7 ม.ค. 2020 เวลา 13:25 • การศึกษา
“โพสต์ข้อความด่านายจ้างผ่านเฟซบุ๊กผลจะเป็นอย่างไร?”
คนส่วนใหญ่ในยุคนี้ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะต้องโพสต์ลงสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นแอพฯ ยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ หรืออื่น ๆ อีกมากมาย
และเนื่องจากเราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าสื่อสังคมออนไลน์ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะมีคนที่เรารู้จักและไม่รู้จักเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เราได้แสดงออกไว้ในสังคมออนไลน์นั้น
ถ้าสิ่งที่แสดงออกไปเป็นเรื่องที่ดี เจ้าของโพสต์ก็อาจจะได้รับการชื่นชมจากเพื่อน ๆ หรือคนอื่น ๆ ที่เข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็น...
แต่ถ้าสิ่งที่นำมาลงเป็นเรื่องแย่ ๆ หรือเรื่องทางลบแล้วล่ะก็ นอกจากจะถูกคนในสังคมออนไลน์รุมต่อว่าแล้ว ผลเสียที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบมาถึงชีวิต และหน้าที่การงานจริง ๆ เลยก็ได้
มีลูกจ้างอยู่รายหนึ่งซึ่งน่าจะมีความคับข้องใจกับนายจ้างมาเป็นเวลานาน จึงได้
โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กในเชิงระบายความแค้นใจที่มีต่อนายจ้างว่า...
นายจ้างกลั่นแกล้งตน เป็นนายจ้างที่ไม่ดี เอาเปรียบลูกจ้าง และกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน
การเขียนข้อความในลักษณะเช่นนี้
ตัวลูกจ้างเองก็น่าจะทราบดีว่าย่อมส่งผล
กระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของนายจ้าง ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า
การกระทำของลูกจ้างถือว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 8206/2560)
การใช้สื่อสังคมออนไลน์นั้น หากรู้จักใช้ให้เป็นก็จะมีประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างมาก
แต่ถ้าใครที่ไม่สามารถควบคุมตรงนี้ได้ พิษของมันก็อาจจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเองและคนใกล้ชิดได้
เพราะหลายสิ่งที่มีคุณอนันต์ ก็มักจะมีโทษมหันต์อยู่ในตัว
ขึ้นอยู่ว่าเราจะเลือกเป็น “ผู้ใช้” หรือ “ถูกใช้” สื่อสังคมออนไลน์นั้น...
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา