20 ก.พ. 2020 เวลา 11:48
เมื่อโลกต้องการนโยบายการคลัง more than ever🦸♀️🦸♂️
Policy makers กอบกู้โลก
เมื่อนโยบายแนว Monetarism อย่างการลดดอกเบี้ย ไม่ช่วยอะไรได้มากนัก นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านจึงปัดฝุ่นแนวคิด Neo-Keynesian และ Modern Monetary Theory (MMT) กลับมาอีกครั้ง
แนวคิดทั้ง 2 เป็นแนวคิดที่สนับสนุนให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงโดยใช้นโยบายการคลังเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ระดับการที่รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซง และดำเนินนโยบายนั้น ทั้ง2แนวคิดยังมีความต่างกันอยู่ โดย
Neo-Keynesian ยังให้ความสำคัญกับตลาดตราสารหนี้ ในการเป็นแหล่งเงินทุนให้กับรัฐบาลในการใช้จ่ายต่างๆ (เพราะงั้น ยังมีการคำนึงถึงรายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล)
ในขณะที่MMT พีคขั้นสุดจ้ะ คือรัฐบาลไม่ต้องพึ่งพาแหล่งรายได้จากไหนทั้งสิ้น ไม่ต้องพึ่งพาตลาดตราสารหนี้ ปริ้นเงินใช้เองเรื่อยๆ อย่าได้หยุด เพราะรัฐบาลจะมีเงินไม่พอได้ไง ในเมื่อเป็นคนเดียวที่ผลิตเงินบาทได้
สรุป MMT
ตามภาพ
อ่างน้ำคือสภาพเศรษฐกิจ
ส่วน 1.ก๊อกน้ำเปรียบเสมือนนโยบายการใช้จ่ายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน หรือการอัดฉีดต่างๆ
2.น้ำคือเม็ดเงินที่รัฐบาลอัดฉีด เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
3.ที่เปิดน้ำทิ้งคือมาตรการภาษี ที่รัฐบาลสามารถใช้ เมื่อเศรษฐกิจมีความร้อนแรงมากไป (น้ำเริ่มท่วมอ่าง)
4.ท่อน้ำทิ้งคือภาษีที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
จะเห็นได้ว่า MMT ไม่ได้มีการกล่าวถึงแบงค์ชาติและนโยบายการเงิน(การใช้ดอกเบี้ย)เลย
ช่วงนี้ MMT ถูกเอามาพูดถึงบ่อยในอเมริกา จากทาง สส.และ สว.ของเดโมแครต อย่าง Alexandria Ocasio-Cortez (AOC) และ Bernie Sanders ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ และก็ได้รับทั้งดอกไม้และรองเท้ากันอย่างท่วมท้น😆
Family tree ของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
MMT จริงๆเกิดมานานมาก แล้วก็เป็นลูกหลานเหลนโหลนของคุณทวด Adam Smith เหมือนกับหลักคิดอื่นๆ
จากภาพ MMT อยู่ด้านขวาล่างสุด ส่วนระบบปัจจุบันที่ส่วนมากใช้กันทั่วโลกคือขวาสุดอันที่2นับจากข้างบน ตรงที่มีชื่อ Bernanke (ประธานFed ช่วงวิกฤต2008)
สิ่งที่ MMT โดนด่าบ่อยคือประเด็นที่สนับสนุนให้รัฐบาลกู้เงินได้ไม่จำกัด โดยไม่ต้องกังวลว่า Debt ต่อ GDP จะขึ้นไปถึงไหน เพราะยังไงรัฐเองก็ปริ้นเงินมาจ่ายดอกจ่ายต้นได้อยู่แล้วนั้น ประเด็นนี้แหละที่โดนด่ามากสุดเพราะคนกังวลว่าจะทำให้เกิด วิกฤตด้านเงินเฟ้อ (คล้ายๆกับเวเนฯ)
โดยฝั่ง MMT โต้กลับว่า บ่ต้องกังวล เพราะถ้ามีเงินเฟ้อ รัฐจะขึ้นภาษีดูดซับเงินไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงเอง
MMT แนะนำเพิ่มเติมว่า ถ้าพวกคุณๆทั้งหลายกังวลเรื่องเงินเฟ้อมากนัก งั้นตอนที่รัฐบาลเข้าไปขอสภาว่าจะขาดดุลงบประมาณไปเท่าไหร่(จะสร้างหนี้เพื่อเอาไปลงทุนเท่าไหร่) เนี่ย ก็ให้ประมาณการมาเลยว่ามันจะเกิดเงินเฟ้อเท่าไหร่
และถ้าดูแล้ว การกู้ระดับนั้น มันจะทำให้เกิดวิกฤตก็ค่อยลดการขอกู้เอา ไม่ใช่มากำหนดที่อัตราส่วนหนี้ต่อ GDPตั้งแต่ตอนแรก
หนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยอยู่กลางๆ จากทั้งโลก
หนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศไทยช่วง10ปีที่ผ่านมา
ดูดูไป หนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยถือว่าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับนานาประเทศ โดยในช่วง 10ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับ 40% และกระทรวงการคลังกำหนดกรอบไว้ที่ 60%
ชาว MMT มาเห็นตัวเลขของไทย แล้วคงจะหมั่นเขี้ยว และอยากให้เพิ่มการก่อหนี้เป็นแน่😆
ก็อยากอธิบายชาว MMT นะคะ ว่าก่อหนี้อ่ะไม่กังวลจะกังวลมากกว่าว่าถ้าก่อหนี้แล้วเอาเงินไปลงทุนในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์เนี่ยแหละ หนักใจ😏
ส่วนตัวแล้ว แอบเห็นด้วยกับชาว MMT เรื่องการกู้ที่สามารถกู้ได้มากขึ้น (อาจจะเกิน 60%ได้เลยด้วยซ้ำ) เพราะไม่คิดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเยอะมาก แต่ก็นั้นแหละค่ะ ถ้ากู้มาแล้วรัฐบาลไม่สามารถเอาไปพัฒนาได้ ก็จะกลายเป็น2เด้ง
คือ นอกจากไม่ได้อะไรแล้ว หนี้ยังสูงแล้วขึ้นมาฟรีๆซะงั้น 😞
โฆษณา