14 ก.พ. 2020 เวลา 12:30 • ธุรกิจ
สิ่งจำเป็นต่อการสร้างแบรนด์ Starbucks
Image : Sprudge
กาแฟสตาร์บัคส์ที่ทุกคนรู้จักกันดี ได้สร้างวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ ในรูปแบบใหม่ของ Coffee Break สตาร์บัคส์ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาสูง และคำว่า พื้นที่ที่สาม (Third Place) เป็นจุดยืนเพื่อสร้างแบรนด์สตาร์บัคส์ การตั้งราคาไว้สูงทำให้ลูกค้าสตาร์บัคส์รู้สึกว่าตัวเองมีฐานะต่างจากคนอื่น
Image : The Jakarta Post
หลายคนรู้สึกหรูหรา ไม่ใช่เพราะราคา แต่เป็นผลจากการทำให้รู้สึกหรูหรา จากการสร้างบรรยากาศภายในให้รู้สึกว่า ลูกค้าได้เลื่อนสถานะขึ้น เพื่อให้คนอยากเข้าร้าน การขายกาแฟที่ทำด้วยใจไม่เพียงพอช่วยให้ลูกค้า “ได้พักสักครู่” เท่านั้น แต่ยังสร้าง “ความรู้สึกดี” ที่ได้อยู่ในที่ที่ตนมีฐานะ กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าจึงใช้ได้ผล
แบรนด์คือ การมีจุดยืนในการทำธุรกิจที่มีคุณค่า มีลักษณะเฉพาะตัว มีความโดดเด่น และภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการ อันเป็นที่มาของชื่อเสียงของแบรนด์ ที่อยู่ในใจลูกค้า มาลองศึกษาการสร้างแบรนด์ของสตาร์บัคส์กัน
Image : Starbucks.ca
1. ยึดมั่นในพันธกิจ
สตาร์บัคส์มีพันธกิจที่ชัดเจนคือ “มุ่งสร้างความอิ่มใจและพลังแก่ผู้คน โดยเริ่มจากลูกค้าหนึ่งคน กาแฟหนึ่งแก้ว และชุมชนหนึ่งแห่ง” พนักงานทุกคนได้รับการคาดหวังให้ยึดมั่นในพันธกิจเหล่านี้ อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ
1) ชงกาแฟแต่ละแก้วด้วยใจ และรักษารสชาติให้อร่อยอยู่เสมอ
2) ปฏิบัติ (สื่อสาร) กับลูกค้าด้วยรอยยิ้ม ให้รู้สึกผ่อนคลาย และสร้างบรรยากาศให้อยากกลับมาอีก
3) ให้บริการดังกล่าวในร้านหรู
ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งไป แบรนด์สตาร์บัคส์ก็เกิดขึ้นไม่ได้
2. ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า
ข้อความที่อยู่ในพัฒนกิจมีไว้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกับลูกค้าล้วนๆ ความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจระหว่างกัน เริ่มจากการรักษาสัญญา เรื่องเล็กน้อยอย่างการไม่รักษาเวลา หรือไม่รักษาคำพูด ต่างก็ทำลายความไว้วางใจได้ทั้งสิ้น
แม้สตาร์บัคส์จะมีผลประกอบการลดลง ก็ไม่ยอมแจกใบปลิวแถมคูปอง หรือวางแผนเพิ่มลูกค้า เพราะนโยบายเพิ่มยอดขายในระยะสั้นอาจทำให้ลูกค้าเสียความไว้วางใจและส่งผลเสียต่อแบรนด์ได้ “กว่าจะสร้างแบรนด์ได้ต้องใช้เวลานาน แต่เวลาทำลายนั้นสั้นนิดเดียว”
3. ตอบโจทย์ด้วยบริการ
กล่าวได้ว่าราคาของสตาร์บัคไม่ได้อยู่ที่การขายสินค้า (กาแฟ) แต่เป็นการขายบริการ นั่นคือ การให้พื้นที่ที่สาม (Third Place) กล่าวคือ การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมกับการเป็นสถานที่ที่สาม ซึ่งไม่ใช่ที่บ้าน สำนักงาน หรือโรงเรียน
สตาร์บัคส์ใช้วิธีจัดร้านให้นั่งได้นานๆ โดยเลือกเครื่องตกแต่งภายในที่สร้างบรรยากาศ ใช้แสงไฟอ่อนๆ วางโซฟาไว้ รวมทั้งตกแต่งพื้นที่ภายนอกให้มองเห็นวิวรอบด้าน สตาร์บัคส์ไม่ค่อยมีรายการอาหารมากนัก ไม่ใช่สถานที่รับประทานอาหาร แต่เป็นสถานที่เปลี่ยนบรรยากาศจึงต้องเน้นเฉพาะกาแฟ
4. ใช้ความเป็นสินค้าและบริการเฉพาะทาง และจัดอบรมพนักงาน
สตาร์บัคส์เน้นความเป็นเฉพาะทาง และมีการอบรมพนักงานอย่างดี การพัฒนาบุคลากรเป็นแรงขับเคลื่อนให้สตาร์ลัคส์มีอัตราการลาออกต่ำ การอบรมพนักงานส่งผลให้สตาร์บัคส์เป็นที่ชื่นชอบมากขึ้น ช่วยเพิ่มกำลังใจให้พนักงานจนบริการลูกค้าอย่างเป็นธรรมชาติ สตาร์บัคส์จึงสร้างพนักงานที่รักสตาร์บัคส์
แล้วคุณล่ะ! ชอบบริษัทตัวเองไหม?
Image : Food Business News
การสร้างแบรนด์มันใช้เวลานาน มันคือการลงทุนสร้างเป็นเวลานาน ถ้าอยากสร้างความรู้สึกว่าเป็นพื้นที่ที่สาม ต้นทุนที่ซึ่งขาดไม่ได้คือค่าอบรมพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และการลงทุนในร้าน
เราได้เห็นแล้วว่าสตาร์บัคส์ได้นำความคิดเรื่องต้นทุนคงที่นี้ ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มมาใช้
ผลลัพธ์จากการอบรมต้องใช้เวลา แต่สุดท้ายคนก็เห็นคุณค่า จึงกล่าวได้ว่า สตาร์บัคส์ไม่ได้แสวงหากำไรระยะสั้น แต่หวังกำไรระยะยาว
Source : แบรนด์ดังๆ เขาตั้งราคาสินค้ากันอย่างไร
Create : NokCB - Branding, Corporate Branding, Communications Branding & Consultant
============================
ติดตามทุกเรื่องเกี่ยวกับ การสร้างแบรนด์ การตลาด การโฆษณา ธุรกิจ ดีไซน์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ แบบลึกซึ้ง สนุกสนานได้ที่...
Facebook : BirdBrand
Blockdit : BirdBrand & Nok Creative Branding
โฆษณา