15 ม.ค. 2020 เวลา 01:47 • ความคิดเห็น
การเมืองที่ฉาบฉวย....สะท้อนอะไร
จริงๆจะเขียนเรื่องนี้นานแล้ว แต่...บทความแบบถ้าเขียนล่วงหน้าก่อนที่บริบทหลายอย่างยังไม่พร้อม หลายคนจะไม่เปิดใจ และจะยังไม่เก็ท จึงต้องรอให้เกิดผลลัพธ์ หลายๆอย่าง เพื่อจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันและเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น
คิดว่าวันนี้เวลาก็ล่วงเลยมาระดับนึงแล้ว
น่าจะนำมาพูดถึง
หลังจากที่ความเบ่งบานของโซเชี่ยลมีเดียเริ่มต้นเมื่อราว 4-5 ปีก่อน ภาคการเมืองประชาชนหันเหไปให้ความสำคัญกับสื่อโซเชี่ยลมีเดียซะเยอะ
แน่นอนว่า มันมีประโยชน์ ในการขับเคลื่อนภาคการเมืองของประชาชนได้อย่างมีนัยสำคัญ
แต่....มุมนึงก็กลายเป็น " หลุมกับดัก " ที่พาให้ประชาชนเดินไปติดกับ
ของ " ระบบอัลกอริทึ่มแมชชิ่ง " มากขึ้น !!
และกลายเป็น เกิดการประมวลผลที่ผิดพลาด เกิดกลายเป็นภาพมายาคติ ที่เป็นแค่ภาพลวง
ระบบอัลกอริทึ่มแมชชิ่ง คืออะไร คือ การที่นำเสนอหรือเชื่อมโยง ชักนำคุณแบบกลายๆ ให้ไปอยู่ในกลุ่มที่ความต้องการใกล้เคียงกัน สิ่งนี้แหละคือ ปัญหาส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย เพราะคุณถูกต้อนให้อยู่ในกล่องใบนึงที่แทบไม่มีความเห็นต่าง โดยไม่รู้ตัว
การมีชุดข้อมูลซ้ำๆเดิมๆ มีความแตกต่างที่น้อยมาก
จึงกลายเป็นปัญหา
คนส่วนใหญ่ไม่เกิดการเรียนรู้ ถึงแนวคิดฝ่ายตรงข้าม
เลยเกิดเอฟเฟค นำไปสู่การตัดสินใจ รวมถึง
เหตุและผล ถูกกดดันจากระบบ neural network (อธิบายไปในโพสก่อน)
สิ่งที่ตามมาคือ การประเมินผลและนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ที่ชัดเจนที่สุดคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เสพโซเชี่ยลจำนวนมาก เชื่อว่า พราคอนาคตใหม่ จะได้รับที่นั่งมากมาย จนถึงชนะเลือกตั้ง
เมื่อเกิดมายาคติ ที่โดนอัลกอริทึ่มหลอก ก็นำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผล และผิดพลาดบางอย่าง
ตัวอย่างเช่น คนที่เห็นว่าน่าจะชนะใสๆ ก็อาจจะไม่ไปลงคะแนน โดยเลือกไปทำกิจกรรมอื่นแทน
เหตุการณ์นี้พอจะอธิบายได้ เช่น หากจำกันได้ในโซเชี่ยลช่วงก่อนเลือกตั้ง คนจำนวนมหาศาลเชื่อตรงกันมากว่า ครั้งนี้จะมีคนมาใช้สิทอย่างถล่มทลาย
แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่เป็นเช่นนั้นเลย
แต่ชุดความคิดเหล่านี้ จะไม่ค่อยมีผลกับคนที่มีวัยวุฒิและวุฒิภาวะระดับนึง คนกลุ่มนี้แทบไม่สนใจต่อความคิดเห็นกระแสหลักในโซเชี่ยลเลย
ทีนี้ ในหลายๆประเทศ หากเราสังเกตุ เราจะเห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากตรงนี้ อย่างการเลือกตั้งของ เมกา ที่มีการเกิดเฟคนิวส์ในปริมาณมหาศาล การขายข้อมูลของเฟสบุ๊คในทางการเมือง
และในบางประเทศที่ควบคุมระบบได้ระดับนึง จะส่งผลเสียหายในระบอบประชาธิปไตยอย่างมาก เพราะชุดความคิดเห็นจะถูกควบคุม ชักนำ หรือ ปกปิด โดยเราไม่รู้ตัว หรือทันสังเกตุ
แต่ก็อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น กระบวนการที่น่าเป็นปัญหาที่สุดคือ การตัดสินใจที่มาจาก กระบวนการ
neural network -> ที่สุดท้ายนำไปสู่การตัดสินใจที่ฉาบฉวย ขาดพลังในการคิดวิเคราะห์ ทำให้คุณค่าของการตัดสินใจ การใช้เหตุและผล ลดลงด้วย
เมื่อระบบสร้างความเคยชิน และเราเองก็ชินกับระบบ
ระบบวิธีคิด ก็จะ ฉาบฉวยขึ้น เน้น เอาง่าย เอาไว เอากระแส เข้าว่า
เรื่องพวกนี้กระทบไปกินวงกว้าง ในทุกๆวงการ ไม่ว่าจะการเมือง การศึกษา การทำธุรกิจ ค้าขาย อื่นๆ ฯลฯ
วันนี้ขอพูดถึงแค่นี้ก่อนนะคะ ไว้วันหลังมาต่อ(ติดงาน)
ใครมีอะไรเพิ่มเติม ร่วมแชร์ความคิดเห็นกันได้นะคะ ยินดีเปิดรับทุกความเห็นเช่นเคย
มิ้วๆนะ
โฆษณา