23 ก.พ. 2020 เวลา 02:37 • ไลฟ์สไตล์
ใครยังใช้อยู่ก็เลิกซะนะมันมีผลถึงลูกหลานนะครับ
หลายๆท่านคงเห็นตามโรงพยาบาลและสถานีอนามัยที่ติดป้ายหรือการประกาศให้งดใช้เลิกใช้สารเหล่านี้มาบ้างแล้วจริงๆแล้วมันอยู่ในอาหารที่เราทานทุกวันหรือเปล่าก็ไม่รู้🤔🤔🤔🤔
พาราควอตยังเป็นสารการก่อเกิด..ภาวะโรคอีกหลายโรคเช่นโรคเนื้อเน่าและโรคตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน😷😷😷😷
พาราควอต” จากสายสะดือสู่ทารก เสี่ยงเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า
“พาราควอต” จากสายสะดือสู่ทารก เสี่ยงเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า
พบเด็กหญิงวัย 4 ขวบใน ต.บุญทัน จ.หนองบัวลำภู อาจเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงที่รับสารพาราควอต ผ่านทางสายสะดือของแม่ เนื่องจากเป็นพื้นที่พบการใช้สารเคมี ในไร่อ้อย และสวนยางพารา เบื้องต้นพบเด็กกลุ่มเสี่ยงมีพัฒนาล่าช้า อายุ 4 ขวบแต่มีพัฒนาทางภาษาเท่าเด็ก 2 ขวบ
หลังมีการนำเสนอข้อมูลที่พบสารเคมีกำจัดวัชพืชในเลือดของแม่และสายสะดือทารกแรกคลอด ซึ่งเป็นผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลก กลายเป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญที่นำมาพิจารณากำหนดอนาคตสารเคมีที่มีชื่อว่า “พาราควอต”
ก่อนหน้านี้มีงานสำรวจจากมหาวิทยาลัยนเรศวร พบสารพาราควอตตกค้างในสิ่งแวดล้อม พื้นที่ ต.บุญทัน อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู และพบสถิติผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าจำนวนมาก ซึ่งสัมพันธ์กับช่วงเวลาของการใช้ยาฆ่าหญ้าในไร่อ้อยและยางพารา แต่ยังไม่เคยมีการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและหญิงตั้งครรภ์
จากเอกสารงานทางวิชาการของนักวิจัย 2 สถาบัน ไทยพีบีเอส ลงพื้นที่ เพื่อสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่า มีเด็กจำนวนมากพัฒนาการต่ำกว่าเกณฑ์ โดยที่แม่มีประวัติสัมผัสสารพาราควอต ขณะตั้งครรภ์
บ้านน้องตั๊กแตน แม้จะมีอายุเกือบ 4 ขวบ แต่น้องตั๊กแตนไม่ยอมพูดคุยกับคนอื่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบอกว่า ปกติเด็กวัยนี้ ต้องพูดคุยโต้ตอบได้เป็นประโยค การที่น้องตั๊กแตนไม่ค่อยพูดคุย จึงเป็นเรื่องผิดสังเกต เธอจึงขอประเมินพัฒนาการ เพื่อความชัดเจน
“และพบว่า น้องตั๊กแตนมีพัฒนาการด้านการใช้ภาษาเท่ากับเด็กวัย 2 ขวบครึ่ง ทั้งที่อายุเกือบ 4 ขวบแล้ว จึงสรุปว่า น้องตั๊กแตนอยู่ในกลุ่มเด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า แม่น้องตั๊กแตน ยืนยันว่า ที่ผ่านมาฝึกกระตุ้นพัฒนาการ ใส่ใจในการส่งเสริมโภชนาการลูก ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เธอรู้สึกกังวลและสงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุ”
ข้อมูลงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบสารเคมีกำจัดวัชพืชตกค้างในเลือดหญิงตั้งครรภ์และสายสะดือเด็ก ทำให้เธอแสดงความกังวลขึ้นอย่างชัดเจน เธอตั้งคำถามว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกสาว จะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่ เพราะว่าขณะตั้งท้องลูกคนนี้ ยังทำการเกษตรและใช้สารเคมีฆ่าหญ้า
ตอนนี้แม่น้องตั๊กแตนตั้งท้องลูกคนที่ 4 ได้ 5 เดือนแล้ว หมอบอกว่ามีเนื้องอกในมดลูก นอกจากสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเนื้องอก เธอยังเป็นห่วงสุขภาพและอนาคตของลูกที่อยู่ในท้องด้วย
ห่างจากบ้านของตั๊กแตน ไม่ถึง 1 กิโลเมตร เด็กชายวัย 1 ขวบเศษ มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติตั้งแต่แรกเกิด แม่ สงสัยว่าเป็นผลมาจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรหรือไม่ เพราะตอนตั้งท้อง เธอต้องขุดดินในพื้นที่ที่มีการฉีดยาฆ่าหญ้า คิดว่าน่าจะเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน
“ตำบลบุญทัน อ.สุวรรณคูหา เป็นชุมชนที่ถูกโอบล้อมด้วยไร่อ้อยและสวนยางพารา แหล่งน้ำของพื้นที่นี้ ทั้งน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน รวมถึงน้ำที่นำมาทำประปาหมู่บ้าน ตามรายงานการสำรวจของทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ตรวจพบว่ามีสารพาราควอต ซึ่งเป็นสารเคมีฆ่าหญ้า ปนเปื้อนตั้งแต่ 2 – 55 มิลลิกรัมต่อลิตร”
ผลงานวิจัยเรื่องไกลโฟเซตและพาราควอต ในแม่และทารก ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างประเทศ ศึกษาโดยมหาวิทยาลัยมหิดล พบหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 16 มีพาราควอตในเลือด 1 ถึง 150 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อคลอดลูกออกมา ยังพบพาราควอต อยู่ในสายสะดือทารกด้วย
ในงานวิจัยยังระบุถึงปัจจัยเสี่ยง ของการพบพาราควอตในแม่และทารก พบพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เก็บเกี่ยวผลผลิต และทำงานในพื้นที่การเกษตรในช่วงตั้งครรภ์
จ.หนองบัวลำภู ยังไม่เคยมีการเก็บข้อมูลเรื่องพาราควอตในแม่และทารก แต่สิ่งที่หญิงตั้งครรภ์มีประวัติในการสัมผัสสารเคมีเหล่านี้ ก็ทำให้ผู้หญิงที่เป็นแม่ทุกคนเกิดข้อสงสัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่าลูกของตัวเองได้รับผลกระทบจากสารเคมีหรือไม่ แต่ที่มากกว่านั้น คือคำถามที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ว่า จะต้องทำอย่างไร เพื่อให้ทุกอย่างดีขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กๆที่เกิดขึ้นมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่พวกเขาไม่มีสิทธิเลือก
สิทธิในการเลือกและการมีชีวิตอยู่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน....และสิทธิของผู้บริโภค
ทุกท่านก็เป็นผู้บริโภคก็มีสิทธิในการเลือกที่จะมีชีวิตอยู่และมีสภาวะแวดล้อมหรือความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยตาม...ตามหลักสิทธิผู้บริโภคสากล...ว่างๆเดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังนะครับคืนอาจารย์ไปหมดและ...😂😂😂😂
ชีวิตไม่ติดกรอบ.
นักพัฒนา/นักจัดกระบวนการออกแบบความคิด/นักขับเคลื่อนนโยบายทางสังคม 23 กุมภาพันธ์ 2563
โฆษณา