4 ก.พ. 2020 เวลา 02:18 • ไลฟ์สไตล์
กลอุบายที่26 “ชนะได้โดยไม่ต้องรบ”
ใน36 กลอุบาย “มือชี้ที่ต้นหม่อน แต่กลับด่าต้นก้ามปู”
กลอุบายนี้ ถ้าดูตามความจริงก็จะคล้ายๆ คำสุภาษิตของไทยคือ”การตีวัว กระทบคราด”
เนื่องโดยสมัยโบราณของจีน การทำสงครามไม่ได้มีแต่การใช้กำลังสู้รบเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการส่งทูตไปเจรจาลับฝีปากกันด้วย
ในกลอุบายนี้ได้ยกตัวอย่าง เอี้ยนอิงที่เป็นมหาอุปราชรัฐฉี ในสมัยเลียดก๊ก(เลียดก๊กคือ สมัยก่อนที่จิ้นซีฮฮ่องเต้ จะรวมประเทศได้นั่นเอง)
เอี้ยนอิงถูกส่งไปเจริญสัมพันธไมตรีกับรัฐฉู่ ซึ่งเป็นรัฐใหญ่ในสมัยนั้นเช่นกัน กษัตริย์รัฐฉู่หลิงหวัง เห็นว่าเอี้ยนอิงตัวเตี้ย เลยอยากจะแกล้งเอี้ยนอิงให้อับอาย
เลยสั่งให้ทหารเฝ้าประตู เจาะประตูที่กำแพงเมืองให้มีช่องเล็กๆ ที่พอจะให้เอี้ยนอิงเดินผ่าน
พอเอี้ยนอิงได้ฟังทหารเฝ้าประตูบอกให้เดินผ่านช่องประตูขนาดเล็กนั่น แทนที่เอี้ยงอิงจะโกรธ กลับหันไปถามผู้ที่ติดตามตนว่า
นี่เรามาเยือนรัฐฉู่หรือเปล่า ทำไมกำแพงเมืองรัฐฉู่จึงมีประตู ที่หมาสามารถเดินเข้าออกได้
เห็นที! ที่นี้คงเป็นรัฐหมา🐕กระมัง ถึงมีเรื่องเช่นนี้ (โดนไปก่อนเลยหนึ่งดอก55)
ทหารที่เฝ้าประตูได้ยินดังนั้นก็รู้สึกอับอาย จนต้องรีบเปิดประตูใหญ่ให้เอี้ยนอิง เข้าไปในเมือง
ในขณะที่เอี้ยงอิงเข้ามาในเมืองแล้ว กษัตริย์รัฐฉู่ก็ส่งคนที่มาต้อนรับเอี้ยงอิง ให้มีรูปลักษณ์สูงใหญ่ น่าตาดี เพื่อจะมากดข่มให้เอี้ยงอิงที่ตัวเตี้ย รู้สึกอับอาย
คำแรกที่กษัตริย์รัฐฉู่ทักเอี้ยงอิงกับกล่าวว่า “รัฐฉีของท่านไม่มีคนที่รูปร่างหน้าตาดีแล้วหรือ ถึงส่งคนตัวเตี้ยอย่างท่านมาเยือนรัฐฉู่”
เอี้ยงอิงเมื่อได้ยินเช่นนั้นแทนที่จะโกรธ กับยิ้มแย้มแจ่มใสแล้วตอบกับไปว่า
”ตามประเพณีของรัฐฉีเรา การไปเยือนรัฐอื่นๆ ควรส่งคนที่มีลักษณะเหมาะสม”
“แต่ถ้าไปเยือนรัฐที่ต่ำต้อยกว่า ก็ไม่จำเป็นต้องส่งคนที่มีรูปลักษณ์สูงใหญ่มา”
“การเยือนรัฐฉู่ ส่งคนที่ตัวเตี้ยและไร้ความสามารถแบบข้ามาก็พอแล้ว” (กษัตริย์รัฐฉู่โดนไปอีกดอกที่2 😆)
ในระหว่างงานเลี้ยงอาหาร กษัตริย์รัฐฉู่ก็แกล้งเอี้ยงอิงอีก โดยการให้ทหารแกล้งจับโจรมาคนหนึ่งแล้วทำเป็นแกล้งเดินผ่านมาทางงานเลี้ยง
กษัตริย์รัฐฉู่แกล้งตะโกนถามทหารคนนั้นว่าเกิดอะไรขึ้น ทหารก็ตอบว่าเราจับโจรชาวรัฐฉี ที่แอบมาขโมยของในรัฐฉู่ได้ กำลังจะนำตัวไปขัง
กษัตริย์รัฐฉู่จึงแกล้งถาม เอี้ยงอิงว่า”คนรัฐฉีชอบขโมยของใช่ไหม”
เอี้ยงอิงฟังแล้วแทนที่จะโกรธ กับตอบกลับด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า
“คนฉีอยู่ในรัฐฉีเป็นคนดี แต่พอมาอยู่รัฐที่มีคนชอบขโมยของ ก็อาจจะติดนิสัยไม่ดีได้”
“เสมือนหนึ่งส้มที่ถูกปลูกที่ภาคใต้ เมื่อถูกย้ายไปปลูกที่ภาคเหนือ ก็อาจทำให้ผลที่มีรสหวานกลับกลายเป็นรสเปรี้ยวได้”
“เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะดินฟ้าอากาศและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน”
“ถ้าคนรัฐฉีมาอยู่แล้วนิสัยไม่ดีชอบขโมย ก็เพราะสภาพแวดล้อมและการปกครองของรัฐฉู่ไม่สามารถทำให้เป็นคนดีได้นั้นเอง”
เมื่อกษัตริย์รัฐฉู่ได้ฟังเอี้ยงอิงกล่าวเช่นนั้น ก็เกิดความประทับใจในตัวเอี้ยงอิง จึงยอมร่วมเจรจาการเมืองผูกสัมพันธไมตรีกับรัฐฉีต่อไป
จากเรื่องราวข้างต้นจะเห็นได้ว่าการทำศึกสงคราม ไม่ได้มีแต่การใช้กำลังต่อสู้กันเพียงอย่างเดียว การใช้กลอุบายทางวาจาก็สามารถเอามาใช้สงบศึกหรือ ผูกสัมพันธไมตรีร่วมกันเป็นพันธมิตรจับมือกันได้
และอีกเรื่องที่สำคัญมากๆ คือการมีสติ ระงับความโกรธของเอี้ยงอิง แสดงให้เห็นการมีภาวะของผู้นำที่ดี แทนที่จะโกรธ กับยิ้มแย้มและแสร้งโง่พร้อมกับตอบโต้ด้วยคำพูดที่ เน้นคำ และตรงจุด ได้เจ็บแสบมาก55
หวังว่าบทความนี้ เพื่อนๆจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และมีประโยชน์กับเพื่อนๆทุกคนนะครับ
#อ้างอิ้งมาจากหนังสือ 36 กลอุบาย โดย สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย
##ขอบคุณเพื่อนๆที่แวะเข้ามาอ่าน และเข้ามาเป็นกำลังใจให้เพจใจดีกันนะครับ🙇🏻‍♂️##
โฆษณา