25 ม.ค. 2020 เวลา 03:16
เรื่องนางสิบสอง หรือพระรถ-เมรี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นนิทานพื้นบ้านของไทย เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย มีกันเล่าสืบๆ กันมาแบมุขปาฐะ แล้วจึงมีการเรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องหนึ่งใน ปัญญาสชาดกโดยพระเถระชาวเชียงใหม่ แต่เค้าโครงเรื่องของพระรถเมรีนี้มีความคล้ายคลึงกับนิทานบ้านชาติต่างๆ อาทิ อินเดีย ลังกา ไทยใหญ่ เขมร พม่า ลังกา ลาว และ อาหรับ เป็นต้น
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า พระรถเมรีของไทยน่าจะมีต้นเค้ามาจากนิทานพื้นบ้านของชาติอื่นที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศไทยในอดีต ซึ่งน่าจะเป็นการรับถ่ายทอดแบบทางมุขปาฐะแบบการเล่านิทานสู่กันฟัง แล้วจึงแพร่หลายต่อมาจนเข้าใจว่าเป็นนิทานพื้นบ้านของเราเอง
เมื่อพระเถระชาวเชียงใหม่ได้แต่งปัญญาสชาดก ก็ไดนำเรื่องพระรถนี้ไปแต่งเป็นรถเสนชาดกด้วย ซึ่งการที่นิทานเรื่องนี้แพร่หลายมากในท้องที่ในภาคเหนือนั้น สันนิษฐานได้สองทางคือ ดินแดนล้านนาเป็นถิ่นที่นิทานเรื่องนี้เริ่มแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทย หรือเริ่มแพร่หลาย ณ จุดใดยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัด แต่ได้รับความนิยมหลังจากมีการนำเอานิทานเรื่องรถเสนชาดกมาแต่งเป็นเรื่องหนี่งในปัญญาสชาดกแล้ว ซึ่งมีปรากฏหลักฐานหลงเหลือเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์จารึกในใบลานเรื่อง “นางสิบสอง” เรื่องพุทธเสนกะ เก็บไว้ตามวัดต่างๆ
นอกจากนี้เรื่องพระรถยังมีการนำไปแต่งเพลงกล่อมเด็ก เพลงร้องเล่นเด็ก และแต่งเป็นวรรณคดีร้อยกรองหลายสำนวนในรูปแบบฉันทลักษณ์ต่างๆ อาทิ กลอนบทละคร กลอนอ่าน หรือกลอนนิทาน กลอนนิราศ กาพย์ขับไม้ คำฉันท์ ซึ่งมีกลอนในวรรณกรรมลายลักษณ์ปรากฏเป็นเพลงพื้นบ้านด้วย
ที่มา : หนังสือ ประชุมเรื่องพระรถ.กรมศิลปากร
ก่อนจะขอเล่าเรื่องนางสิบต้องทำพิธีเซ่นไหว้ก่อน
โฆษณา