5 ก.พ. 2020 เวลา 01:01 • ข่าว
Pete "คนเลือดบวก"
ข่าวจางไปสักพักก็กลับมาใหม่ เข้มข้นกว่าเก่า มีตัวละครเข้ามาร่วมสงครามมากมาย แต่นี่เป็นสงครามของใครกัน?
ตรวจไม่พบเชื้อ=ไม่แพร่เชื้อ(U=U)จริงหรือไม่
หลังจากที่พีทคนเลือดบวกโดนสังคมรุมประนามหยามเหยียด กลับมีแพทย์หนุนแนวคิดของเขา โดยอ้างอิงงานวิจัยและสรุปให้ทุกคนฟังว่า ข้อมูลทุกอย่างที่พีทสื่อสารออกไป ถูกต้องแน่นอน เป็น FACT!
วันก่อนผมเขียนถึง"ความน่าเชื่อถือ" โดยใช้ลำดับขั้นของหลักฐาน (Hierarchy of evidence)
ซึ่งงานวิจัยที่สรุปว่า "ตรวจไม่พบเชื้อ"="ไม่แพร่กระจายเชื้อ" อยู่ชั้น 4 (น่าเชื่อถือกว่าสูตรยาราชวิถีตั้ง2ชั้น)
แต่การเชื่อถือข้อมูลวิจัย และการนำไปใช้ มีขั้นตอนมากมายไปกว่านั้น ท่านDr.Darkเคยเขียนบทความ "การแปลผลงานวิจัย ไม่ใช่อ่านแค่สรุป"
ย่อยให้เข้าใจง่าย งานวิจัยดังกล่าว
- เป็นเพียงการสังเกต(observational study) ไม่ใช่วิจัยเชิงทดลอง และไม่มีการสุ่มตัวอย่าง(random)
- แต่เป็นการติดตามกลุ่มเสี่ยง (cohort study) ถึง 782 คู่ (HIV+ 782 คน ที่เป็นคู่เกย์กับ HIV- 782 คน) เป็นเวลาประมาณ 2 ปี (โดยให้ตอบแบบสอบถามทุก 4-6 เดือน และเจาะเลือดซ้ำทุกครึ่งถึง 1 ปี)
- เกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่าง (inclusion criteria) คืออายุตั้งแต่ 18 ปี, HIV+ต้องกินยาต้าน และมีผลเชื้อล่าสุด < 200, และมี Sex กันโดยไม่ใส่ถุงยาง
- ทั้งนี้ HIV- ต้องไม่มีการใช้ PrEP/PEP (ยาต้านก่อนหลังการมีเพศสัมพันธ์
- ใครเลิกกันหรือขอถอนตัว ก็หลุดจากงานวิจัยไป
ผลปรากฏว่า
- 98% ของHIV+ กินยาสม่ำเสมอ
- HIV- 15 คน กลายเป็น HIV+ แต่ตรวจยีนแล้วไม่ได้มาจากคู่เกย์ที่ร่วมวิจัย (มาจากกิ้ก)
- ไม่พบการติดเชื้อจากคู่เลย (0 คน)
- คำนวณทางสถิติ ความน่าเชื่อถือเท่ากับว่าถ้าตาม 1 คู่ไป 435 ปี อาจจะมีการแพร่เชื้อ 1 ครั้ง (หรือตาม 435 คู่ไป 1 ปี อาจมีการแพร่เชื้อ 1 ครั้ง)
(upper limit 95%CI = 0.23)
ที่สำคัญมากกคือ
- 24% ของ HIV- กับ 27% ของ HIV+ ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตัวอื่นๆ (นี่ขนาดโดนจับตาดู และมีกิ้กกันน้อยแล้วนะ!)
มายกอด
การนำผลวิจัยมาปรับใช้
- จะเห็นได้ว่า 782 คนนี้ถูกเฝ้าสังเกต จึงมีพฤติกรรมดีมากๆ กินยากันครบ กิ้กน้อย
- ในตัวอย่างมีคน Asia เพียง 2% เราอาจมีพฤติกรรม/วัฒนธรรมที่แตกต่างกับกลุ่มตัวอย่างได้
- แต่ถ้ามีคนมาบอกว่า จัดสดสิ เราตรวจไม่พบเชื้อ(HIV) แต่โรคอื่นน่ะ เสี่ยงดวงเอาละกัน = =
มันไม่น่าต้องวิเคราะห์อะไรมากมายนะครับ ที่จะบอกว่าไม่ปลอดภัย
จึงไม่น่าแปลกใจที่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ยึดหลัก FIRST DO NO HARM จะไม่มีวันบอกคุณว่า Sex without Condom น่ะปลอดภัยนะ ถ้าคุณ&¥$))&€<
ไม่ดูครับ
การควบคุม HIV
- ปี 2532 ท่านอาจารย์นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ริเริ่มโครงการถุงยาง100% โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วน ให้สถานบริการปฏิเสธลูกค้าที่ไม่ใช้ถุงยาง (No Condom No Sex)
- ผลของโครงการ ทำให้ผู้ป่วยHIVรายใหม่ ลดลงจาก 4 แสนคนในปี 2534 เหลือเพียง 14000 คนในปี 2544
- และแน่นอนว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมดลดลง สัมพันธ์กับการใช้ถุงยางที่มากขึ้น
ท่านวิวัฒน์ได้รางวัล prince Mahidol award และได้รับคำชื่นชมไปทั่วโลกในฐานะ "the doctor who changed the world"
ปัจจุบัน อุบัติการการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อัตราป่วยโรคซิฟิลิสสูงขึ้น 5 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
การโฆษณาการใช้ยาต้านไวรัสแบบผิดๆ พบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน และการใช้ถุงยางก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตาม คุณพีทผู้ให้สัมภาษณ์ไปทั่วว่าแท้จริงแล้วตนเห็นกลุ่ม"ตาน้ำ"นี้ความรู้น้อย และไม่มีวันที่จะใช้ถุงยางเพราะมันไม่ฟิน อาจทำประโยชน์ให้สังคมได้บ้าง
เพราะคนกลุ่มนี้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) กลุ่มสำคัญ และมีมุมมอง (perspective) ที่คนอื่นอาจไม่มีวันเข้าถึง (ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อย่าโลกสวย" ของแพทย์ท่านหนึ่ง)
พีท คนเลือดบวก จึงอาจไม่ใช่ปัญหาสังคม หรือบุคคลอันตราย (ถ้าเขาถูกควบคุมอย่างถูกวิธี และขอร้องล่ะหยุดพูดว่าจะให้ทุกคนเลือดบวกสักทีเถอะ)
แต่อาจเป็นหนึ่งกุญแจสำคัญ ที่จะพาเราไปสู่ข้อมูลเบื้องลึกของสงครามอันยืดเยื้อยาวนาน เพื่อปรับมาตรการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้นไปในอนาคต

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา