13 ก.พ. 2020 เวลา 09:51
เราสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้อย่างไรกับวงกลม 3 วง
ช่วงนี้หายไปพักนึงเลยเพราะมัวแต่ไปทำเกี่ยวกับ Start up มาครับ
ทำให้รู้เลยว่า Start up นี่ก็มีมุมมองหลายๆอย่างที่น่าสนใจเหมือนกัน
และบางอย่างเอามาประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นได้ด้วย
เดี๋ยววันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังกันครับ
วงกลม 3 วง ที่ทำให้
เราเคยคิดอยากทำธุรกิจกันไหมครับ ???
ผมว่าหลายๆคนน่าจะเคยคิด
ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านกาแฟ
การขายเสื้อผ้า
การเป็น youtuber
ฯลฯ
แต่ถ้าเป็นนวัตกรรมหรือ innovation ล่ะ
เราเคยคิดจะสร้างมันขึ้นมากันบ้างไหม
ผมว่าบางคนอาจจะคิดนะครับ
คำว่า innovation อาจจะไม่ต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่หรือเปลี่ยนโลก
แบบ facebook, Grab Food หรือ Tesla ที่ผลิตรถยนต์ไร้คนขับก็ได้
อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น
บางคนอาจจะอยากสร้างเว็บรวมข้อสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนดังๆในกรุงเทพ
บางคนอาจจะอยากสร้างเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
บางคนอาจจะอยากสร้าง platform สอนถ่ายรูปออนไลน์
ฯลฯ
แต่ว่าเราเคยคิดไหมครับว่าจริงๆแล้วนวัตกรรมมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
Innovation เกิดจากปัจจัยต่างๆมากมาย
ทั้ง inspiration, vision , creativity
แต่หลักๆเราจะคิดว่า Innovation เกิดจาก problem solving + idea generation
Innovation เกิดจากสิ่งต่างๆมากมายครับ
เช่น Grab Food ที่แก้ปัญหาหรือ problem solving คนไม่อยากออกไปซื้ออาหาร
ด้วย idea generation ที่ว่าให้คนมาส่งอาหารครับ
Grab Food เป็นอีกตัวอย่าง Innovation ที่เปลี่ยนโลกได้ครับ
ฟังดูเข้าใจง่ายๆใช่ไหมครับ
แต่การทำให้ innovation เกิดขึ้นจริง
มันมีอะไรมากกว่านั้นครับ
ผมชอบแนวคิดวงกลม
ว่าด้วยการสร้าง innovation หรือสร้างธุรกิจก็ตาม
ต้องมี hypothesis 3 อย่างนี้ครบถ้วน
นั่นคือ Desirable
Feasible
และ Viable
วงกลม 3 วงที่ทำให้เกิด Innovation ขึ้นมาได้ครับ
3 อย่างนี้คืออะไร
เรามาดูกันทีละอย่างครับ
อย่างแรกคือ
1. Desirable หรือ Do they want this ???
นั่นคือความต้องการของลูกค้าว่าพวกเค้าต้องการสิ่งนี้กันจริงๆหรือเปล่า
เวลาเราคิดจะสร้างอะไรขึ้นมาหรือจะขายอะไร
เราต้องคิดก่อนว่าลูกค้าต้องการสิ่งนั้นจริงๆหรือเปล่า
ฟังดูง่ายๆอีกแล้วใช่ไหมครับ
แต่รู้ไหมครับว่าคนที่สร้าง innovation หรือ Start up ล้มเหลวเพราะอะไร
Start up ส่วนมากล้มเหลวเพราะสร้างสินค้าที่ไม่มีใครต้องการขึ้นมาครับ
(Build a product nobody wants)
ฟังดูตลกไหมครับ
แต่นี่คือเรื่องจริงเลยที่ Start up ส่วนมากสร้างของที่ไม่มีคนต้องการและขายไม่ได้ออกมา
มันจะเป็นแบบนั้นไปได้อย่างไร
ผู้อ่านคิดเหมือนกันไหมครับ
ผมสมมติว่าผมอยากทำ platform ไว้สำหรับให้เช่าสินค้าแม่และเด็ก
เพื่อให้แม่ไม่ต้องซื้อสินค้าที่มีอายุใช้งานสั้นๆในราคาแพงอีกต่อไป
เช่น เสื้อของเด็กอายุ 2-3 เดือน
ฟังดูดีใช่ไหมครับ
เราไม่ต้องจ่ายเงินเต็มๆไปกับสินค้าที่เราใช้งานเพียงไม่กี่เดือน
แต่ในความเป็นจริงๆแล้วอาจจะดูดีหรือไม่ดีก็ได้
เพราะเราไม่มีทางแน่ใจได้เลยว่าลูกค้าอยากจะ "เช่า" สินค้าพวกนี้จากเราจริงๆหรือเปล่า
นี่แหละครับที่ทำให้ Start up พังมานักต่อนักแล้ว
เพราะเค้าคิดว่าเค้าสร้างสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่ทุกคนต้องการ
แต่จริงๆแล้วไม่มีใครต้องการมันเลย
แต่ทั้งนี้การดูว่าสินค้าของเราที่คิดมาใหม่ๆมีคนต้องการหรือไม่
ก็ไม่ใช่ไปเดินสัมภาษณ์เพื่อนๆหรือลูกค้าว่าอยากได้มันหรือไม่
เพราะบางคนทีลูกค้าก็ไม่เคยรู้จริงๆว่าเค้าอยากได้อะไร
เหมือนที่ Henry Ford พูดไว้ว่า
"If you had asked people what they wanted,
they would have said faster horses"
"ถ้าคุณไปถามคนอื่นว่าพวกเขาต้องการอะไร
พวกเขาจะตอบว่าต้องการม้าที่เร็วขึ้น"
ดังนั้น Innovation บางอย่างอาจจะไม่ได้จากการสัมภาษณ์คนอื่น
แต่ได้จากการดูว่าคนอื่นต้องการอะไรจริงๆ
(เดี๋ยวเรื่องนี้ผมขอติดไว้บทความหน้าๆๆๆนะครับ)
ถ้าเราเชื่อคำตอบของคนอื่น รถยนต์คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้ครับ
2. Feasible หรือ Can we do this ???
ในที่นี้ใช้คำว่า can นั่นคือเรา "สามารถ" ทำมันได้หรือไม่
คำว่าทำได้นี่คือทำในทางเทคโนโลยี
เช่น เราอยากสร้างยาที่กินแล้วเป็นอมตะ
แน่นอนว่ายานี้รับรองผ่านข้อแรกคือ Desirable แน่ๆครับ
ผมเชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่อยากได้ยาที่กินแล้วเป็นอมตะ
คำถามคือ can we do this ???
หรือในทางการแพทย์แล้ว
เราสร้างมันขึ้นมาได้หรือเปล่า
คำตอบก็คือ
ไม่ได้ครับ
ดังนั้นการสร้างธุรกิจยาที่เป็นอมตะจึงเป็นไปไม่ได้ในทางธุรกิจ
อันนี้ฟังดูตลกอีกแล้วใช่ไหมครับ
ว่าเราก็ต้องรู้ตัวเองสิ
ว่าอะไรที่ทำได้ทำไม่ได้ในทางเทคโนโลยี
1
แต่ถ้าใครเคยติดตามข่าว Theranos ที่เป็น Start up Unicorn ลวงโลก
นั่นคือทำที่เจาะเลือดจากปลายนิ้ว
แทนการใช้เลือดปริมาณเป็นหลอดๆ
เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค
แต่ปรากฏว่าในทาง Feasible แล้วมันทำไม่ได้ครับ
นั่นก็เป็นเคสลวงโลกที่สะเทือนเลื่อนลั่นไปทั้งวงการ Start up
Bad Blood คือหนังสือที่ตีแผ่เรื่องลวงโลกของ Theranos
ดังนั้นถ้าวันพรุ่งนี้มี Start up หรือบริษัทที่ผลิตยารักษาไวรัส HIV ได้
เราก็อาจจะจำเป็นต้องตั้งคำถามว่ามัน Feasible ไหมครับ
3. Viable หรือ Should we do this ???
ข้อนี้ดูเหมือนจะคล้ายๆกับข้อ Feasible
แต่ใช้คำว่า should แทน can
คือเรา "ควร" จะทำมันไหม
เพื่อนผมเคยถามผมเล่นๆว่า
เห็น Start up หลายๆบริษัทอยากได้ user เยอะๆ
ทำไมไม่ทำเป็น website ให้คนเข้ามาแล้วแจกเงินคนละ 100 บาทไปเลยล่ะ ???
คำถามนี้น่าสนใจนนะครับ
ถ้าเราแจกเงินทุกคน 100 บาท
ด้าน Desirable ผ่านอยู่แล้ว
เพราะทุกคนต้องการเงิน 100 บาท
ด้าน Feasible ก็ผ่านอีกเช่นกัน
เพราะเราสามารถแจกเงินคนละ 100 บาทได้
แต่คำถามคือด้าน Viable คือในทางธุรกิจ
เรา"ควร"จะแจกเงิน 100 บาทหรือไม่
คำถามนี้ตอบง่ายมากครับ
คือ "ไม่ควร"
เพราะมันไม่ Viable ทางธุรกิจ
คือไม่รู้จะกลับมาทำกำไรให้ธุรกิจได้อย่างไร
ข้อดีก็เป็นอีกข้อที่ดูเหมือนจะตลกนะครับ
แต่เชื่อไหมครับบางบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Uber ยังหา Viable ตัวเองไม่เจอดีเลย
Uber รายได้ยิ่งเยอะ ขาดทุนก็ยิ่งเยอะตาม เพราะธุรกิจยังไม่ Viable
การที่ Uber ต้องแจกเงินหรือ subsidize เงินให้ driver
ทำให้ทุกๆการเรียก Uber นั้นต้องขาดทุน
Uber นั้นจะไปกำไรที่ตรงไหน
นี่แหละครับ
บางทีมีคนต้องการ
เราทำมันได้
แต่เราต้องดูด้วยว่าเราควรทำมันไหม
บางคนอาจจะอยากสร้าง delivery platform
ที่ขนส่งสินค้าได้ในหลักชั่วโมง
ไม่ต้องรอของกันเป็นวันๆอีกต่อไป
และราคาถูกกว่าไปรษณีย์ไทยหรือ Grab Express
ลูกค้าต้องการแน่นอน
เราทำได้แน่นอน(จ้างวินเอา)
แต่เราจะสามารถทำกำไรได้จาก business model แบบนี้หรือเปล่า
ดังนั้นถ้าผู้อ่านคนไหนสนใจอยากทำ Start up หรือทำธุรกิจ
อย่าลืมเติมวงกลม 3 วงนี้ให้ครบนะครับ
ถ้าสามารถเติมความสมมติฐาน 3 อย่างนี้ได้ ธุรกิจก็มีโอกาสไปรอดครับ
วงกลม 3 วงนี้ดูเหมือนจะทำมาเพื่อ Start up
แต่ผมว่ามันเอามาประยุกต์กับหลายๆอย่างได้ครับ
เช่น ประยุกต์กับบทความที่คุณกำลังจะเขียนต่อไปใน blockdit
คือ
ถ้าเราอยากเขียนบทความเรื่อง active shooter
เราก็ต้องมาคิดก่อนว่ามันมี Desirable หรือความต้องการของคนอ่านที่จะอ่านเรื่องนี้ไหม
หรือเป็นแค่ desire ของเราที่ต้องการจะเขียนมันเท่านั้นเอง
อย่างบทความนี้เป็น desire ของผมเองล้วนๆเลยครับ แฮะๆ
และเราก็ต้องมาคิดต่อว่าเรามีความสามารถพอที่เขียนมันไหม
หรือเรามี Feasible มากพอไหม
ถ้าเราไม่ได้มีความรู้พอที่จะเขียนเรื่องนี้
เราก็อาจจะต้องไปหาความรู้เพิ่มเติม
หรือเลือกที่จะเขียนเรื่องอื่นครับ
ถ้าเรามีความรู้พอแต่ความสามารถในการถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรเราไม่เก่ง
หรือเราย่อยเรื่อง active shooter ได้ไม่ดีพอ
เราก็อาจจะต้องพิจารณาว่าเราควรจะเขียนเรื่องนี้ดีไหม
สุดท้ายก็คือเราควรที่จะเขียนเรื่อง active shooter ไหม
เราอาจจะมีความรู้เรื่อง active shooter
และมีคนต้องการที่จะอ่านด้วยเช่นกัน
แต่เราควรที่จะเขียนมันหรือเปล่า
เช่น เราจะอยากเขียนเรื่อง active shooter ในมุมที่ต่างออกไป
แต่ยังเป็นบทความเห็นต่างแบบที่ยังไม่พร้อมกับสภาพสังคมตอนนี้
แบบนี้เราก็อาจจะยังไม่เลือกที่จะเขียนตอนนี้ครับ
ขอแอบขายของปิดท้ายเล็กน้อย
hard sell นิดหน่อย
คือผมจะทำเพจแยกเป็นเพจเกี่ยวกับสุขภาพและความรู้ทางการแพทย์
ทำ content ลงเพจทุกวัน
ใครสนใจเรื่องสุขภาพและการแพทย์ไปติดตามกันได้นะครับ
เดี๋ยวจะเอามาลง blockdit พรุ่งนี้เลยครับ
ส่วนเพจนี้ก็จะเป็น content อื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ครับ
โฆษณา