1 มี.ค. 2020 เวลา 05:29
“อัตราการเสียชีวิต” และ “อัตราการติดเชื้อรุนแรง” ของ COVID-19
และแล้วเช้านี้ ผู้ป่วยไทยคนแรกก็เสียชีวิตลงจากโรค COVID-19...
สิ่งที่น่าสลดใจและน่าตกใจก็คือ ผู้ป่วยคนนี้อายุเพียง 35 ปี และไม่มีโรคประจำตัว!
โรคนี้ ไม่ใช่โรคที่คนหนุ่มสาวจะวางใจได้เลย
ตามสถิติอัตราการเสียชีวิต ขอยกตัวอย่างผู้ป่วยในวัย 30-39 ปี จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.2%
มีการแปลความที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับสถิติแบบนี้
ตัวเลขนี้ไม่ได้แปลว่าในกลุ่มเพื่อนของคุณ 1000 คน จะมีเพียง 2 คนที่อยู่ในกลุ่มผู้เสียชีวิต ไม่ได้แปลว่าถ้ามีเพื่อนคุณติดเชื้อเสียชีวิตแล้ว 2 คน อีก 998 คนจะปลอดภัยแน่นอน แล้วก็ไม่ได้แปลว่าในการติดเชื้อ 1000 ครั้ง จะมีการเสียชีวิต 2 ครั้ง
1
อัตราการเสียชีวิต 0.2% นี้ แปลว่า ทุกๆครั้งที่คุณติดเชื้อ คุณมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเสมอ โดยไม่ขึ้นอยู่กับว่าจะมีคนติดเชื้อ 1000 คนอื่นๆหรือไม่ ทุกๆครั้งที่คุณติดเชื้อ ก็เหมือนการโยนลูกเต๋าที่มี 1000 หน้า 1 ครั้ง และมีอยู่ 2 หน้าที่ออกแล้วแปลว่าจะต้องเสียชีวิต
1
โดยรวมแล้วโรค COVID-19 นี้มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 3% ซึ่งตัวเลขนี้ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนว่าสูงหรือต่ำ
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ค่อยไม่มีใครพูดถึงนักก็คือ “อัตราการติดเชื้อชนิดรุนแรง”
“การติดเชื้อชนิดรุนแรง” คือการติดเชื้อที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง”ระบบหายใจล้มเหลว” ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดรุนแรงนั้นไม่จำเป็นต้องเสียชีวิต แต่จะต้องทรมานเป็นอย่างมากและเป็นเวลานาน แม้ไม่ตาย ก็เรียกได้ว่าทรมานเหมือนใกล้ตายแล้ว แล้วเมื่อหายแล้วก็จะมีทุพพลภาพทางปอดติดตัวไประดับหนึ่งตลอดชีวิต
โดย “อัตราการติดเชื้อชนิดรุนแรง” นี้อยู่ที่ประมาณเกือบถึง 20%
ติดเชื้อครั้งหนึ่ง โยนลูกเต๋า 5 หน้า 1 ครั้ง และมีอยู่ 1 หน้าที่จะติดเชื้อชนิดรุนแรง
แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจะดูไม่สูงมากนัก แต่อัตราการติดเชื้อชนิดรุนแรงนั้นสูงมากๆ ดังนั้นการไม่ติดเชื้อย่อมดีกว่าแน่นอน ทุกๆคนจึงควรระมัดระวังตัวเอง ไม่ประมาทอย่างเด็ดขาด
สุดท้าย ก็ขอเป็นกำลังใจให้แพทย์และนักวิจัยให้ค้นพบยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพออกมาในเร็ววัน เพื่อลด “อัตราการเสียชีวิต” และ “อัตราการติดเชื้อชนิดรุนแรง” ของโรค COVID-19 นี้ลงให้เหลือน้อยที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม การค้นพบยาใหม่ๆนั้นต้องใช้เวลา แม้พวกเราจะช่วยพวกเขาคิดค้นยาเหล่านั้นไม่ได้ แต่สิ่งที่พวกเราทำได้ก็คือ การชะลอการระบาดใหญ่ภายในประเทศออกไปให้นานที่สุด
เพื่อให้ในวันที่ประเทศไทยมีการระบาดแล้วนั้น เราจะมีความพร้อมในการรักษาโรคนี้มากขึ้น เพราะการระบาดใหญ่ที่มาในช่วงที่เราไม่พร้อม ย่อมทำให้เกิดความสูญเสียมากมายอย่างแน่นอน!
📥Healthstory - เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว
อย่าลืมกดLike&Shareด้วยนะครับ^^
📥ติดตามเรื่องราวสุขภาพดีๆจากปากหมออีกได้ที่
โฆษณา