19 ม.ค. 2020 เวลา 11:28 • ศิลปะ & ออกแบบ
หัวลำโพงในความทรงจำ
การรถไฟแห่งประเทศไทย แถลงข้อมูล ถึงข่าวสารที่หนาหูว่า ในปี 2564 สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ เราคุ้นเคยในชื่อ หัวลำโพง จะปิดตัวลง ข้อเท็จจริง คือในปี 2564 ยังคงมีการเดินรถอยู่ เพียงแต่อาจน้อยลง และถูกผ่องถ่าย ไปที่สถานีบางชื่อแทน ที่สถานีบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางของ ระบบรางทั้งหมด
หัวลำโพง ที่พึ่งคนยาก
คนบ้านนอก เข้ากรุงเทพฯ อยากผม นั้นมีความผูกพันธ์กับ สถานีหัวลำโพงเป็นพิเศษ ด้วยสาเหตุที่ต้องเดินทางมาบางกอก บ่อย ทั้งในช่วงปิดภาคเรียนเมื่อครั้งเรียนมัธยมปลาย ก็ต้องเข้ามาทำงานช่วยเหลืองาน พี่ชาย พอได้ค่าขนม ดังนั้น ในทุก ๆ การปิดเทอม พวกเราจึงเดินทาง ด้วยรถไฟ เข้ากรุง
หัวลำโพงในความทรงจำ
ในช่วงปี 2541-2544 ที่มาเรียนหนังสือที่รามคำแหง ยิ่งได้เดินทางด้วยรถไฟค่อนข้างบ่อย รถไฟชั้น 3 นั่นล่ะประหยัดสุด การมา กรุงเทพฯ ทุกครั้ง ตู้รถไฟทุกขบวน ยัดเยียด กัน ชั้น 3 ผู้คนหนาแน่นทุกเที่ยวการเดินทาง หลายครั้ง ที่ต้องตีตั๊วยืนทั้งคืน จากหัวลำโพง กระทั่งถึง แถวบุรีรัมย์ สุรินทร์ นั่นล่ะ ถึงจะพอมีโอกาสได้นั่ง แม้จะลำบากเท่าใด แต่เรายังภักดีกับ รถไฟ เพราะรู้ว่า ปลอดภัย กว่า การเดินทางแบบอื่น ๆ
ขาลงมา สู่กรุงเทพ ผู้โดยสาร อย่างพวกเรา จะมีข้าวของพะรุงพะรัง เป็นพิเศษ เพราะไหนจะของฝาก จากบ้านอก ที่พ่อแม่ตระเตรียมการ ของฝากไว้ จนเต็มกระเป๋า ยังไม่พอ ต้องมีถุงข้าวสารอย่างน้อยครึ่งถุง ประมาณ 30-50 กิโลกรัม แบกขึ้นรถไฟด้วย เป็นแบบนี้ทุกเที่ยวทุกรอบ เพราะเป็นวิถีการลดต้นทุนในการใช้ชีวิตที่ กรุงเทพฯ
เดินทางสะดวก ปลอดภัย ประหยัด
ในยุคหลังมานี้ เองที่ เราร้างห่างการเดินทาง ด้วยรถไฟ เพราะ ความสะดวกในการเดินทางมีมากขึ้น มีทางเลือกมากขึ้น ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถยนต์โดยสาร หรือแม้กระทั่งเครื่องบิน ที่มีโอกาสเข้าถึงมากขึ้น
ข่าวคราวที่ จะลดการใช้งาน หัวลำโพงลง และเตรียมการ ที่จะพัฒนาไปสู่ การเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ ให้ความรู้ประวัติศาสตร์การเดินรถไฟ อาจทำให้เรา คิดถึงอดีต คิดถึงหัวลำโพง คิดถึงวิถีการสัญจรของคนยาก คนรายได้น้อย และวิถีต่าง ๆ ในสถานีหัวลำโพง ที่มีตำนาน มีเรื่องราว มีเรื่อวเล่า ไม่รู้จบสิ้น
ครั้งล่าสุด โดยสารรถไฟ
โฆษณา