23 ม.ค. 2020 เวลา 12:09 • ธุรกิจ
ศึกชิงเจ้ายุทธจักร ส่งพัสดุ Last-mile Delivery
ปี ค.ศ. 1956 โลกได้รู้จักการขนส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเน่อร์เป็นครั้งแรก ซึ่งนวัตกรรมครั้งนั้น ทำให้เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization) การค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศเป็นไปได้ ด้วยต้นทุนขนส่งที่ถูกลงอย่างมหาศาล
3
การขนส่งด้วยปริมาณมากๆ ดังกล่าว เรียกได้ว่าการขนส่งแบบ B2B ก็คือ การขนส่งระหว่างธุรกิจ
1
แต่ด้วยการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ส ก็ทำให้เกิดการแข่งขันของธุรกิจขนส่งในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ การขนส่งพัสดุ ไมล์สุดท้าย หรือ “Last-mile delivery” ซึ่งเป็นการขนส่งจากร้านค้าส่ง ไปถึง ผู้บริโภค หรือลูกค้าที่อยู่ปลายทาง
2
Last-mile delivery ดูเหมือนเป็นการขนส่งขั้นตอนสุดท้าย ในระยะทางสั้นๆ แต่เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ว่า การขนส่งดังกล่าว เป็นขั้นตอนที่แพงที่สุด ในกระบวนการขนส่งทั้งหมด โดยทาง Business Insider ให้ข้อมูลในปี 2018 ว่า ต้นทุน Last-mile delivery คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 53% ของต้นทุนขนส่งทั้งหมด
1
เดิมที่ผู้ให้บริการขนส่งพัสุด Last-mile delivery ก็คือ ระบบไปรษณีย์แต่ละประเทศนั่นเอง แต่ด้วยความที่ตลาดเติบโตมาก และผู้ให้บริการไปรษณีย์ แบบดั้งเดิม ก็อาจเชื่องช้า และบริการไม่ทันใจบ้าง ทำให้เกิดผู้เล่นหน้าใหม่ขึ้นมา
ด้วยความสำคัญของ Last-mile delivery ทำให้ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ส อย่าง Amazon ของประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้การขนส่งพัสดุ มาเป็นจุดขาย
Amazon ได้ริเริ่มการให้บริการส่งสินค้า แบบ “Amazon Prime” โดยผู้ที่สมัครเข้าโปรแกรม ก็จะได้สิทธิ์ฟรีค่าขนส่งตามเงื่อนไขต่างๆ ตัวอย่างเช่น ฟรีค่าขนส่งสำหรับบริการส่งของภายใน 1 วัน หรือฟรีค่าขนส่งสำหรับการส่งสินค้าภายใน 2 ชม. ซึ่งก็สร้างความสะดวกสบายให้ผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง
Amazon prime air ใช้ Drone ส่งสินค้า Cr. ABC News
สำหรับในประเทศไทย ก็ต้องบอกว่า เนื้อหอมมากๆ คือ มีผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ Last-mile delivery มารุมเปิดให้บริการในไทย มากกว่า 14 เจ้า! ในขณะที่ประเทศไทยที่มีประชากรเพียงแค่ 69 ล้านคน!!
1
ทาง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่ามูลค่าตลาด Last-mile delivery ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 11.0 ต่อปี หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 36,000 – 37,000 ล้านบาท ในปี 2563
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการแต่ละเจ้า ก็ต่อสู้กันเพื่อสร้างจุดขายอย่างเต็มที่ ทั้งราคา สีสันโลโก้ และการให้บริการ โดยมีผู้ให้บริการดั้งเดิมเจ้าตลาดก็คือ ไปรษณีย์ไทย ที่เปิดบริการที่อยู่คู่คนไทย มาอย่างช้านาน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
ไปรษณีย์ไทย ร.5 Cr. ประชาชาติธุรกิจ
โดยในปี พ.ศ. 2546 กิจการไปรษณีย์ไทย ได้แปรสภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เทียบเท่าภาคเอกชน โดยการแยกเป็น 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
ด้วยจุดแข็งของเครือข่าย ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ ที่มากกว่า 1,276 แห่ง จุดให้บริการ 7,000 – 8,000 จุด และบุรุษไปรษณีย์หลักหมื่นคน และความร่วมมือกับไปรษณีย์ต่างๆ ทั่วโลก ก็ยังทำให้ไปรษณีย์ไทย ก็ยังเป็นตัวเลือกหลัก ของพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายออนไลน์ ส่งของไปในประเทศและต่างประเทศ
1
อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่าการแข่งขันรุนแรงมากๆ โดย ส่วนแบ่งตลาดของไปรษณีย์ไทย ก็ลดลงต่อเนื่อง จากเกือบ 70% เหลือ 52-53% โดยมีคู่แข่งที่สำคัญก็คือ เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่ฮ่องกง
1
 โรเบิร์ต ก๊วก (กั๊วะ) มหาเศรษฐีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน เจ้าของ Kerry ตัวจริง
หากเราลองไปไล่ดู บริษัทที่ให้บริการด้านนี้ 10 ลำดับแรก ไล่เรียงจากรายได้มากไปหาน้อย ก็จะมีรายชื่อดังนี้
1
1. ไปรษณีย์ไทย / สัญชาติไทย / รายได้ = 29,300 ล้านบาท (ปี 2561)
2. Kerry Express / ฮ่องกง / รายได้ = 13,670 ล้านบาท
3. DHL Express / เยอรมัน / รายได้ = 7,950 ล้านบาท
4. CJ Logistic / เกาหลีใต้ / รายได้ = 1,230 ล้านบาท
5. Lalamove / ฮ่องกง / รายได้ = 1,060 ล้านบาท
6. Nim Express / ไทย / รายได้ = 997 ล้านบาท
7. Inter Express / ไทย / รายได้ = 829 ล้านบาท
8. J&T Express / ฮ่องกง / รายได้ = 316 ล้านบาท
9. Best Inc. / จีน / รายได้ = 281 ล้านบาท
10. Flash Express / ไทย&จีน / รายได้ = 149 ล้านบาท
Cr. pawoot.com
ซึ่งแน่นอนว่า เงินทุนที่ไหลเข้ามาในไทย คงไม่ได้มองเค้ก ตลาดประเทศไทยอย่างเดียว แต่คงมองไปที่ระดับ CLMVT หรืออินโดจีน ด้วย โดยแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์สชั้นนำ อย่าง Lazada และ Shopee ก็มีการขยายกิจการไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ผู้ให้บริการ Last-mile delivery เหล่านี้ สามารถขยายกิจการไปทั่วภูมิภาค ยกระดับการให้บริการจัดส่งสินค้าไปสู่ตลาด Cross-border E-Commerce ได้
1
การแข่งขันด้านการให้บริการขนส่ง ก็เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยตรง แต่ก็ต้องคอยดูว่าการแข่งขันนั้น จะคงอยู่นานแค่ไหน คงมีหลายรายที่ต้องล้มหายตายจากไปในอนาคต
และบางทีเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ส อาจกินรวบขนส่งมาทำเอง จนทำสำเร็จเหมือน Amazon ก็เป็นได้ เหมือนที่ Lazada กำลังพยายามทำอยู่ในปัจจุบัน…
Cr. AIPA
คือในอนาคต เจ้าใหญ่ๆ อาจเหลือแค่ Lazada Express (ทำเองแล้ว) กับ Shopee Express (ถ้าคิดจะทำเอง) ก็เป็นได้
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กดติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
และ เชิญเข้าร่วมกลุ่มผู้นำเข้าส่งออก ได้ที่ http://bit.ly/2OYDbxL

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา