นักลงทุนในบ้านเราตอนนั้นก็ประมาณเหมือนโดนสึนามิซัดระรอก 2
หลังจากตึกเวิลด์เทรดโดนถล่ม จอร์จ บุช (jr) ก็นำอเมริกาเข้าสู้สงครามตะวันออกกลาง อัฟกานิสถานในช่วง ตุลาคมทันที แต่...ตลาดหุ้นไทยไม่สะทกสะท้านอะไรละ เพราะไม่มีอะไรเหลือแล้ว 😂😂
ราคาทองคำ......
ช่วงก่อนหน้านั้นราคาทองคำ เคยอยู่ภาวะซึมมานาน จหลังช่วงสงครามอ่าว เพราะมีรอบที่ อังกฤษเทขายทองคำในคลังออกเยอะมาก หลายคนวิเคราะห์กันว่า จะมีการสะสมทุนหรือเงินตราอื่นๆแทนทองคำ
แต่พอปี 2001 เกิดวินาศกรรม ทองคำก็ทะลุทุกแนวต้าน ทะยานทะลุยาวนานตลอด 7 ปีได้ ทองที่เคยบาทละ 8,000 ขึ้นไป ไฮ ที่ 24,000 !!!
น้ำมันก็แพงขึ้น....และก็ตามมาด้วยการทวงคืน ปตท 😅
จะว่าไป หากเกิดสงครามขึ้นรอบนี้ก็คงมีเหตุการณ์ที่ไม่ต่างจากอดีตมากนัก
แม้น้ำมันจะไม่ใช่สินทรัพย์ที่มีค่าดังเช่นในอดีต แต่เบื้องหลัง สินทรัพย์เหล่านั้น เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ามันมีมูลค่า "การตลาดแฝง" ไม่น้อยเลยทีเดียว
หากสังเกตุประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์สงคราม ช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า เอฟเฟคที่เกิดการสงครามดูจะไม่ได้ร้ายแรงอะไรกับเรามากนัก (ส่วนนึงอาจจะเพราะมันไม่ใหญ่ถึงขั้น WW )
การฟื้นตัวหลังภาวะสิ้นสงครามใช้เวลาไม่นาน แต่กลับเป็นวิกฤติเศรษฐกิจซะมากกว่า ที่สร้างผลกระทบขนาดใหญ่ให้กับโลกในช่วงหลังมานี้ ไม่ว่าจะ ต้มยำกุ้ง หรือ แฮมเบอร์เกอร์ ต่างก็ใช้เวลาฟื้นฟูกันยาวนานและผลกระทบเกิดกับชีวิตผู้คนเป็นวงกว้างมากกว่า
สงครามที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้ เชื่อว่า หลายๆคนไม่อินแน่นอน เพราะเราห่างไกลจาก สงครามโลกมานานเกือบชั่วอายุคน อีกทั้งโซเชี่ยลเชื่อมความรู้สึกนึกคิดให้เราได้เข้าใจกันและกันมากกว่า โฆษณาชวนเชื่อ ที่สร้างวาทกรรมให้เกิดความขัดแย้งในอดีต ปัญหาชาติพันธุ์ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในการอยู่ร่วมกัน มากกว่าที่จะถูกแบ่งแยก
ใครมีข้อมูลหรือ ความเห็นอะไร สามารถนำมาแชร์กันได้นะคะ
ป.ล. อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เคทเขียนให้อ่านนะคะ แต่จงใช้ข้อมูลนี้ปูทางไปค้นคว้าหาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมแล้วสรุปด้วยตนเองว่าจริงแท้อย่างไร
มิ้วๆ
โฆษณา