18 ก.พ. 2020 เวลา 04:40 • ธุรกิจ
Ex-Change Rate คนค้าขาย-ส่งออก ต้องรู้ !!
Exchange Rate (อัตราแลกเปลี่ยน) Part 1
เมื่อมีผู้ประกอบการโทรมาถามผม เรื่องการตั้งราคาขาย เพี่อขายสินค้าไปต่างประเทศ
ผมก็พยายามจะอธิบายทางโทรศัพท์ให้ซึ่งค่อนข้างยาก !!
เพราะการ ตั้งราคาขายสินค้าไปต่างประเทศ มันมีองค์ประกอบมากพอสมควร แค่พูดว่าราคารวมค่าขนส่ง ก็ต้องทำโครงสร้างราคากันแล้ว แล้วจะส่งแบบไหนอีกล่ะ !!
แต่ Case นี้ก็ทำให้ผมนึกถึงประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง ที่มีผลต่อการ ตั้งราคาอย่างมาก
และเกือบทั้งหมดของผู้ส่งออกรายใหม่ๆจะลืมคิด ถึงเรื่องนี้ไป นั้นก็คือ Exchange Rate
Exchange rate ที่เปลี่ยนไป สามารถทำให้ธุรกิจที่ค้าขายกับต่าง ประเทศ สามารถขาดทุนได้เลย !!
ผมจะยกตัวอย่างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นให้ดูครับ ในปี 2560 นั้นผู้ส่งออกของไทยเราได้ประสบปัญหาจากอัตราแลกเปลี่ยน ถึงขนาดต้องร้องขอให้รัฐบาลลงมาช่วยแก้ปัญหาให้
เพราะค่าเงิน บาท(Baht) กับเงินสกุลดอลลาร์ (USD) มีการเปลี่ยน แปลงในทิศทางที่ผลกระทบสูงมาก
(หมายเหตุ : การค้าระหว่างประเทศนิยมใช้เงินสกุลดอลลาร์ (USD) เป็นหลัก)
โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะมีค่าสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเปรียบ เทียบกับเงินในสกุลดอลลาร์ โดยมีตัวเลขดังนี้
ในปี 2560 (2017) ในเดือน Jan = 35.19 B : 1 USD , June = 33.78 B : 1 USD , Dec = 32.53 B : 1 USD
จะเห็นว่าค่าเงินบาทเราเปลี่ยนไปจาก Jan กับ Dec โดยมีความ แตกต่างกันถึง 7.56 % และปรากฏการแบบนี้
เราเรียกว่า ค่าเงินบาทแข็งขึ้น 7.56 % เพราะเราสามารถใช้เงินบาทน้อยลง ในการเอาไปเปลี่ยนเป็น USD ดูแล้วเป็นเรื่องที่น่าภูมิ ใจนะครับ
(7.56% = {(100 x 32.58)/35.19) – 100%}
แต่สำหรับผู้ส่งออกแล้ว มันคือปัญหาใหญ่ เพราะมันคือ การขาดทุน หรือเจ๊งนะครับ ลองมาดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น :
1. ถ้าเดือน Jan 2017 คุณขายของไป 1 ชิ้นในราคา 1 USD /pc แน่นอนผู้ซื้อก็โอนเงินให้คุณ 1 USD เข้าไปในบัญชีของคุณ เมื่อคุณ ขอเปลี่ยนเงินนั้นเป็นบาทเพื่อเข้าบัญชีปกติ คุณจะได้เงินบาทเท่า กับ 35.19 B
2. แต่ถ้าเป็นเดือน June 2017 ถ้าคุณทำเหมือนข้อ 1 คุณจะได้เงินบาทเท่ากับ 33.78 B
3. แต่ถ้าเป็นเดือน Dec 2017 ถ้าคุณทำเหมือนข้อ 1 คุณจะได้เงินบาทเท่ากับ 32.53 B
(หมายเหตุ : อันนี้ผมจะไม่คิดถึงค่าธรรมเนียม หรือค่าดำเนินการที่สถาบันการเงินคิดเรา)
จะเห็นจากข้อ 1,2,3 แล้ว คุณจะได้เงินบาทลดลงไปเรื่อยๆ และถ้าวัดผลต่างจากเดือน Jan-Dec และเมื่อคิดเป็น % แล้ว คุณได้เงินบาทลดลงไป 7.56 %
น่าคิดว่าผลกำไรจากการค้าของคุณจะเหลือกี่ % ???
(Case Study : มาดู Classic Case ของปี 2540 (BC 1997) มันตรงกันข้ามเลยครับ ในปี 2540 ประเทศไทยเราโด่งดังมากในเรื่องวิกฤตทางเศรษฐ์กิจ จนได้สมญานามว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง (Tum-yam-kung Crisis)
ณ.ตอนนั้น มีการปรับให้ค่าเงินให้ลอยตัวตามความเป็นจริง จึงส่งผล กับอัตราแลกเปลี่ยน จากเดิมที่มีค่าเงินบาท อยู่ที่ 25 B : 1 USD กลายเป็น 50 B : 1 USD นั้นคือค่าเงินบาทอ่อนตัวลงถึง 100%
ตอนนั้นใครที่มีหนี้สินเป็นเงิน USD ก็ตายลูกเดียวครับ และผลของวิกฤตนั้น ก็ทำให้ประเทศไทยทั้งประเทศ แทบตายสนิท ยังดีที่มีภาคการเกษตรมาช่วยชีวิตเอาไว้
ผมเชื่อมีหลายท่านที่เคยประสบปัญหากับเหตุการณ์นั้น และนั้นก็เป็น เรื่องเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งหลังจากนั้นค่าเงินบาทก็มีปรับค่าสูงขึ้นมาโดยตลอด แต่ก็ปรับตัวไปตามความเป็นจริงของตลาดการเงิน)
กลับมาที่ปี 2017 คุณคงเห็นแล้วว่า ถ้าแนวโน้นของค่าเงินบาทแข็ง ตัวไปเรื่อยๆ จะมีผลกับการทำธุรกิจของแต่ละท่านแน่นอน และจะกระทบภาพรวมของการส่งออกของประเทศด้วย
(นี้เป็นข้อมูลของปี 2017 แต่ปัจจุบันปี 2019 ก็มีปัญหาหนักไม่แพ้กัน)
วันนี้ก็ให้ข้อมูลเพื่อให้คุณรู้และเข้าใจในเรื่อง Exchange rate เบื้องต้นก่อนครับ
ครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงวิธีป้องกันกันครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
By Anant Vachiravuthichai (Tangram Strategic Consultant)
#principle4biz #tangram
#professionalpurchasing #Internationaltrade
#parttimegm
Act to change มี 3 หัวข้อ ดังนี้
1.ก้าวสู่การเป็น Overseas Purchaser & Overseas Sale ด้วย Knowledge for International Trade
“ จัดซื้ออย่างมืออาชีพ (Professional Purchasing)”
“การสร้างรูปแบบความร่วมมือและการพัฒนาธุรกิจ”
(Co-operation & Development Model)
งานนี้จัดโดย Tangram Strategic Consultant
เจ้าของ FB Page : Principle4biz
------------------------------------------------------------------------
โฆษณา