24 ม.ค. 2020 เวลา 05:20 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา Kodak & Blockbuster
ในอดีตเราคงคุ้นเคยกับ แบรนด์ดัง หลาย ๆ แบรนด์ ที่เคยดังในอดีต และตอนนี้ก็ดับไป
วันนี้ผมมี 2 แบรนด์ ดัง ที่กลายเป็นเพียงอดีตให้จดจำกัน
เป็น Case Study สุดคลาสสิค ที่ ใครต่อใครก็พูดถึงกัน
คือ Kodak และ Blockbuster
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ทั้ง 2 บริษัทนี้ ต้องล้มละลายหายไป เกิดจาก การที่ผู้บริหาร มองการณ์ใกล้ มากกว่าการณ์ไกล นั่นเอง
Kodak
ในอดีต ยุคเก่า ใครที่เกิดทันยุค 90 คงจะไม่มีคนไหนไม่เคยได้ยินชื่อ Kodak
บริษัทผลิตกล้องและฟิล์ม ถ่ายรูป ชื่อดัง
ถ้าถามว่าดังขนาดไหน ลองคิดดูสิว่า ในยุคนั้นถ้าคิดถึงเรื่องถ่ายรูป คนจะคิดถึง Kodak ไม่มี No.2 No.3
ทิ้งคู่แข่งทางการตลาดไปไกลมาก
แต่แล้ววันหนึ่ง อนาคตของบริษัทนี้ก็เปลี่ยนไป
เมื่อปี 1975 Steve Sasson พนักงานคนหนึ่งของ Kodak คิดค้น กล้องถ่ายรูปแบบดิจิทัล ขึ้นมาได้สำเร็จ
และแน่นอน เขาได้นำเจ้ากล้องตัวนี้ไปเสนอกับ ผู้บริหาร แต่กลับถูกบอกว่า "มันก็ดีนะ แต่เอาไปเก็บเถอะ" เพราะผู้บริหารคิดว่ามันไม่สามารถตีตลาดได้หรอก ประกอบกับช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ Kodak ครองความยิ่งใหญ่ถึงขีดสุด ครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 90% ผู้บริหารจึงไม่คิดเลยว่า จำเป็นที่จะต้องสนใจ
สุดท้าย Kodak ต้องปิดตัวลง เพราะ โลกก้าวสู่ยุคที่กล้องดิจิทัล กลายเป็นที่นิยม และแบรนด์ที่ มาในตอนนั้น ก็เป็น Sony ที่เริ่มตีตลาดขึ้นมา
ความพ่ายแพ้จากการปรับตัวช้าในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มองการณ์ใกล้
สุดท้ายก็ทำให้โกดัก ต้องประกาศล้มละลายในปี 2012!!
อีกเคส หนึ่่งที่คล้ายคลึงกัน
Blockbuster
คนไทยอาจจะไม่รู้จัก Blockbuster กันมากสักเท่าไหร่
Blockbuster คือบริษัทที่ทำธุรกิจให้เช่า หนัง วีดีโอ ซีดี ดีวีดี ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ช่วงปี 1990
มีสาขามากถึง 1,000 สาขา และครองส่วนแบ่งการตลาดด้านนี้ แบบ No.1 ไม่มี No.2
แต่ด้วยความไม่มี No.2 นี่แหละครับ มันเลยมี คนคิดอยากจะแข่งด้วย
ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
นั่นก็คือ Netflix นั่นเอง!!!
ในตอนนั้น ลูกค้ามีปัญหาเรื่อง อัตราค่าปรับของ Blockbuster ที่ค่อนข้างแพง จึงเกิดเป็น Pain point ขึ้น และ Netflix ก็จึงนำ Pain นี้มาเป็นจุดขายของตัวเอง ด้วยการให้เช่าโดยไม่มีค่าปรับ
คราวนี้ส่วนแบ่งการตลาดเริ่มเปลี่ยนไป Netflix ก็เริ่มแย่งได้มากขึ้น
แต่ด้วยความที่เป็นบริษัทเล็ก และดันคิดใหญ่ (ลองคิดดูสิว่าให้คนเช่าไปแบบไม่กำหนดเวลาคืน จะต้องแบกรับภาระต้นทุนขนาดไหน?)
ซึ่งนั่นก็เลยทำให้ CEO Netflix Reed hasting ตัดสินใจที่จะขายบริษัทให้กับ Blockbuster ในปี 2000
ในราคา 50 ล้านเหรียญ และแลกกับการจะดูแลระบบ ออนไลน์ และการส่งผ่านไปรษณีย์ให้ Blockbuster
แต่ในระหว่างการเจรจา John Antioco ดันขำใส่ข้อเสนอนี้ซะงั้น!!
เพราะเขาคิดว่า เอ้ยไอ้นี่มันเป็นใครกัน บริษัทเล็กแค่นี้ จะให้ซื้อตั้ง 50 ล้านหรอ??
พวกเราต้องขอบคุณ John Antioco กันไว้ ณ ที่นี้เลยนะครับ
เพราะถ้าไม่มีวันนั้น เราอาจไม่มี Netflix ในวันนี้
หลังจากที่โดนขำใส่ Reed hasting เลยไม่ขายให้ครับ และก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเอง
เปลี่ยนรูปแบบจากเช่า มาเป็น ให้สมัครรายเดือน และให้บริการแบบ Streaming แทน
และหมัดเด็ดที่ทำให้ Netflix ดังได้ก็เพราะ มีการผลิตซีรี่ส์ แบบ Original Content ขึ้นมานั่นเอง
หลังจากนั้นไม่ต้องพูดถึงนะครับว่า วันนี้เราได้ยินชื่อไหน และไม่ได้ยินชื่อไหน
Blockbuster กลายเป็นเพียงบริษัทดังในอดีตไปอีก 1 เจ้า
ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างกับ Kodak สักเท่าไหร่ คือ มองการณ์ใกล้ มากเกินไป
ความสำเร็จที่ยั่งยืน ไม่มีอยู่จริงครับ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
คนที่เข้าใจในเรื่องนี้ จะรู้ว่า ทุก ๆ การคงอยู่ต้องมีการปรับตัว
หากไม่ปรับตัว ก็คงจะต้อง กลายเป็นเพียงอดีต และเรื่องเล่า ที่น่าจดจำแทน
Kodak & blockbuster ก็เป็นหนึ่งในวัฐจักรนี้
แต่เราก็ต้องขอบคุณทั้งคู่ แหละครับ ที่เป็นตัวอย่าง และ เป็นบทเรียนที่ดี ให้กับใครอีกหลาย ๆคน
อ้างอิง
โฆษณา