12 ม.ค. 2020 เวลา 03:21 • ประวัติศาสตร์
“สงคราม สิ่งที่ผู้สูญเสียไม่ได้เป็นผู้ก่อ”
ประโยคด้านบนในเนื้อหานี้ไม่ได้พูดถึงคน
แต่กับสรรพสัตว์ที่ร่วมโลกกับเรา
ที่ได้เสียชีวิตจากแรงระเบิด
และความทุกข์ทรมานที่ผลพวงมาจากสงคราม
สวนสัตว์เบอร์ลิน
สวนสัตว์เก่าแก่ของเยอรมัน สร้างในปี ค.ศ.1844
เต็มไปด้วยสัตว์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เสือ ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส หมี แรด
แน่นอนว่าสัตว์ที่ดึงดูดผู้เข้ามาชมมากที่สุด
คือช้าง สวนสัตว์นี้มีช้างเอเชียทั้งหมด 8 ตัว
พอเข้าช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
นาซีปรับปรุงสวนสัตว์แห่งนี้
ให้เป็นหนึ่งในสถานที่หลบภัย
และตั้งตึกกองบัญชาการขึ้นมา
พร้อมทั้งมีปืนต่อสู้อากาศยานขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนหลังคาอาคาร ท่ามกลางสัตว์ที่ยังคงอยู่ตามเดิมในกรง
กองบัญชาการและปืนต่อสู้อากาศยานที่ตั้งอยู่ในสวนสัตว์เบอร์ลิน
สิ่งที่แย่คือมันทำให้สวนสัตว์เบอร์ลิน
กลายเป็นเป้าหมายหลักในการทิ้งระเบิดของสหราชอาณาจักร
พฤศจิกายน ค.ศ.1943
”ยุทธการที่เบอร์ลิน” ได้เริ่มต้นขึ้น
มันเป็นแผนการทิ้งระเบิดถล่มกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันโดยกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
เพื่อหวังจะให้เยอรมันยอมแพ้ต่อสงคราม
วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
ทราบดีว่าหนึ่งในเป้าหมายการถล่มกรุงคือสวนสัตว์
ประชาชนบริสุทธิ์มากมายอาจจะต้องล้มตาย
รวมไปถึงสัตว์มากมายผู้ไม่รู้ชะตากรรม
แต่เขาไม่มีทางเลือก
การทำลายปืนต่อสู้อากาศยานจะทำให้ลดความเสี่ยงที่ฝ่ายตนเองจะถูกยิงตกไปได้มหาศาล รวมถึงกองบัญชาการที่มีนายทหารระดับสูงอยู่มากมาย
การทิ้งระเบิดรอบแรกได้เริ่มต้นขึ้น
เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-17 ทิ้งระเบิดปูพรม หวังผลจะทำลายปืนต่อสู้อากาศยานรวมถึงกองบัญชาการให้ได้ในครั้งแรก
โชคร้ายที่ระเบิดนั้นไม่ได้ลงจุดสำคัญเลย
มันดันไปคร่าชีวิตช้าง แรด ยีราฟ และสัตว์อื่นๆ มากมาย
จากการถล่มเพียงแค่หนึ่งเดือน
ยีราฟ 2 ตัว ฮิปโปโปเตมัส 2 ตัว
แรดดำ ช้างทะเล กวางกว่าครึ่งฝูง ต้องเสียชีวิต
รวมไปถึง ช้าง 7 เชือก จากทั้งหมด 8 เชือก
“สยาม” ช้างเอเชียวัย 22 ปี คือหนึ่งในตัวชูโรงของสถานที่แห่งนี้ เป็นเพียงช้างตัวเดียวที่เหลือรอดจากการทิ้งระเบิด
เรื่องราวของสยาม ถูกตีพิมพ์ไปหลายประเทศ
ผลพวงจากการทิ้งระเบิด
สวนสัตว์ขาดการดูแล ไม่มีใครคอยให้อาหารเหมือนเดิม เพราะแม้แต่คนยังขาดอาหาร
คนบางส่วนมาสวนสัตว์เพื่อเอาซากสัตว์ที่ตายแล้วไปทำอาหาร โดยเฉพาะกวาง
ว่ากันว่าแม้แต่หมีกับแรดยังโดยนำไปทำเป็นซุป
พลเมืองดีบางคนยังคงมาช่วยเหลือสัตว์ที่ยังคงเหลือรอด รวมถึง”สยาม”โดยให้อาหาร น้ำเท่าที่จะทำได้
ส่วนผู้ดูแลสวนสัตว์ที่ยังไม่หนีไปไหน
บ้างก็แบกสัตว์ขนาดเล็กไปไว้ที่บ้าน
นก Shoebill หนึ่งในสัตว์ในสวนสัตว์ ถูกผู้ดูแลอุ้มมาอยู่ดูแลที่บ้านแทน
สุดท้ายแล้ว คงเหลือไว้เพียง “สยาม” ที่ไม่สามารถมีผู้ใดพาไปหลบที่ไหนได้
ตลอดสงครามสยามต้องอดทนต่อสภาพแวดล้อม
สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ และสภาพกายที่อ่อนแอลงทุกวัน
ผู้คนแถวนั้นทำได้เพียงมาให้กำลังใจกันและกัน “สยาม”กลายเป็นแรงบันดาลใจในการมีชีวิตรอดของชาวเบอร์ลิน โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ
เรื่องราวของสยาม ถูกตีพิมพ์ไปหลายประเทศ
ถึงขั้นมีคนนำเรื่องราวของ”สยาม”ไปเป็นหนังสือที่ชื่อว่า “The Elephant Gate: The True Story of Siam, the Last Elephant in Berlin” โดย Curtis Comer
หนังสือ “The Elephant Gate: The True Story of Siam, the Last Elephant in Berlin” โดย Curtis Comer
สยามมีชีวิตรอดมาได้จนถึงสิ้นสุดสงคราม มันกลายเป็นฮีโร่และแรงบันดาลใจของชาวเยอรมัน
แต่สุดท้ายแล้วมันก็เป็นโรคเรื้อรัง จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ.1947
ผมหาแค่ไหนก็ไม่เจอว่าทำไมช้างเอเชียตัวนี้ถึงชื่อว่า”สยาม” ไม่แน่ชัดว่ามีความเกี่ยวข้องอะไรกับประเทศไทยหรือไม่
แต่ล่าสุดสวนสัตว์แห่งนี้ได้รับช้างจากรัฐบาลไทยในปี 1987 และตอนนี้มันก็ได้คลอดลูกออกมา1เชือกแล้วด้วยนะ
ล่าสุดสวนสัตว์เบอร์ลินได้รับช้างจากรัฐบาลไทยในปี 1987 และตอนนี้มันก็ได้คลอดลูกออกมา1เชือกแล้วด้วยนะ
ติดตามเรื่องราวเหล่านี้ได้อีกทางช่องทาง
FB: I’m from Andromeda
โฆษณา