9 ก.พ. 2020 เวลา 09:10 • ธุรกิจ
รายย่อยไทย Cut loss/Take profit เร็วแค่ไหน ❓
พฤติกรรมที่น่าสนใจ**
ทำไมนักลงทุนไทยถึงมีพฤติกรรมที่ทนกำไรไม่ได้ แต่ทนขาดทุนได้ ?
ปัญหาใหญ่ที่นักลงทุนประสบพบเจอ คือมีหุ้นอยูในมือแล้วได้กำไร 5-10% ก็มักจะขายทำกำไรไปหมด แต่ในทางกลับกัน เมื่อขาดทุนก็ดันไม่กล้าขาย เพราะคิดว่ายังไงเด่วหุ้นก็เด้ง จนเกิดการขาดทุน 10% 20% ... 50% ไปจนถึงขาดทุนจนไม่กล้าที่จะ Stop loss หรือตัดขาดทุน จนทำให้หุ้นตัวนั้นแทบไม่มีวี่แววที่จะเด้งกลับขึ้นมาที่ทุน จนต้องยอมรับสภาพก็คือจำใจขายที่ขาดทุนเยอะๆ จนทำให้นักลงทุนนั้นไม่มีกระจิตกระใจในการลงทุนต่อ ซึ่งกระทบต่อสภาพจิตใจ และทำให้เส้นทางในการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมืดมน และเดินออกจากตลาดไปในที่สุด
"Benjamin Graham” หนึ่งในปรมาจารย์การลงทุน ได้กล่าวเอาไว้ว่า
อุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการลงทุน "คือตัวของนักลงทุนเอง"
นักลงทุนที่เก่งนั้นไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความฉลาดทางปัญญา หรือไอคิวที่สูง หรือมีการศึกษาสูง แต่นักลงทุนที่เก่งหมายถึงคนที่มีลักษณะนิสัยที่ชอบขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ มีความอดทน และมีวินัยในการลงทุนที่ดี และที่สำคัญสามารถควบคุมอารมณ์ไม่ให้เข้ามาก้าวก่าย โดยกล่าวได้ว่าในการลงทุนนั้นเป็นเรื่องของข้อมูลและความรู้เพียง 30% และที่เหลืออีก 70% นั้นเป็นเรื่องของการควบคุมจิตใจตัวเองไม่ให้ความกลัวและความโลภเข้ามาครอบงำการตัดสินใจในการลงทุนนั่นเอง
โดยความกลัวนั้นมักเกิดจากความผิดหวังและความเสียใจจากการขาดทุนในอดีต ซึ่งมักจะเป็นความรู้สึกที่มีระดับความเข้มข้นและรุนแรงมากกว่าความรู้สึกยินดีที่ถึงแม้จะมีมูลค่าที่พอๆ กันทั้งสองด้าน เช่น การลงทุนแล้วขาดทุน 1 แสนบาทนั้นมักจะทำให้เราเสียใจมากกว่าความสุขจากการลงทุนที่ได้กำไร 1 แสนบาท ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านพฤติกรรมต่างๆ อย่างเช่นในเวลาหุ้นตก หรือการลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ มันเกิดสวนทางกับที่เรามองไว้ ความกลัวขาดทุนจะห้ามไม่ให้เราขายหุ้นทิ้ง และมองว่าในเมื่อไม่ขายก็ไม่ขาดทุน และบอกตัวเองให้ถือไปก่อนรอให้ราคาวิ่งกลับขึ้นมาเท่าทุนแล้วค่อยขายทิ้ง
ต่อมาหากราคาหุ้นดันปรับตัวลดลงไปอีก มันจะยิ่งทำให้เราไม่กล้า cut loss เพราะจะเป็นการขาดทุนหนักกว่าเดิม และอาจจะเริ่มหลอกตัวเองว่ามันเป็นการลงทุนระยะยาว โดยพฤติกรรมของความกลัวนี้ยังรวมถึงการยอมสละโอกาสที่จะได้กำไรมากเกินไปอีกด้วย เพราะเรามองว่าหุ้นหรือสินทรัพย์ที่ปัจจุบันได้กำไรอยู่นั้นมีความเสี่ยงต่อการลดลงของราคาจึงทำให้เมื่อราคาสูงขึ้นไปเพียงเล็กน้อยเราก็จะรีบขายออกไปก่อนเพื่อเก็บกำไรอันน้อยนิดเข้ากระเป๋า กลายเป็นพฤติกรรมที่ "ทนขาดทุนได้แต่ทนกำไรไม่ได้"
หลังจากนั้นเราอาจจะพบว่าตลาดมันช่างเล่นตลกกับเราเสียจริงๆ เพราะหุ้นที่เราเพิ่งขายไปนั้นราคามีการปรับตัวสูงขึ้นไปมากกว่าเดิมอีก จึงทำให้เราเริ่มรู้สึกว่าการขายครั้งนั้นเป็นการขายหมูหรือขายหุ้นเร็วเกินไปส่งผลให้ความสุขจากกำไรที่ได้รับในตอนแรกเริ่มลดลง และแปรเปลี่ยนกลายเป็นความโลภที่จะซื้อหุ้นในจำนวนที่มากขึ้นเพื่อหวังกำไรที่มากกว่าเดิมหลายเท่าตัว
และตลาดก็มักจะเล่นตลกกับเราซ้ำอีก กลายเป็นว่าช่วงที่เราเข้ามาซื้อใหม่อย่างมั่นใจนั้นเป็นช่วงปลายของความร้อนแรงของตลาด ส่งผลให้กำไรที่ได้มาในตอนแรกหายไปกับการลงทุนในครั้งนั้น และบางทีอาจจะต้องขาดทุนมากขึ้นไปอีก สถานการณ์เช่นนี้เรามักเรียกมันว่า “กับดักของความโลภ”
3
ซึ่งกับดักของความโลภนั้นมีบ่อเกิดจากความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป นับว่าเป็นสิ่งที่อันตรายกว่าความกลัวขาดทุนเสียอีก
1
สรุปได้ว่า การลงทุนในตลาดหุ้นหรือสินทรัพย์ใดๆ เราไม่ควรคาดหวังผลกำไรที่สูงเกินความเป็นจริง เพราะความคาดหวังนั้นจะเป็นบ่อเกิดของกับดักแห่งความมั่นใจและความล้มเหลวที่เกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นที่มากเกินไป และอาจทำลายความสำเร็จที่เคยได้รับให้หมดไปได้อย่างรวดเร็ว
อีกหนึ่งช่องทางของเราใน App blockdit
กดมาเลย
ฝากติดตามพวกเราด้วยนะครับ 🙏🙏
โฆษณา