21 ก.พ. 2020 เวลา 05:13
รีวิวหนังสือ: Healthy Aging – เกิด แก่ (ไม่)เจ็บ ตาย สูงวัยอย่างมีคุณภาพ
ในยุคที่หลายๆประเทศกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
แม้การแพทย์จะทันสมัยมากเพียงใด อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้นมากแค่ไหน แต่การมี "อายุยืน" เพียงอย่างเดียวนั้น ก็คงไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับ "การสุขภาพดี" เสียทีเดียว
1
การแพทย์สมัยนี้ทำให้ผู้คนอายุยืนยาวได้หลายวิธี
แต่หากอายุเราจะมากด้วยสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์พร้อม ด้วยสมองที่ไม่ครบสัมปชัญญะ ระยะเวลาที่การแพทย์ได้ยื้อออกมานั้น จะมีประโยชน์อะไร?
1
ยิ่งกรณีของประเทศไทย ซึ่งคาดการณ์กันว่า จะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ภายในยี่สิบปี แต่ติดปัญหาแค่ประเทศเราไม่ได้มีเศรษฐกิจที่ดีนัก จึงไม่ได้ "รวยก่อนแก่" เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เรากำลัง "แก่ก่อนรวย" ดังนั้นจะหวังให้รัฐเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขมาสนับสนุนในกาลนั้น ก็คงเป็นแค่ฝันกลางวัน...
จะดีกว่าไหม? ถ้าคนเกิดมา ใช้ชีวิตตามอายุขัยที่ DNA ได้โปรแกรมไว้ อย่างมีคุณภาพ ไร้โรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง ไร้ทุพพลลภาพ เมื่อสิ้นเวลาก็จากไปได้อย่างสงบ?
มีสุขภาวะที่ดี มี Healthy Ageing
องค์การอนามัยโลก (WHO) นิยาม Healthy Aging ว่า เป็นการเปลี่ยนผ่านสู่วัยชรา อย่างมีสุขภาวะที่ดี (Wellbeing) และยังสามารถคงความสามารถในเติมเต็มชีวิต (functional Ability) ไว้ได้
4
หนังสือ Healthy Aging เป็นผลงานเขียนของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ อดีตนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ที่มีผลงานตามสื่อต่างๆมากมาย ได้นำองค์ความรู้ต่างๆที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลมาหลายปี จากแหล่งงานวิจัยระดับโลก มาอธิบายอย่างแจ่มชัด เข้าใจง่าย และน่าเชื่อถือ
ตัวหนังสือจะแบ่งออกเป็น 5 Parts หลักๆ คือ
การเปลี่ยนมุมมองการสูงวัยแบบใหม่ ให้มองว่าเป็นโรคโรคหนึ่งที่สามารถรักษาหายได้
การกินอาหารให้มีอายุยืน
การออกกำลังกายแบบไหนที่ช่วยยืดอายุและทำไมจึงควรออกกำลังกายด้วยการวิ่ง
การนอนหลับที่ดีเป็นแบบไหน
ปิดท้ายด้วย แนวโน้มงานวิจัยเรื่องการใช้ยาต่างๆเพื่อการชะลอวัยยืดอายุ
สรุป Key Messages
จากที่เราอาจจะมองความแก่ เป็นการเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติ ให้เราลองมองว่าเป็นโรคโรคหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งมาจากเพราะ "ร่างกายแก่" ดังนั้น ให้มองความแก่เป็นโรค (aging as a disease) และเราสามารถรักษามันได้
หลักการคือ หากมีภาวะบางอย่าง ที่เสี่ยงจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นสูญพันธุ์ เช่น การขาดแคลนอาหารรุนแรง ภาวะนั้น จะทำให้เซลล์สามารถควบคุมหรือชะลอความแก่ลงไปได้ เพื่อยืดเวลาให้สิ่งมีชีวิตนั้นๆมีอายุยืนมากขึ้น เพื่อที่จะได้มีโอกาสสืบพันธ์มากขึ้น
ภาวะกดดันดังกล่าวที่ว่า คือ การอดอาหาร และ การออกกำลังกาย และมันคือกุญแจสำคัญในการชะลอวัย หรือแม้กระทั่งอาจถึงขั้นย้อนความแก่ และต้องนอนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้เต็มที่
การกินอาหาร : กิน Calories น้อยๆ (แต่ต้องมีสารอาหารครบ) และจำกัดเวลาการกินอาหาร(เพื่อมีช่วงเวลาที่ร่างกายอดอาหารนานๆ) ซึ่งมีหลายวิธี ที่ผู้เขียนแนะนำคือ เทคนิคTime-restricted Feeding (TRF)  - จำกัดเวลาการกิน 6-10 ชม. ต่อวัน  เพื่อให้ร่างกายมีช่วงเว้นว่างจากอาหาร 14-18 ชม. ทุกวัน
การออกกำลังกาย : ขั้นต่ำคือ ทำตามที่ WHO แนะนำ (Moderate Aerobic อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ Vigorous Aerobic อย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ หรือจะผสม 2 กิจกรรมก็ได้ และให้ออกกำลังกายกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ (Anaerobic Exercise) 2 ครั้งต่อสัปดาห์) แต่อ้างจากงานวิจัยต่างๆ ผู้เขียนแนะนำให้ทำมากกว่าที่ WHO แนะนำอย่างน้อย 3 เท่า
วิธีการออกกำลังกาย? ผู้เขียนแนะนำให้ วิ่ง เพราะหลักฐานต่างๆบ่งชี้ว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อเป็นนักวิ่งอยู่แล้ว และมีงานวิจัยต่างๆสนับสนุนเรื่องการวิ่งช่วยลดอาการสมองเสื่อม และยืดอายุขัยได้
การนอน : นอนแบบมีคุณภาพ คือต้องนอนให้ครบ 7-8 ชม และมีการนอนหลังแบบหลับตื้น แบบลึก และ หลับฝัน คืนหนึ่งจะมี cycle 2-3 รอบ
ยาเพื่อชะลอวัย (Anti-Aging) : มีแนวทางการใช้ยาหรืออาหารเสริมเพื่อยืดอายุขัยออกมามากมาย ซึ่งยังไม่มียาตัวใดๆที่สามารถให้ผลได้จริงๆ แต่ที่จับตาดูคือยา Metformin, Rapamycin , ยากำจัดเซลล์ชราภาพ และ ยาที่เพิ่มสาร NAD+ และ Sirtuin
2
ติตตาม อัพเดท บทความอื่นๆ ได้ที่ FB : ในโลกของคนอยู่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา