ทำไมคนๆหนึ่งถึงกลายเป็นอาชญากร
“เหตุผลที่เราต้องศึกษาจิตใจของพวกเขา ว่าอะไรที่ทำให้กลายมาเป็นอาชญากรในวันนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์หลักให้พวกเราต้องเห็นใจพวกเขา แต่เพื่อหาวิธีป้องกันหรือวิธีจัดการกับสิ่งที่เป็นต้นเหตุเหล่านั้น” ผู้ศึกษาอาชญาวิทยาหลายคนกล่าวไว้ในลักษณะนี้
เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอาชญากรรมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์ แม้ว่าเราจะไม่อยากให้มันเกิดขึ้นก็ตาม นี่คือเหตุผลหนึ่งที่เราควรเข้าใจและศึกษา ว่าอะไรที่ให้อาชกรคนหนึ่งเกิดขึ้นมา
คนรอบข้างเรามีแนวโน้มกระทำอาชญากรรมหรือไม่ หากเราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าคนใกล้ชิดเรานั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นอาชญากร เราก็จะสามารถหาแนวทางหลีกเลี่ยง ป้องกัน
หรือเข้าไปช่วยกระทำการใดให้ปัจจัยที่อาจทำให้บุคคลนั้นกระทำการก่ออาชญากรรมลดลง หรือเรียกแบบไทยๆว่า ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
ในประเทศไทย ข่าวอาชญากรรมถูกนำเสนอผ่านสื่อวันละหลายเหตุการณ์ และนอกจากนั้นยังมีอาชญากรรมอีกมากมายที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อให้เราได้รับรู้
ในปี 2561 มีการรับแจ้งเหตุอาชญากรรมแค่เฉพาะที่เป็นความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ สูงถึง 17,468 ครั้ง
จึงเกิดคำถามว่าเราจะสามารถส่วนร่วมอย่างไรเพื่อให้ตัวเลขอาชญากรรมดังกล่าวลดลง คำตอบคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะบอกว่าเราต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าเหตุปัจจัยใดที่ทำให้อาชญากรคนหนึ่งก่ออาชญากรรมขึ้น
อาชญาวิทยานั้นเป็นสหวิทยาการ กล่าวคือ มีการใช้หลายศาสตร์เข้ามาเพื่อการวิเคราะห์ศึกษา ซึ่งอาจจะเป็นการศึกษาโดยใช้หลักจิตวิทยา หลักมนุษย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือแขนงอื่นๆก็ได้
คุณขุนเขา พันธุเสน นักจิตวิทยาและนักเขียน ได้ให้ความรู้ว่า อาชกรมักมีปัจจัยสามอย่างเป็นส่วนประกอบ
1. ปัจจัยด้านพันธุกรรม มนุษย์เรามียีนตัวหนึ่งซึ่งเรียกว่า ‘ยีนนักรบ’ ซึ่งยีนตัวนี้จะทำให้เป็นคนชอบความรุนแรง หรือมีลักษณะเป็นคนกล้า พวกเราหนึ่งในร้อยคนจะมียีนนี้อยู่ในตัว แต่แค่ผู้ที่มียีนตัวนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาจะกลายเป็นอาชญากรเสมอไป หากยังไม่ได้ประกอบด้วยอีกสองปัจจัยที่เหลือ
2. จากการศึกษาพบว่า อาชญากรจะมีสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการยับยั้งชั่งใจเล็กกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการกระทบกระแทก อุบัติเหตุ หรือได้รับสารบางอย่างเข้าไปในวัยเด็กที่ทำให้สมองเติบโตไม่สมบูรณ์ เช่น พ่อแม่เป็นคนสูบบุหรี่ทำให้รับสารพิษมา หรือแม่ดื่มสุราขณะที่อุ้มท้อง ปัจจัยเหล่านี้สามารถกระทบต่อพัฒนาการทางสมองในวัยเยาว์ได้ทั้งสิ้น และยังพบอีกว่าสมองส่วนที่เรียกว่าอมิกดาลาซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์นั้นจะมีการสื่อสารกันกับสมองส่วนหน้าได้ไม่ดีนัก เป็นผลให้เมื่อเกิดอารมณ์ต่างๆขึ้นจะไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้
อย่างไรก็ตามแม้จะประกอบด้วยสองปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ยังไม่ได้หมายความว่าเขาจะกลายเป็นอาชญากรเสมอไปจนกว่าจะมีปัจจัยที่สามเข้ามาร่วมด้วย
3. ปัจจัยที่สามคือ ‘ความเจ็บปวดในวัยเด็ก’ พบว่าอาชญากร99เปอร์เซ็น มีวัยเด็กที่เจ็บปวด เช่น ในตอนเด็กอาจถูกกระทำชำเราหรือได้รับความรุนแรงจากบุคคลใกล้ตัว ทำให้เด็กเก็บความรู้สึกเจ็บปวดนั้นไว้ในภายในจิตใต้สำนึก และเมื่อมาประกอบกับอีกสองปัจจัยแรกที่กล่าวมาแล้วนั้นจึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาชญากรคนหนึ่งขึ้นมานั่นเอง
เมื่อเรามองเห็นสาเหตุที่คนๆหนึ่งจะกลายเป็นอาชญากรได้อย่างไรแล้ว เราก็จะรู้วิธีที่จะระงับยับยั้งปัจจัยดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาโดยตรงที่ต้นเหตุ แต่กระนั้นหน้าที่ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่หน้าที่ขององค์กรหรือคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ที่เราทุกคนในสังคมต้องตระหนักรู้ และร่วมมือกัน
อาชญาวิทยายังมีอีกหลายแง่มุมและทฤษฎีมากมายให้วิเคราะห์ศึกษาเพื่อช่วยให้เราสามารถมองเห็นปัจจัยต่างๆใด้ละเอียดมากยิ่งขึ้น และสามารถวางแนวทางป้องกันแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต
หากว่าชอบฝากกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ผมด้วยครับ
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน
สวัสดีครับ
ภาพโดย Niek Verlaan จาก Pixabay
Reference:
โฆษณา