23 ม.ค. 2020 เวลา 20:05 • ประวัติศาสตร์
บทความนี้นำมาอ่าน สำหรับปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้ความรู้ดี ท่านใดจะดูภาพประกอบด้วยกดเข้าไปดูใน link ที่ให้ไว้ได้เลยครับ
ศรีเมืองใหม่ แดนธรรมประเสริฐ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่มั่น
1
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
ชาติหนึ่งเกิดที่ลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) และบวชเป็นพระ ได้เข้าร่วมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 ซึ่งมีพระเป็นหมื่น พักเสนาสนะร่วมกัน สององค์บ้าง สามองค์บ้าง ท่านว่าได้อยู่เสนาสนะเดียวกับท่านวิริยังค์ (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร) เป็นเพื่อนกันมาจนบัดนี้ ท่านฯ ว่า
ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ
เมืองสมาธิ
หน้าแรก เ มื อ ง ส ม า ธิ
ความเป็นมา
สถานที่ปฏิบัติสมาธิภาวนา
ติดต่อเรา
ธรรมมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า
Sitemap
แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น
มุตโตทัย ๑
หัวข้อธรรม ๑ ถึง ๖
หัวข้อธรรม ๗ ถึง ๙
หัวข้อธรรม ๑๐ ถึง ๑๕
หัวข้อธรรม ๑๖ ถึง ๑๗
มุตโตทัย๒
โอวาทธรรมพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร
รวมคำสอน “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต”
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) คิริมานนทสูตร
กายนคร : พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
นิโรธสัญญา
หลวงปู่ชา สุภัทโท
ทิพย์อำนาจ
หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
หลวงปู่จันทา ถาวโร
กัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ
เทศนาของหลวงปู่มั่น
หลวงปู่ขาว อนาลโย
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
หลวงปู่หล้า เขมฺปตฺโต
หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
ประชาสัมพันธ์
Calendar
Photos
Forms and Docs
โรงแรม ที่พัก ศรีเมืองใหม่
โรงแรมเมืองใหม่รีสอร์ท
บทสวดมนต์
ก่อนที่จะสวดมนต์ ต้องรู้เคล็ด
การสวดมนต์ แล้วชีวิตดี
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
กัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น
เรื่องเล่าจากพระป่า
โดย กัณหาชาลี (วารสารกระแสใจ)
กัมมัฏฐานหลวงปู่มั่น
การฝึกสมาธิในระยะนั้นพระหนุ่มตั้งใจปฏิบัติอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่มีความรู้สึกนึกคิดอื่นใดมารบกวนจิตใจเลย ร่างกายก็แข็งแรง มีสติตั้งมั่นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ อาการ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด กระพริบตา อ้าปาก มองซ้าย มอง ขวา ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด องค์ภาวนาก็เห็นชัดเจน กำหนด พุท โธ ลมเข้าออกชัดเจนมาก อานาปานสติชัดเจนมาก เห็นต้น ของลม เห็นกลางของลม เห็นปลายของลมชัดเจนอยู่ตลอดเวลา ประคองอารมณ์อยู่ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ สมาธิตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิเลยไม่ต้องนึก ไม่ต้องคิด อาการของลมดำเนินไป อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ร่างกายตั้งตัวตรงอย่างแน่วแน่ เหมือน ว่าสิ่งทิ่เราเห็นนั้นมีอยู่ตลอดเวลา
มอบตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น
เมื่อมีสมาธิตั้งมั่น กำหนดสติอย่างต่อเนื่อง จนเห็นเป็นนิมิตเกิดขึ้นอย่างทันที และก็มีภาพนิมิตของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ยืนอยู่ด้านหน้า ท่านมาสอนกรรมฐานอีกครั้ง สำหรับพระหนุ่ม แล้วไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีพระมหาเถระชื่อมั่น เพราะครั้งที่ เป็นฆราวาสก็ไม่เคยรู้มาก่อนเช่นกัน แต่พอเห็นนิมิตเกิดเป็นภาพพระมหาเถระเกิดต่อหน้า มายืนปรากฏต่อหน้าอย่างไม่คาดคิด ขณะนั้นจิตก็เกิดความสงสัย จึงถามขึ้นว่าท่านเป็นใคร มาจากไหน ท่านก็ตอบว่าท่านชื่อหลวงปู่มั่น ภริทตฺโต แห่งวัดป่า สุทธาวาส จังหวัดสกลนคร จิตก็ถามท่านว่า "ท่านสอนกรรมฐาน ได้ไหม ถ้าท่านสอนได้ช่วยกรุณาสอนให้ผมด้วยขอรับ" "ผมขอ ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านหลวงปู่ หลวงปู่รับผมเป็นลูกศิษย์ได้ไหม ขอรับ" หลวงปู่มั่นตอบรับเป็นลูกศิษย์และได้สอนวิธีปฏิบัติทันที ท่านก็สอนวิธีครองผ้าแบบลูกบวก ขณะที่พระหนุ่มนั่งครองผ้า (ห่มผ้า) แบบรัดอก (ห่มดอง) หลวงปู่มั่นสอนการกราบ เบญจางคประดิษฐ์แล้วให้กล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัยก่อน พระหนุ่มก็ปฏิบัติตามหลวงปู่มั่นสอนแล้วก็มอบตัวเป็นศิษย์ ของท่าน
หลวงปู่มั่นสอนกำหนดจิต
หลวงปู่เริ่มสอนกรรมฐานการกำหนดจิตที่ตั้งมั่นได้เร็วทำอย่างไร ท่านก็ให้กำหนดดูลมหายใจก่อนในเบื้องต้นที่ปลายจมูกและสมาธิเบื้องต้น พอรู้ลมที่กระทบที่ปลายจมูกจิตสงบ เพียงเล็กน้อย ท่านเรียกว่านี่คือขณิกสมาธิ แล้วเลื่อนจิตตามดูลมเข้าลมออกว่าลมไปถึงไหน ให้มีสติรู้ตลอดลมเข้าออกว่าต้นลมเริ่มที่จุดไหน กลางลมอยู่ที่จุดไหนและปลายลมอยู่ที่จุดไหน เมื่อเห็นลมละเอียดแล้วท่านเรียกว่าอุปจารสมาธิ
เมื่อจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ใดๆ ร่างกายก็ตั้งตรงมั่นคงสง่างาม จิตตื่นตัวรู้อารมณ์เบาสบาย กายหายไปทั้งหมดมีแต่เห็นท่อลมเข้าออกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน นั่งภาวนาอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอาการเวทนามารบกวน เรียกว่าอัปปนาสมาธิ นั่งได้เป็นคืน ให้จิตอยู่ที่ตัวเราเสมอ ไม่ส่งจิตออกนอกตัว จิตก็เปล่งรัศมีเอง จนสามารถมองเห็นทุกอย่างที่ต้องการ นี่คือผลพลอยได้จากการฝึกสมาธิ
แต่อย่างไรก็ตาม พระหนุ่มคิดว่าท่านได้อำนาจของสมาธิ แต่ยังไม่ถึงจุดที่ท่านต้องการและจุดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการ ทำให้ท่านตั้งใจฝึกทำไปเรื่อยๆ วิธีกำหนดจิต ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ห้ามนึกหรือคิดเรื่องใดๆให้มาวุ่นวาย ตัด ความอยากทุกอย่างออกไปอย่าให้มารบกวนจิต เพราะจะทำให้ จิตไปยึดติดกับอารมณ์ที่เป็น การทำกรรมฐานต้องมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดทุกเมื่อ จึงจะเรียกว่าทำกรรมฐานที่ถูกและได้ผล (ปฏิเวท) คือผลจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน
หลวงปู่มั่นสอนกำหนดยืน
หลังจากนั้นหลวงปู่ก็สอนกำหนดยืนให้น้อมจิตดูการยืนของตัวเราก่อน แล้วให้นึกลงไปในกายสังขารที่เป็นรูปร่างกายภายนอก ร่างกายภายในให้ละเอียดชัดเจน อย่าให้จิตออกไปที่อื่นให้ รู้ว่ายืนอยู่ พร้อมกำหนดภาวนาว่ายืนอยู่ๆ กำหนดไปเรื่อยๆ จนจิตเป็นสมาธิ ไม่มีเรายืน เป็นแต่เพียงรูปกายยืน เห็นเป็นเพียงธาตุยืนเท่านั้น นี่คือวิธีการยืนสมาธิที่ถูกต้อง
หลวงปู่มั่นสอนเดินจงกรม
หลวงปู่มั่น สอนเดินจงกรมให้พระหนุ่ม ท่านก็ได้แต่ทำตามที่หลวงปู่สอนในนิมิต หลวงปู่มั่น สอนว่าการเดินจงกรมจะช้าหรือเร็วก็อยู่ที่อารมณ์สมาธิ เมื่อเวลาเดินให้ภาวนาว่า พุทโธ โดยให้ก้าวเท้าขวาออกไปก่อน พอยกเท้าขึ้นให้ภาวนาว่า พุท พอเหยียบเท้าลงให้ภาวนาว่าโธ ขวาพุท ซ้ายโธ พอหยุดก็กำหนด ว่าหยุดอยู่ หยุดอยู่ กลับอยู่ กลับอยู่ หรือกลับเลยก็ได้ ไม่ต้องบริกรรมคำภาวนาว่ากลับ ในขั้นต้นก็ทำอย่างนี้ พอเดินขั้นที่สองและขั้นต่อไป พระหนุ่มก็ทำตามที่หลวงปู่มั่นสอนในนิมิต ซึ่ง พระหนุ่มก็ได้รับกรรมฐานจากหลวงปู่มั่นในนิมิตเท่านั้น และก็ทำ ตามที่หลวงปู่สอนแล้วก็ได้ผล คือทำให้จิตสงบง่ายขึ้น หากจะถาม ว่าทำไมหลวงปู่จึงมาสอนท่านในนิมิต พระหนุ่มก็นึกย้อนไปในวันนั้นก่อนที่ท่านจะนั่งสมาธิ ท่านคิดขึ้นมาเองว่า ต้องอาศัยบุญของครูบาอาจารย์ที่เก่งๆ มาช่วยสอนในทางพลังจิต ก็จะทำให้เรามี สมาธิดีและทำได้เร็ว
พระหนุ่มเคยตั้งจิตอธิษฐานว่า "ถ้ามีบุญจะได้บวชอยู่ในพระพุทธศาสนา ขอให้ครูบาอาจารย์ที่เก่งในการทำสมาธิมาสอนในนิมิตให้ด้วยเถิด" คงจะเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่หลวงปู่เมตตามาสอน หรือเป็นแค่นิมิตธรรมดา และท่านก็บอกว่าห้ามติดในนิมิต ห้ามติดในสุข ถ้าชอบปฏิบัติธรรมเพื่อไปสู่แดนพุทธภูมิและได้ไปเห็นพระพุทธเจ้าด้วย พระหนุ่มอยากเห็นพระพุทธเจ้า ท่านก็เลยอธิษฐานจิตในนิมิตนั้นว่า "ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปถึงแดนพระพุทธภูมิด้วยเถิด" แล้วก็ออกจากกรรมฐาน
ท่านสามารถจดจำวิธี การสอนของหลวงปู่มั่นได้ทุกอย่าง บัดนี้ความลังเลสงสัยในตัวหลวงปู่มั่นได้มลายหายไปหมดสิ้นแล้ว คำถามที่ว่าหลวงปู่มั่นเป็นใคร มีตัวตนหรือไม่ ท่านก็ได้คำตอบแล้ว คงมีแต่ความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม และความเพียรที่ยังคงอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในใจ ของพระหนุ่ม เพื่อวันนั้นในภายหน้าที่จะได้บรรลุธรรมและได้ไปพบเห็นพระพุทธเจ้า ในแดนพุทธภูมิต่อไป
การฝึกสมาธิเบื้องต้นตามแบบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
หลวงปู่คำปัน สุภทฺโท ได้บันทึกวิธีฝึกสมาธิเบื้องต้นตามแบบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทฺตเถร ผู้เป็นอาจารย์ของท่าน ดังนี้คือ
ท่านสาธุสัปปุรุษพุทธบริษัทผู้ใคร่ในธรรมทั้งหลาย ในโอกาสบัดนี้จะได้อรรถาธิบายข้อปฏิบัติในทางสมาธิภาวนาตามแนวทางของอริย
เจ้านั้นว่าทำกันอย่างไร ก่อนที่จะทำกิจเบื้องต้นนั้นคือ ให้นั่งคุกเข่าประนมมือด้วยความตั้งใจนอบน้อมถึพระรัตนตรัย แล้วเปล่งวาจาว่าด้งนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบลงหนหนึ่ง คือไหว้พระพุทธเจ้า)
สฺวากขาโต ภะคะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมานิ (กราบหนหนึ่ง คือไหว้พระธรรม)
สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบหนหนึ่ง คือไหว้พระสงฆ์)
ลำดับต่อไปนี้ ให้ตั้งใจปฏิบัติบูชาด้วย กาย วาจา ใจ กล่าวคำนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ หน) แล้วกล่าวคำปฏิญาณตนต่อพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งที่ระลึกของ
ตน ที่เรียกว่า พระไตรสรณคมน์ ตามบาลีว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ต่อไปนี้อธิษฐานถึงพระไตรสรณคมน์ให้มั่นก่อนว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า องค์อรหันต์ผู้ละกิเลสขาดจากสันดาน กับพระธรรมเจ้า
กล่าวคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็นปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม กับพระสังฆเจ้า คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
พระอรหันต์ ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกนับถือของข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าชีวิตของข้าพเจ้านี้แล
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานนัง สะระนัง คัจฉามิ
ต่อจากนั้นให้ตั้งใจเจตนาวิรัติ ละเว้นในส่วนองค์ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ๒๒๗ ตามภูมิของตนที่ตนจะรักษาได้ แล้วว่าคำสมาทาน
รวมในที่แห่งเดียวกันว่า
๑. อินามิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (ว่า ๓ หน) นี้สำหรับศีล ๕ แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๕ คือ
ปาณาฯ ไม่ฆ่าสัตว์ อะทินนาฯ ไม่ลักทรัพย์ กาเมฯ ไม่ประพฤติผิดในกาย มุสาฯ ไม่กล่าวคำเท็จ สุราฯ ไม่ดื่มเมรัย (เป็น ๕ ข้อ เรียกว่า ศีล ๕)
๒. อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (ว่า ๓ หน) นี้สำหรับศีล ๘ แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งสิกขาบททั้งหลาย ๘ ประการ
คือ ปาณาฯ ไม่ฆ่าสัตว์ อะทินนาฯ ไม่ลักทรัพย์ อะพรัหมะจิริยาฯ ไม่ประพฤติร่วมกามคุณ มุสาฯ ไม่พูดคำเท็จ สุราฯ ไม่ดื่มเมรัย วิกาละโภฯ
ไม่กินอาหารในเวลาบ่ายแล้ว นัจจะคีตะ-มาลาฯ ไม่ดูการเล่นและประดับตากแต่งร่างกายเพื่อความสวยงามต่างๆ อุจจาฯ ไม่นั่งนอนบนเตียง
ที่สูงเกินประมาณ ฟูกเบาะที่ยัดด้วยนุ่นและสำลี (เป็น ๘ ข้อ เรียกว่า ศีล ๘)
๓. อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (ว่า ๓ หน) นี้สำหรับศีล ๑๐ คือ ปาณาฯ อทินนาฯ อะพรัหมะฯ มุสาฯ สุราฯ วิกาละโภฯ นัจจะ
คีตะฯ มาลาฯ อุจจาฯ ชาตะรูปะฯ (เป็น ๑๐ ข้อ เรียกว่าศีล ๑๐)
๔. ศีล ๒๒๗ ให้อธิษฐานว่าดังนี้
ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต ปะริสุทโธติ มัง พุทโธ ธาเรตุ
ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต ปะริสุทโธติ มัง ธัมโม ธาเรตุ
ปะริสุทโธ อะหัง ภันเต ปะริสุทโธติ มัง สังโฆ ธาเรตุ
เมื่อทำความบริสุทธิ์ของตนด้วยกาย วาจา ใจ ต่อคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และสังฆเจ้าแล้ว กราบ ๓ หนแล้ว จึงค่อยนั่งราบลง
ประนมมือไหว้ ทำใจให้เที่ยงตรง ชื่นบานแล้วเจริญพรหมวิหาร ๔ ถ้าแผ่ไปไม่เจาะจงเรียกว่า อัปปมัญพรหมวิหาร ว่าโดยย่อๆ ให้สะดวกแก่
ผู้ฝึกใหม่ ดังนี้
เมตตา คือ จิตเมตตารักใคร่ ปรารถนาให้ตนและสัตว์ทั้งหลายเป็นสุขทั่วหน้ากัน
กรุณา คือ จิตคิดกรุณา เอ็นดู สงสารตนและคนอื่น
มุทิตา คือ จิตอ่อนน้อม พลอยยินดี ในกุศลของตนและคนอื่น
อุเบกขา คือ จิตคิดวางเฉย ในสิ่งที่ควรปล่อยวาง
ต่อไปนี้ให้นั่งขัดสมาธิ เอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น อย่าให้จิตฟั่นเฟือน จงปล่อยวาง
อารมณ์ที่ติดในจิต เมื่อสำรวมจิตมีสติควบคุมแล้ว ให้ประนมมือ ให้ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า นึกในใจว่า
พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
ธัมโม เม นาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
สังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า แล้ว
ซ้ำอีกว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วปล่อยมือวางไว้ที่บนตัก มือขวาทับมือซ้าย แล้วกำหนดจิตบริกรรมภาวนาว่า “พุทโธ” ๓ หน
ต่อจากนี้ให้นึกถึงลมหายใจเข้าออก คือให้นับเข้า-ออก คือให้นับลมเป็นคู่ๆ ดังนี้ “พุท” ลมเข้า “โธ” ลมออก อย่างนี้ไปจนถึง ๑๐ ครั้ง
แล้ว ให้ตั้งต้นใหม่อีกดังนี้ คือลมหายใจเข้าพุทโธหนหนึ่ง ลมออกพุทโธหนหนึ่ง ภาวนาอย่างนี้ไปจนถึง ๗ หน แล้วให้ตั้งต้นใหม่อีก ดังนี้
คือ ลมเข้า-ลมออก ให้ภาวนาพุทโธหนหนึ่ง ทำอย่างนี้ไปจนครบ ๕ หน แล้วให้ตั้งต้นใหม่อีกดังนี้ คือ ลมเข้า-ลมออกหนหนึ่ง ให้ภาวนาพุ
ทโธ ๓ คำ ทำอย่างนี้ไปจนครบ ๓ วาระของลมเข้า-ลมออก ต่อจากนั้นให้บริกรรมแต่พุทโธคำเดียว ไม่ต้องนับลมอีก ปล่อยลมเข้าออกตาม
สบาย ทำจิตให้นิ่งๆ ไว้ตรงที่ลมหายใจเข้า-ออกที่มีในช่องจมูก เมื่อลมออกอย่าส่งจิตออกมาตามลม เมื่อลมเข้าก็อย่าส่งจิตเข้าตามลม
ทำความรู้สึกอย่างกว้างขวางเบิกบาน แต่อย่าสะกดจิตให้มากเกินไป ทำใจให้สบายๆ เหมือนเราหายใจออกไปในอากาศโปร่งฉะนั้น ทำจิต
ให้นิ่งอยู่เหมือนเสาที่ปักไว้ในริมทะเล แม้น้ำทะเลขึ้นเสาก็ไม่ขึ้นตาม น้ำทะเลลงเสาก็ไม่ลงตาม
เมื่อทำจิตนิ่งสงบได้ขั้นนี้แล้ว ให้หยุดคำภาวนาพุทโธนั้นเสีย ให้กำหนดความรู้สึกไว้เฉพาะลมหายใจ แล้วค่อยขยับจิตเลื่อนเข้าไป
ตามกองลม คือ กองลมที่สำคัญตรงที่จะทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ เช่น ทิพจักขุ ตาทิพย์ ทิพโสต หูทิพย์ เจโตปริยญาณ รู้จักความเกิดตาย
ของสัตว์ทั้งหลาย นานาธาตุวิชา วิชาความรู้เรื่องธาตุต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับอัตภาพร่างกายนี้อันเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ธาตุเหล่านี้ย่อม
เกิดขึ้นจากฐานของลมหายใจฐานที่ ๑ คือตั้งจิตไว้ที่จมูก แล้วค่อยเลื่อนขึ้นไปกลางหน้าผากอันเป็นฐานที่ ๒ คือทำความรู้สึกอย่างกว้าง
ขวาง ทำจิตให้นิ่งไว้ที่หน้าผากแล้วย้อนกลับมาที่จมูก ให้ย้ายจิตเพ่งขึ้น-เพ่งลงระหว่างจมูก หน้าผาก ราวกับคนขึ้นภูเขาฉะนั้น ทำให้ได้สัก
๗ เที่ยว แล้วนิ่งไว้ที่หน้าผาก อย่าให้จิตลงมาที่จมูกอีก ต่อนั้นให้เลื่อนเข้าไปสู่ฐานที่ ๓ คือกลางกระหม่อมข้างนอก แล้วหยุดอยู่กลาง
กระหม่อม ทำความรู้สึกอย่างกว้างขวาง สูดลมในอากาศเข้าไปในศีรษะ กระจายลมครู่หนึ่งจึงกลับลงมาที่หน้าผาก กลับไปกลับมาระหว่าง
กลางกระหม่อมกับหน้าผากอยู่เช่นนี้สัก ๓ เที่ยว แล้วก็นิ่งอยู่กลางกระหม่อม แล้วจึงเคลื่อนย้ายไปสู่ฐาน ๔ อีก คือลงในสมอง (อ่องออ)
ตรงกลางกะโหลกศีรษะ ให้นิ่งอยู่สักครู่ แล้วจึงเลื่อนจิตให้ออกไปที่กลางกระหม่อมข้างนอก กลับไปกลับมา ติดต่อกันในระหว่างกลาง
สมองกับกลางกระหม่อมข้างนอก แล้วก็เอาจิตนิ่งทีสมอง ทำความรู้สึกให้กว้างขวาง กระจายลมอันละเอียดจากสมองให้ลงไปเบื้องต่ำ
เมื่อทำจิตถึงตอนนี้แล้ว บางทีจะเกิดนิมิตของลมขึ้น เป็นต้นว่ารู้สึกขึ้นในศีรษะ แลเห็นหรือรู้สึกเสียวๆ ให้เย็นๆ ร้อนๆ ให้เป็นเมฆไอ
สลัวๆ ขึ้น บางทีก็มองเห็นกะโหลกศีรษะของตัวเอง ถึงอย่างนั้นก็อย่าให้มีความหวั่นไหวไปตามนิมิตที่ปรากฏนั้น ถ้าเราปรารถนาที่จะไม่ให้
เป็นเช่นนั้น ก็ให้สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ถึงหัวอก นิมิตเหล่านั้นก็หายไปทันที เมื่อเห็นนิมิตอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งสติรู้อยู่ที่นิมิต
แต่ให้เอานิมิตเดียว สุดแท้แต่นิมิตอันเป็นที่สบาย เมื่อจับนิมิตได้แล้ว ให้ขยายนิมิตนั้นออกไปให้โตเท่าศีรษะ นิมิตที่ขาวสว่างนั้นมี
ประโยชน์แก่ร่างกายแก่ใจ คือเป็นลมที่บริสุทธิ์สะอาด นี้ย่อมเป็นเครื่องฟอกโลหิตในร่างกายของท่านได้เป็นอย่างดีสามารถจะบรรเทากำจัด
ทุกขเวทนาในร่างกายได้ เมื่อทำได้เท่าศีรษะของตนแล้ว ให้เลื่อนลงไปตั้งในฐานที่ ๕ คือทรวงอก แล้วให้นึกเอานิมิตแห่งลมไปตั้งไว้
ขยายออกให้เต็มทรวงอก ทำลมอันนั้นให้ขาว ให้สว่าง กระจายลม กระจายแสงสว่างไปทั่วทุกขุมขน จนกว่าจะมองเห็นส่วนต่างๆ ของ
ร่างกายปรากฏเป็นภาพขึ้นมาเอง ถ้าไม่ต้องการภาพนั้น ก็ให้สูดลมหายใจยาวๆ เสีย ๒-๓ ครั้ง ภาพนั้นก็จะหายไปทันที แล้วกระทำจิตใจให้
นิ่งอยู่โดยกว้างขวาง แม้จะมีนิมิตอันใดผ่านมาในรัศมีแห่งลม อย่าเพิ่งไปจับเอา อย่าทำจิตหวั่นไหวไปตามนิมิต
ประคองจิตไว้ให้ดี ทำจิตให้เป็นหนึ่ง พยายามตั้งจิตไว้ในดวงเดียวคือลมหายใจอันละเอียด และขยายลมอันละเอียดนั้นให้กว้างขวาง
ออกไปทั่วสรรพางค์กาย เมื่อทำจิตถึงตอนนี้จะค่อยเกิดวิชาความรู้ขึ้นตามลำดับ กายของเราจะเบาเหมือนปุยนุ่น ใจก็จะเอิบอิ่มนิ่มนวล วิเวก
สงัด ได้รับความสุขกายสบายจิตเป็นอย่างยิ่ง เมื่อต้องการความรู้แล้ว ให้ทำอย่างนี้จนกว่าจะชำนาญในการเข้า ในการออก ในการตั้งอยู่ เมื่อ
ทำได้อย่างนี้แล้ว นิมิตของลมคือแสงสว่างสีขาวๆ เป็นก้อนเป็นกลุ่มเหล่านั้น จำทำเมื่อไรก็เกิดได้ เมื่อต้องการวิชาความรู้ต่างๆ ก็ทำให้จิต
นิ่ง วางอารมณ์ทั้งหมดให้เหลืออยู่แต่ความสว่างอย่างเดียว เมื่อประสงค์สิ่งใดในวิชาความรู้ภายในและภายนอกของตนเองและผู้อื่น ก็ให้นึก
ขึ้นในใจครั้งหนึ่งหรือ ๒ ครั้ง ก็จะเกิดความรู้หรือนิมิตเป็นภาพปรากฏขึ้นทันที ที่เรียกว่า “มโนภาพ” ถ้าจะให้ดีและชำนาญในสิ่งเหล่านี้ ให้
ศึกษากับผู้ที่เคยปฏิบัติในทางนี้จะดีมาก เพราะวิชาตอนนี้เป็นวิชาที่เกิดจากสมาธิอย่างเดียวเท่านั้น วิชาในเรื่องสมาธินั้นมีอยู่ ๒ แผนก คือ
เป็นไปกับด้วยโลกีย์อย่างหนึ่ง เป็นไปกับด้วยโลกุตตระอย่างหนึ่ง วิชาโลกีย์คือติดความรู้ความเห็นตอนนี้ หนึ่ง ติดที่มีปรากฏให้เรารู้เห็น
ด้วยอำนาจแห่งวิชาก็ดี เป็นของจริงและไม่จริงเจือปนกันอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ของจริงในที่เป็นส่วนสังขารธรรมทั้งสิ้น ขึ้นชื่อว่าสังขารธรรม
แล้วย่อมไม่เที่ยง ไม่มั่นคงถาวร ฉะนั้น เมื่อต้องการโลกุตตระ
ต่อไปให้รวมสิ่งที่เรารู้เราเห็นทั้งหมดเข้ามาเป็นจุดอันเดียวกันคือเอกัคคตาอารมณ์ ให้เป็นสภาพอันเดียวกันทั้งหมด เอาวิชาความรู้
ทั้งหลายเหล่านั้นเข้ามารวมอยู่ในจุดเดียวอันนั้นจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา แล้วอย่าไป
ยึดถือในสิ่งที่รู้ที่เห็นมาเป็นของของตน ให้ปล่อยวางไปเสียตามสภาพ ถ้าไปยึดอารมณ์ก็เท่ากับยึดอารมณ์ก็เท่ากับยึดความรู้ของตน จะเกิด
เป็นเหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัย ฉะนั้น จิตที่นิ่งเป็นสมาธิแล้วเกิดวิชา วิชานั้นเป็นมรรค สิ่งที่เรารู้ต่างๆ ที่ผ่านไปผ่านมาเป็นทุกข์ จิตเราอย่าไป
ยึดเอาวิชา อย่าเข้าไปยึดเอาเป็นอารมณ์ที่มาแสดง ให้เรารู้ ปล่อยวางไปตามสภาพ ทำจิตให้สบายๆ ไม่ยึดจิต ไม่สมมุติจิตของตนเองว่า
เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ถ้ายังสมมติตนเองอยู่ตราบใด ก็เป็นอวิชชาอยู่ตราบนั้น เมื่อรู้ได้โดยอาการอย่างนี้ ก็จะกลายเป็นโลกุตตระขึ้นใน
ตนเอง จะเป็นกุศลอย่างประเสริฐสุดในฐานะที่เป็นมนุษย์พุทธบริษัทของพระพุทธเจ้า
#ที่มา บูรพาจารย์
วิธีนั่งสมาธิภาวนา (ตามแบบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ)
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ (2557 :19-23) แสดงพระธรรมเทศนาว่า
วิธีนั่งสมาธิภาวนาท่าน (พระอาจารย์มั่น) สอนว่า
พึงนั่งขัดสมาธิคือ นั่งขัดสมาธิ์ตามแบบพระพุทธรูปองค์แทนศาสดาเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางมือทั้งสองไว้บนตักหรือบนสมาธิ์ตั้งกายให้ตรงธรรมดา อย่าให้ก้มนักเงยนัก อย่าให้เอียงซ้ายเอียงขวาจนผิดธรรมดาไม่กดหรือเกร็งอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นการบังคับกายให้ลำบากปล่อยวางอวัยวะทุกส่วนไว้ตามปกติธรรมดา
การเริ่มต้นทางจิตภาวนาพึงตั้งความรู้สึกคือจิตลงเฉพาะหน้าที่เรียกว่า ปัจจุบันธรรมอันเป็นทางรู้ความเคลื่อนไหวของจิตของธรรมารมณ์ต่างๆดีชั่วได้ดีในเวลานั้นมากกว่าเวลาอื่นๆ คือตั้งจิตลงเฉพาะหน้า มีสติคือความระลึกรู้อยู่กับใจอันเป็นการเตือนตนให้รู้ว่าจะเริ่มทำงานในขณะนั้นกรุณาระวังไม่ให้จิตส่งออกไปสู่อารมณ์ต่างๆ ทั้งอดีต อนาคตทั้งดีและชั่วที่นอกจากงานบริกรรมภาวนาซึ่งกำลังทำอยู่ในเวลานั้น
พอเริ่มต้นทางจิตภาวนาแล้วไม่ควรเป็นกังวลกับทางกายตั้งหน้าทำงานทางจิตต่อไปจนถึงวาระสุดท้ายแห่งการออกจากที่สมาธิภาวนา...กรุณาทำความสนใจกับหน้าที่นั้นอย่างเดียวไม่พึงกลับมาทำความกังวลรักษาท่าสมาธิที่กำหนดไว้เดิม โดยเกรงท่านั่งนั้นจะเคลื่อนจากอาการเดิมเป็นการก้มเกินไปหรือเงยเกินไป เอียงซ้ายเกินไป เอียงขวาเกินไป ซึ่งเป็นการกังวลกับอาการทางกายมากกว่าทางจิตสมาธิภาวนาจะดำเนินไปไม่สะดวก
วิธีตั้งสติเฉพาะหน้าจิตเป็นผู้รู้โดยธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีความแยบคายใคร่ครวญในตัวเองเป็นเพียงรู้คิด รู้นึก รู้เย็น รู้ร้อน จากสิ่งสัมผัสต่างๆ เท่านั้นไม่มีความแยบคายใคร่ครวญ ไม่รู้การพินิจพิจารณาและตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิดลงไปได้คือ ไม่รู้จักผิดถูกชั่วดีโดยลำพังตนเองจึงต้องอาศัยสติและปัญญาตัวรู้ตัววินิจฉัยใคร่ครวญกำกับรักษาเพราะสติปัญญามีอำนาจเหนือจิตสามารถรู้เท่าทันจิตที่คิดไปในอารมณ์ต่างๆ ได้ดี ฉะนั้นพึงกำหนดเอาสติคือความระลึกรู้ชนิดหนึ่งที่มีอำนาจเหนือจิตนั้นมาไว้เฉพาะหน้า ทำหน้าที่กำหนดรู้และรักษาจิตไม่ให้ส่งไปที่อื่นจากอารมณ์ที่ภาวนาการมีสติรักษาจิตอยู่ทุกระยะนั้นสติสัมปชัญญะจะพึงเป็นสมบัติที่ควรได้รับในวาระนั้นหรือวาระต่อไปแน่นอน
การภาวนาด้วยบริกรรมบทใดบทหนึ่งนั้นพึงให้เป็นไปตามจริต ไม่ควรฝืน ธรรมบทใดเป็นที่สบายใจในเวลานั้นพึงนำธรรมบทนั้นมาบริกรรมภาวนาสืบต่อไปดังที่เคยอธิบายมาแล้ว
วิธีนึกคำบริกรรมภาวนาการนึกคำบริกรรมภาวนานั้น จะนึกกับธรรมบทใดบทหนึ่งตามนิสัยชอบดังกล่าวแล้วก็ได้เช่น พุทโธ ธัมโม สังโฆๆๆ 3 จบ แล้วกำหนดเอาเพียงบทเดียวติดต่อกันไปด้วยความมีสติแต่จะกำหนดธรรมบทใดก็ตาม นอกจากสามบทนี้ก่อนจะเจริญธรรมบทนั้นๆ ทุกครั้ง...
ควรเจริญรำลึกธรรมสามบทคือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ 3 ครั้งอันเป็นองค์พระรัตนตรัยก่อน จากนั้นค่อยบริกรรมบทที่ตนต้องการต่อไป เช่นอานาปานสติฯ หรืออัฐิฯ หรือ ตะโจฯ เป็นต้น
ท่านให้มีคำบริกรรมภาวนาเป็นบทๆกำกับใจในเวลานั้นหรือเวลาอื่นก็เพื่อเป็นอารมณ์เครื่องยึดของใจในเวลาต้องการความสงบเพราะใจเป็นของละเอียดตามธรรมชาติ ทั้งยังไม่สามารถพึ่งตัวเองได้เนื่องจากจิตยังไม่เป็นตัวของตัวโดยสมบูรณ์ดังพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านจำต้องมีบทเป็นคำบริกรรมเพื่อผูกใจหรือเพื่อเป็นอารมณ์ของใจเวลานั้น
อย่าคาดหมายผลที่จะพึงเกิดขึ้นในเวลานั้นการบริกรรมภาวนาในธรรมบทใดก็ตาม กรุณาอย่าคาดหมายผลที่จะพึงเกิดขึ้นในเวลานั้นเช่น ความสงบจะเกิดขึ้นในลักษณะนั้นนิมิตต่างๆ จะเกิดขึ้นในเวลานั้นหรืออาจจะเห็นนรกสวรรค์ขุมใดหรือชั้นใดในเวลานั้น เป็นต้นนั้นเป็นการคาดคะเนหรือค้นเดาซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบให้แก่ใจเปล่าๆไม่เกิดประโยชน์อะไรจากการวาดภาพนั้นเลย และอาจทำใจให้ท้อถอยหรือหวาดกลัวไปต่างๆซึ่งผิดจากความมุ่งหมายของการภาวนาโดยถูกทางที่ท่านสอนไว้
ตั้งจิตกับสติไว้เฉพาะหน้ามีคำบริกรรมเป็นอารมณ์ของใจ เพียงอย่างเดียวเท่านั้นโดยมีใจกับสติสืบต่ออยู่กับคำบริกรรม เช่น พุทโธๆสืบเนื่องกันไปด้วยความมีสติและพยายามทำความรู้สึกตัวอยู่กับคำบริกรรมนั้นๆอย่าให้จิตเผลอตัวไปสู่อารมณ์อื่น ระหว่างจิตสติกับคำบริกรรมมีความสืบต่อกลมกลืนกันได้เพียงไรยิ่งเป็นความมุ่งหมายของการภาวนาเพียงนั้น ผลคือความสงบเย็นหรืออื่นๆที่แปลกประหลาดไม่เคยพบเคยเห็น อันจะพึงเกิดขึ้นให้ชมตามนิสัยวาสนาในเวลานั้นจะเกิดขึ้นเองเพราะอำนาจของการรักษาจิตกับคำบริกรรมไว้ได้ด้วยสตินั่นแลจะมีอะไรมาบันดาลให้เป็นขึ้นไม่ได้
เอกสารอ้างอิง: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,สมาธิภาวนา.กรุงเทพมหานคร : บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด,2557.
3
เว็บในเครือ : ศรีเมืองใหม่ เมืองธรรม
มหัศจรรย์ ศรีเมืองใหม่
ลงชื่อเข้าใช้|กิจกรรมล่าสุดของไซต์|รายงานการละเมิด|พิมพ์หน้าเว็บ|ขับเคลื่อนโดย Google Sites
โฆษณา