17 ก.พ. 2020 เวลา 06:51 • ธุรกิจ
อะไรคือ “ความเข้าใจ” สำหรับคนที่ทำหน้าที่ “Product Owner”
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา บังเอิญได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับ Product Owner สองสามท่าน หัวใจของการสนทนามักพูดถึง “มันยากเนอะที่จะทำให้ Stakeholders ต่างๆ เข้าใจ” เพราะงานหลักของอาชีพนี้ คือ การสื่อสารระหว่างผู้คนแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผมเลยอยากยกตัวอย่าง “หน้าที่ๆ บทบาทนี้ควรสร้างความเข้าใจ”
“ความเข้าใจ” ที่คนอาชีพนี้ต้องมีและเกี่ยวข้อง มีดังนี้ครับ
เข้าใจ 1.”ความเข้าใจลูกค้า”
คำถามที่ที่ต้องทำให้ทีมเข้าใจ คือ “ใครคือลูกค้า?” “ลูกค้าต้องการอะไร?”
“จะเปลี่ยนความต้องการลูกค้าเป็น requirement ได้อย่างไร?” เป็นต้น
เข้าใจ 2.”ความเข้าใจเรื่องประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience)”
คำถามที่ต้องทำให้ทีมเข้าใจ คือ
“อะไรบ้างคือช่องทาง หรือ touch-points ที่ลูกค้าจะติดต่อกับ product หรือบริการของเราทั้งหมด?”
และ “มี benchmark หรือ Best practice ใดที่ควรจะเป็นแบบอย่างของ Customer Experience ที่ดี?” เป็นต้น
เข้าใจ 3.”ความเข้าใจเรื่อง Business Requirements”
คำถามที่ที่ต้องทำให้ทีมงานเข้าใจ คือ
“อะไรคือสิ่งที่ Business ต้องการทั้ง Product หรือ Feature ที่จะให้ทีมทำ?”
“Success ควรมีคำจำกัดความอย่างไรในสภาวการณ์หนึ่งๆ”
และ “หาก Fail ควรมีเงื่อนไขอย่างไรที่ทีมควรจะหยุด หรือรับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?” เป็นต้น
เข้าใจ 4.”ความเข้าใจในข้อจำกัดทางเทคนิค”
ข้อปฏิบัติที่ PO ต้องทำความเข้าใจเพื่อให้ตัวเองสามารถสื่อสารความคาดหวังของ business หรือประเมินความเป็นไปได้ของเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
โดย “PO ควรต้องมีความใกล้ชิดกับทีม development พอ ที่จะเข้าใจข้อจำกัดทางด้านเทคนิคต่างๆ เพื่อ balance ให้ business requirement เป็นไปได้มากที่สุด” เป็นต้น
เข้าใจ 5.”ความเข้าใจเรื่องลำดับความสำคัญของงาน Progress ของงาน หรือการปรับเปลี่ยน/แลกเปลี่ยน requirement งาน”
“As a good PO, คุณต้องทำให้ทีมเข้าใจ และมั่นใจได้ว่าทีมอยู่ที่จุดไหนของ milestone ในงานของตัวเองในแต่ละ sprint หรือใน roadmap ที่เกิดขึ้น”
“อะไรคือความสำเร็จที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และสิ่งที่ทีมต้องโฟกัสคือเรื่องอะไรกันแน่ในช่วงเวลาหรือสภาวการณ์หนึ่ง?” เป็นต้น
นอกจากสิ่งที่ PO ต้อง verify “เข้าใจทั้ง 5” ตามที่ได้กล่าวข้างต้น จุดสำคัญ อีกจุดของเรื่องการทำความเข้าใจการสื่อสาร ในโลกที่ทีมจะได้รับ message มาหลายรูปแบบ เช่น ถ้ามาจากหน่วยงานด้าน Business ตัว message form ก็จะเป็นรูปแบบนึง, ถ้ามาจากผู้บริหารก็จะเป็นรูปแบบที่แฝงอยู่ในใจความเป้าหมายหรือโจทย์ที่ทีมต้องทำ เป็นต้น
ดังนั้น PO จึงมีหน้าที่สำคัญมากที่จะวิเคราะห์และสังเคราะห์ Form ของ message ทั้งหมดว่าสิ่งใดคือ priority และ focus รวมถึงแก้ไข conflict ที่อาจมากับ message แต่ละแหล่งที่หลากหลาย เพื่อกรองเป็นสารที่เป็น Strategic value ให้ทีมเดินไปในทิศทางเดียวกันให้ได้
ดังนั้น สิ่งสำคัญของการสื่อสาร จึงต้องมีอุปนิสัยที่จะ “Share ความเข้าใจของตนเอง” เสมอ (อย่าเก็บคำถามไว้ในใจถ้าไม่จำเป็น!!! ไม่ต้องกลัวว่ามันจะผิด) ฝรั่งเขามาคำกล่าวว่า
“Product ownership is about proactively taking understanding to the team, so that they don’t have to come to you.”
และที่ต้องไม่ลืมคือ “ทักษะการสื่อสาร” ต้องหมั่นฝึกฝนนะครับ ไม่ใช่ว่าเราจะเข้าใจหลักการ แล้วจะทำได้ดีเยี่ยมเสมอไป ผมก็ยังต้องฝึกฝนทุกวัน ฝึกกับทีมที่มีความหลากหลายและแตกต่าง เพื่อเพิ่มพูนทักษะอย่างสม่ำเสมอครับ
“Practice make perfect.” :)
โฆษณา