18 ม.ค. 2020 เวลา 16:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"มาแปลก" เมื่อ Toyota ได้รับอนุมัติการลงทุนผลิต
รถยนต์เเบตเตอรี่ EVs ในประเทศไทย
3
[บทวิเคราะห์] ดังที่เพจ Thailand Development Report ได้เคยรายงานไว้ก่อนหน้านี้ไม่นานว่า SAIC CP ได้รับอนุมัติส่งเสริมโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ EVs ไป
1
--- มาเงียบ SAIC CP ได้รับการส่งเสริมการลงทุนผลิต EV ------
ล่าสุดได้มีเซอร์ไพรซ์อีกรอบโดยไม่ใช่ใครอื่น โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทยนั่นเอง โดยจากเอกสารที่บีโอไอเผยเเพร่ออกมา พบว่าโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย ได้ยื่นขอรับการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก 2 ประเภท ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) โดยก่อนหน้านี้ โตโยต้ามอเตอร์ได้รับอนุมัติโครงการยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) ไปแล้ว ซึ่งนําไปสู่การเปิดตัวโตโยต้า CH-R และ โตโยต้าโคโรล่าอัลติสไฮบริด โดยทางบริษัทก็เคยเปิดเผยว่า โตโยต้าต้องการทําให้ไทยเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดของอาเซียน
1
จึงนําไปสู่คําถามที่ว่า แนวทางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆของโตโยต้าในประเทศไทย จะเดินไปในทิศทางใด?
1
เรามาเริ่มต้นดูจากยุทธศาสตร์ยานยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้ากันก่อน ในช่วงแรก โตโยต้ามีท่าทีไม่สนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าแบบเเบตเตอรี่ และเชื่อมั่นในเทคโนโลยีเซลเชื้อเพลิงของตนเอง และได้เปิดตัวโตโยต้า mirai ในปี 2014 แต่หลังจากวางขายในทวีปอเมริกาเหนือได้ซักพักใหญ่ก็พบปัญหายอดขายต่ำ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานไฮโดรเจนที่ไม่พร้อมมากนัก
3
การมาของยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ทําให้โตโยต้าต้องเปลี่ยนใจ การแข่งขันของค่ายรถต่างๆทั่วโลกที่ทุกผู้ผลิตล้วนมองไปถึงอนาคตที่ขับเคลื่อนโดยยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ทําให้โตโยต้าต้องหันกลับมามองยุทธศาสตร์ตัวเองใหม่อีกครั้ง และร่างแผนสําหรับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของตนเอง
3
-โตโยต้าเลือกเดินเกม 2 ทาง-
นั่นคือการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าไฮโดรเจนต่อไป แต่เน้นเฉพาะตลาดญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น เช่นเดียวกับยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ขนาดเล็ก (ultra compact BEV) ที่จะเปิดตัวครั้งแรกในงานโอลิมปิคที่จะถึงนี้ อีกทางหนึ่งเพื่อตอบรับกระแสดีมานด์ความต้องการ EV จากทั่วโลก จึงต้องพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ขนาดใหญ่สําหรับตลาดนอกประเทศ โดยเฉพาะจีน และยุโรปที่มีกฏหมายด้านมลภาวะที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ
3
-แผนลงทุนที่อินโดนีเซียเป็นแค่กระแสเกินจริง-
2
เมื่อไม่นานมานี้โตโยต้าได้ประกาศลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าในอินโดนีเซีย แท้จริงแล้วเป็นเพียงการปั้นข่าวที่เกินจริงจากสํานักข่าวท้องถิ่นจนลามไปถึงสํานักข่าวระดับโลกบางสํานักที่เข้ากระโดดรับลูกเพื่อปั้นกระแส ที่จริงแล้ว อินโดนีเซีย เช่นเดียวกับประเทศกําลังพัฒนาอื่นๆในโลก ยังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานสําหรับยานยนต์ไฟฟ้าอยู่มาก รวมถึงไม่มีการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ การลงทุนที่ว่าจึงเป็นการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดเท่านั้น
1
-การที่โตโยต้ายื่นแผนลงทุนในไทยบอกอะไรเราบ้าง-
การที่บริษัทจะผ่านการอนุมัติส่งเสริมได้นั้น จะต้องรายงานตัวเลขและแผนการลงทุนที่ชัดเจนก่อน จึงจะได้รับอนุมัติ จากเอกสารที่ได้เปิดเผยมานั้น พบว่าโตโยต้ายังได้ยื่นขอการส่งเสริมผลิตเเบตเตอรี่แรงดันสูงในประเทศไทยอีกด้วย ถึงแม้ว่าตัวเซลแบตเตอรี่ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงยังต้องพึ่งพาการนําเข้า แต่ก็นับเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยเลยทีเดียว โดยรายละเอียดเรื่องตัวเลข ก็คงต้องรอทางโตโยต้าออกมาเปิดเผยในอนาคต
3
แล้วโตโยต้าจะผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใดในไทย?
ปัจจุบัน โตโยต้าได้เปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ใต้แบรนด์ตนเองเพียงรุ่นเดียว นั่นคือ CH-R EV โดยมีแผนผลิต และจําหน่ายในจีนในปีนี้ โดยมีแผนจะเปิดรุ่นอื่นให้ครบทุกเซกเมนต์ภายในปี 2025 ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่า หนึ่งในนั้นจะเปิดตัวในไทยในเร็วๆนี้
3
สําหรับรถปลั๊กอินไฮบริด ก็อาจเป็นได้ทั้ง Prius PHV หรือรุ่นที่โตโยต้ามีแผนจะทํารุ่นปลั๊กอิน ทั้ง Corolla , Camry และ RAV4 (อเมริกาเหนือ)
ไม่ว่าโตโยต้าจะมีแผนอย่างไรในการเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้า ก็คงสรุปได้ว่า โปรโมชั่นลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าของบีโอไอประสบความสําเร็จในการดึงค่ายรถมาลงทุนในไทยได้มากทีเดียว
1
บริษัท/ แบรนด์ที่ได้รับการส่งเสริมลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV )
- โตโยต้า
- นิสสัน
- ฮอนด้า
- มาสด้า
2
ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)
- มิตซูบิชิ
- เอ็มจี
- เมอร์ซิเดสเบนซ์
- บีเอ็มดับบลิว
- โตโยต้า
1
ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV)
- เมอร์ซิเดสเบนซ์ (อยู่ระหว่างเจรจาเพิ่มเติม)
- โตโยต้า
- สกายเวล
- เอ็มจี
- ฟอมม
- ไมน์โมโบลิตี้ 🇹🇭
@EVs ThaiDevreport
โฆษณา