26 ก.พ. 2020 เวลา 13:24 • ธุรกิจ
ไทย ถูกสหรัฐฯถอดสิทธิ GSP
รับมืออย่างไรดี?
ทาง DITP ได้จัดเสวนา เพื่อให้ข้อมูลผู้ประกอบการ ในการปรับตัว รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP
1
โดยในงานมีตัวแทนผู้ประกอบการส่งออกอัญมณี (เครื่องเงิน) และอิเล็กทรอนิกส์ มาร่วมเสวนาด้วย
แอดมินจึงสรุปมาให้เพื่อนๆ ได้ทราบข้อมูลกัน หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย
════════════════
ง่ายที่สุด ในการหาค่าขนส่งทั่วโลก
════════════════
1) GSP (Generalized System of Preferences) เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศพัฒนาแล้วอยากกระตุ้นให้ประเทศกำลังเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงให้เป็นการลดภาษี
DITP
2) การที่จะได้สิทธิ ต้องมีเกณฑ์ว่า ประเทศนั้นๆ ไม่ใช่ High Income Country ตาม Rate World Bank ก็คือ รายได้ต่อหัว ประมาณ 380,000 บาทต่อปี (12,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี)
แต่ ไทยเรารายได้ต่อหัว ประมาณ 250,000 บาทต่อปี (8,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี) ก็เรียกได้ว่า "กำลังพัฒนา"
3) ถึงแม้สหรัฐฯ ปากบอกให้สิทธิทางภาษี 0% เป็นการให้ฝ่ายเดียว แต่จริงๆ มีกฎเกณฑ์เพิ่มตามที่ประเทศที่ได้ GSP ต้องปฏิบัติตาม นั่นก็คือ ไม่มี "Free Lunch"
4) ไทย คือ ประเทศที่ใช้สิทธิ GSP กับสหรัฐฯ มากที่สุด จากทั้งหมด 119 ประเทศ ที่ได้สิทธิ GSP
โดยไทยใช้สิทธิ 1 พันกว่ารายการ จาก 3,500 รายการ เทียบเป็น 15% จากการส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นสินค้ากึ่งวัตถุดิบ
DITP
5) ประเด็นที่ถูกตัดสิทธิ สหรัฐฯอ้างเรื่องประเด็นแรงงาน และประเด็นที่ไทยไม่นำเข้าหมูเนื้อแดงที่มีสารเร่งเนื้อแดง
อย่าลืมว่า เราต้องมองว่า GSP เป็นการให้ฝ่ายเดียว คือ เขาจะเลิกให้เมื่อไหร่ก็ได้
6) ผลกระทบมีมากถึง 40,000 ล้านบาท? อันนั้น คำนวณจากมูลค่าส่งออกตาม GSP ทั้งหมด แต่การต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นจากภาษีที่เพิ่มขึ้น ก็จะกระทบปริมาณการส่งออก แต่จะกระทบมากเท่าไหร่ต้องเจรจากับคู่ค้า
7) ในวิกฤตมีโอกาส ทางภาครัฐแนะนำให้ผู้ประกอบการปรับตัวหาตลาดใหม่ ที่ไม่ใช่สหรัฐฯ ทางภาครัฐพร้อมช่วยเหลือทั้ง
ตลาดตะวันออกกลาง, อเมริกากลาง, อเมริกาใต้ มีศักยภาพ ทดแทนสหรัฐฯได้
8) อัญมณีและเครื่องประดับ ส่งออกทั่วโลกกว่า 480,000 ล้านบาท ส่วนเครื่องเงินส่งออกถึง 48,000 ล้านบาท
โดยอเมริกานำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สินค้าตัวที่เราส่งไปเยอะที่สุดถูกตัด GSP ไปนานแล้ว เนื่องจาก market share เกิน 50% มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯถึง 25,000 ล้านบาท
คู่แข่งที่มาแรง ก็คือจีน อินเดีย เวียดนาม สู้กับเราอยู่ ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้นำเข้าเอง เขาก็มองหาของที่ราคาถูกกว่า
อัญมณีไทยเราส่งออกไปสหรัฐฯ มานานมากแล้ว เครื่องประดับไทยมีเสน่ห์ Craftsmanship ความปราณีต คุณภาพสินค้าไทยติดอันดับต้นๆ ของโลก
นั่นคือ ปัจจัย ที่ทำให้เรายังแข่งขันได้
9) อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ กระทบเยอะภาษีเพิ่มเป็น 2.7-6%
ปัญหาที่น่ากังวลก็คือ พอ GSP ถูกตัด ก็ไม่จำเป็นต้องมี Local content อีกต่อไป ชิ้นส่วนที่เป็น Critical part ก็ซื้อรอบนอกไทยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อในไทยอีกต่อไป
มีประเด็นเรื่องสินค้า IoT ต้องให้ทางภาครัฐช่วยเจรจา จัดหมวดสินค้าใหม่ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐฯ มีสินค้าโคมไฟ ถ้าเป็น IoT ได้ภาษี 0% หรือ 2.7%
1
ส่วนการหาตลาดใหม่ ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยเรา ทำแนวรับจ้างผลิตให้เจ้าของแบรนด์ต่างชาติซะมาก
10) ประเด็นเรื่องการเจรจานี้ ยังมีข้อติดขัด คือ คำว่า IoT (Internet of Things) หลายหน่วยงานในไทยไม่รู้จักสินค้า IoT ใช้เวลา 3 อาทิตย์ รับส่งเอกสารกันถึงจะเริ่มเข้าใจ ขณะที่เวียดนามอนุมัติ 1 อาทิตย์ อนุมัติไปเรียบร้อย
11) วิทยากร อธิบาย ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของผู้ส่งออก มี 4 ข้อ คือ
.
หนึ่ง Innovation-นวัตกรรม ของไทยเองยังต้องปรับปรุง เรื่องนี้ต้องใช้เวลา
.
สอง Quality-คุณภาพ ต้องบอกว่าข้อนี้ไทยได้เปรียบ เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก
.
สาม Speed-ความเร็ว ต้องมองว่าไทยทั้งระบบ ยังช้า เดี๋ยวนี้ไทยเราช้ากว่าเวียดนาม
.
และสี่ Scale-ขนาด ถือถ้า ทุกอย่างพร้อม Scale จะมาเอง
12) ข้อควรระวัง โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจขาลง ก็คือ หากคู่ค้าที่ซื้อขายกันมานาน แต่อยู่ๆดันสั่งซื้อเยอะขึ้นผิดปกติ พร้อมทั้งเจรจาเครดิตเทอมยาวขึ้น
ให้ ผู้ประกอบการ พึงระวังให้ดี เป็นสัญญาณเตือนว่า บริษัทลูกค้าอาจมีปัญหาอยู่ อาจเบี้ยวหนี้
ผู้ประกอบควรพิจารณาทำป้องกันความเสี่ยง เช่น ทำประกันกับ EXIM Bank เป็นต้น
13) สำหรับผู้ประกอบการ ที่จะเปิดตลาดส่งออกใหม่ ควรเน้น process ในการคิด ดังนี้
.
หนึ่ง รู้ข้อมูลตลาดให้มากที่สุด รู้ข้อจำกัด
.
สอง ดำเนินงาน ปรับตัวให้เร็ว
.
สาม หากเจอปัญหา ลองวิเคราะห์ว่าเกิดจากจุดไหน เจอปัญหา หาคนช่วยแก้ได้
.
และสี่ ทำซ้ำวนไป
14) ผู้ประกอบการรายใหม่ หากสนใจธุรกิจส่งออกอัญมณี มีโครงการคล้ายๆ พี่สอนน้อง เป็นบุคคลธรรมดาก็ได้ ติดต่อสมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทยได้
และหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐพร้อมสนับสนุนเต็มที่ ทั้ง DITP, Exim Bank เป็นต้น
15) โดยสรุป สหรัฐฯ ให้เกียรติประเทศไทย ถึงขนาดนี้ (ไม่ได้เป็น Developing Country แล้ว) เราก็ควรจะสู้อย่างสมศักดิ์ศรี กันซักตั้ง
แต่จะว่าไปปีนี้ก็ครบองค์ประชุมนะ...
Perfect storm
ทั้งนี้ จะมีอีกบทความแยกในหัวข้อตลาดตะวันออกกลาง จีน อินเดีย CLMV น่าสนใจมากๆ รอติดตามตอนต่อไปกันนะ
กดติดตามไว้หากไม่อยากพลาด
════════════════
ง่ายที่สุด ในการหาค่าขนส่งทั่วโลก
════════════════
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
❤️ ช่วย SMEs ก้าวไกลไปทั่วโลก
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
โฆษณา