10 ม.ค. 2020 เวลา 06:21 • ความคิดเห็น
เราเข้าใจคนที่ก่นด่า และ อยากให้ฆาตกรตายตกไป
และเราก็เข้าใจคนที่ไม่เห็นด้วยกับการระบายความขุ่นเคืองแบบนี้
เราเคยยืนอยู่บนฝั่งยกเลิกโทษประหารชีวิต
แต่.....มาวันนี้เราไม่แน่ใจ
เราเข้าใจถึงความกรุ่นของหลายๆคน เราเข้าใจว่ามันถูกขับเคลื่อนอย่างรุนแรงจากความไม่เห็นด้วยในความเลวร้าย หรือ ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นตรงหน้าอ่ะ การแสดงออกของแต่ละคนก็ต่างกันไปตามพื้นฐาน ตามปัจจัยที่คนๆนั้นได้รับ
แม้แต่เราเองที่เคยยืนอยู่อีกฝั่งของโทษประหาร
ก็ยังรู้สึกสับสน
เราเบลอและสตั๊นไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คำถามมากมายผุดขึ้นในหัวเยอะแยะไปหมด
เรารู้สึกเอนเอียงไปกับอีกฝั่งที่เราเคยยืน
เรารู้สึกว่าการคงโทษประหารชีวิตไว้ ก็อาจเป็นทางออกที่เหมาะกับบริบทสังคมของเราก็เป็นได้
เรื่องนี้มันก็สะท้อนได้ทั้ง มุมแง่ดี แง่ร้าย ไม่มีผิดถูก
และเราก็ไม่กล้าตัดสินใดๆเลย
การที่สังคมแสดงความกรุ่นออกมาอย่างรุนแรง
แง่ดี ก็คือ อย่างน้อยมันก็สะท้อน norm ของสังคมให้เห็นว่า คนไม่โอเคกับเรื่องนี้อย่างรุนแรง เอฟเฟคนี้จะถูกปลูกฝังในสังคมต่อไปว่า ใครที่มีพฤติกรรมแบบนี้จะถูกรังเกียจถูกประณามขนาดไหน และอาจนำไปสู่การกดดันให้เกิดมาตรการอะไรสักอย่าง
การระบายออกที่รุนแรง เรารู้สึกว่าบางครั้งมันก็มาจากความรู้สึกที่ถูกกดทับ จากความขาดศรัทธา ความเชื่อมั่นในบางสิ่ง หลายๆคนอาจหวาดกลัว รู้สึกไร้ความปลอดภัย และไม่เชื่อมั่นใน security ของระบบ ความระแวงภัยที่จะเกิดกับคนใกล้ชิดในอนาคต จึงคิดว่าให้ตายตกไปซะดีกว่า เราว่านี่ก็ถือว่าเป็นเหตุผลที่ไม่ใช่เกิดจากอารมณ์เพียวๆ และเราเข้าใจได้นะ
แต่โอเค ข้อเสียมันก็มี แต่เราขอละไว้ละกัน (คิดว่ามีหลายคน หลายเพจโพสไปพอสมควรแล้วหล่ะ)
โพสนี้เราเลือกยืนข้างความกรุ่นอ่ะ
แน่นอนว่า การยึดแนวคิดบรรทัดฐานของสังคมระดับอุดมคติย่อมดีกว่าปัจเจก แต่เราก็ต้องไม่ละการพิจารณาด้วยว่า norm ของสังคม มันเป็นแบบไหน
อย่างการมีโทษประหาร เราเองก็เคยไม่เห็นด้วย
เราเคยเห็นแต่การวิจัยที่ว่า
"การประหารไม่ได้ช่วยลดอาชญากรรมลง ""
แต่....แต่ เราเองก็หาคำตอบได้ไม่ชัดว่า......
" การไม่มีโทษประหาร มันทำให้อาชญากรรมลดลงได้ไหม "
พอเราอยู่สิงคโปร์นานๆ สิ่งที่เราสัมผัสได้คือ คนที่นี่กลัวกฏหมายมาก กฏหมายเขาเข้มงวดมากๆ และเขาก็ยังมีโทษประหารอยู่เรื่อยๆ
คนไม่ค่อยกล้าทำผิดกันอย่างเห็นได้ชัด อย่างคดียาเสพติด โทษรุนแรงคือประหารชีวิต คดียาเสพติดจึงมีน้อยมากที่นี่ (ถ้าไม่มีโทษประหารเราว่าอาจเกิดคดีเยอะขึ้นกว่านี้)
การปรับระเบียบโครงสร้างพื้นฐานให้ไปพร้อมกับทัศนคติที่สูงส่ง มันน่าจะยากกว่า การปรับทัศนคติลงมาให้ใกล้เคียงกับพื้นฐานทางสังคม ปรับเข้าหากันและกันน่าจะดี เราเข้าใจว่าเรื่องนี้มันยากแหละ
หลายๆประเทศที่ยกเลิกคุก ยกเลิกเรือนจำ ยกเลิกโทษประหาร เพราะบริบทเขาเอื้อถึงซัพพอร์ทถึงจุดนั้นแล้ว แต่บางประเทศที่ยังมีอยู่ เราก็ว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร บริบทของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน
สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับกัน คือ กระบวนการบางอย่างของเรามันล้มเหลวและไม่ตอบโจทย์
มิ้วติ้วจริงๆ
โฆษณา