2 มี.ค. 2020 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ถอดบทเรียนจาก GARMIN จากที่เคยถูก Disrupt จาก Google Map จนต้องหยุด แต่ในที่สุดก็กลับมาได้อย่างสง่างาม
Forerunner 201 ตำนานเทรนเนอร์บนข้อมือระบบ GPS ตัวแรกของโลก ที่มา: www.garmin.co.th
ประมาณ 11-12 ปีที่ผ่านมา “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ได้มีโอกาสได้ทำงานในฝ่ายวางแผนการจัดซื้อในส่วนของการสำรวจวัตถุดิบกุ้งเลี้ยงและสัตว์น้ำอื่นๆ ในบริษัทที่มีขนาดใหญ่มากในขณะนั้น และการสำรวจก็เป็นการสำรวจที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากในตอนนั้น
นั่นคือการสำรวจและวางแผนร่วมกับเจ้าของฟาร์มเลี้ยงกุ้งและปลา โดยสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะมีปริมาณและขนาดที่ต้องการได้เท่าไรในเวลาที่เหมาะสม และต้องสามารถระบุว่าการเดินทางจะใช้เวลาเท่าไรด้วย
จึงเป็นสาเหตุที่ต้องใช้เครื่องระบุตำแหน่งบนพื้นโลก หรือที่เราเรียกกันว่า GPS (Global Positioning System) และเพื่อให้มีความแม่นยำมากที่สุดเครื่องนั้นตะต้องเชื่อมโยงกับดาวเทียมไม่น้อยกว่า 24 ดวง
1
เครื่องมือที่ได้ได้ขนาดนั้นและสามารถพกพาได้สะดวกก็มีเพียงยี่ห้อเดียวที่ราคาแพงมากๆ คือยี่ห้อ GARMIN ในตอนนั้นยังเป็นหน่วยวัดที่เป็นองศาและฟิลิปดา ซึ่งต้องนำมาคำนวณให้เป็นทศนิยมอีกครั้งโดยใส่สูตรการแปลงค่าลงไปใน MS Exel
นำรหัส GPS มาเชื่อมโยงกับรูปถ่ายและGoogle Earth
แล้วนำตัวเลขที่ได้มาเข้าโปรแกรมที่เชื่อมโยงกับรูปถ่ายเพื่อระบุสถานที่ที่ทำการถ่ายภาพไว้ สำหรับเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบในอนาคต ตอนนั้นได้มีโอกาสได้คุยกับเพื่อนที่ทำงานในกรมประมงที่เป็นระดับบริหาร บอกมาว่าข้อมูลนี้ก้าวหน้าและแม่นยำกว่าของทางราชการมาก
ในระหว่างนั้นก็ได้ใช้โปรมแกรม World MAP (ถ้าจำไม่ผิด) กับ Google Earth ที่ยังไม่ได้ทำ Google Map อย่างเช่นในปัจจุบัน หากต้องการข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุดก็ต้องจ่ายเงินให้ Google แต่ภาพที่ใช้ฟรีหลายภาพก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงิน นี่คือความเกี่ยวข้องกับ GARMIN ในอดีต หลังจากที่ออกจากบริษัทนั้นแล้วก็ไม่ได้เกี่ยวข้องข้อมูลด้านนี้อีกเลย
เครื่องระบุตำแหน่งดาวเทียมยุคแรกๆของ GARMIN
ตอนนั้น GARMIN เป็นผู้นำเรื่อง GPS อย่างแท้จริง ทั้งเครื่องระบุตำแหน่ง ทั้งเครื่องช่วยเดินทางในรถยนต์ แต่ระหว่างนั่น Google ได้พัฒนาเปิดตัวโปรแกรมใหม่ให้ชาวโลกใช้ฟรีนั่นคือ Google Map ที่มีความง่ายต่อการเข้าถึง เพราะต่อยอดจาก Smart Phone และที่สำคัญคือใช้ฟรีด้วย จนความจำเป็นของการใช้ GPS ของ GARMIN เสื่อมถอยลงไป ตอนนั้นก็คาดว่าคงจะมีสภาพอะไรไม่ต่างกับ NOKIA เพราะสถานการณ์ใกล้เคียงกันมาก
และเมื่อ 2 วันที่ผ่านมานี่เองได้บังเอิญฟังการวิเคราะห์ใน PODCAST ของ The Standard ทำให้เกิดความสนใจที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากเห็นจากเดิมที่ถูก Disruption อย่างรุนแรง แต่ยังกลับมายืนต่อได้และยังยืนต่อได้แบบสง่างามด้วย
ผู้ก่อตั้ง GARMIN ที่มา: www.garmin.co.th
ซึ่งในปัจจุบันหลายคนคงจะปฏิเสธิ์ไม่ได้ว่านาฬิกาข้อมือที่ใช้ออกกำลังกายและสามารถระบุตำแหน่งจากดาวเทียวได้ ภาพที่ขึ้นมาต้องมีชื่อ GARMIN อยู่อย่างแน่นอน และยังเป็นนาฬิกาที่มีจุดยืนของความเป็น Luxury (ของหรู) ที่แม้จะมีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมายแต่ยี่ห้อนี้ก็ยังเป็นผู้นำแถวหน้า และ GARMIN เป็นรายแรกของโลกที่ทำ Smart Watch ก่อนใครแต่ก็ล้มไปไม่เป็นท่า
เรามาถอดบทเรียนจาก GARMIN กันว่าทำไมเขาจึงกลับมาได้ทั้งที่แทบจะพับเสื่อเก็บของกลับบ้านใครบ้านมันของผู้ถือหุ้นไปแล้ว จากยอดขายที่ตกต่ำความนิยมสินค้าลดลงของสินค้าที่ GARMIN มี
สิ่งที GARMIN มีคือนวัตรกรรม GPS และนวัตรกรรมด้าน Smart Watch มีระบบปฏิบัติการของตนเอง ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในวันหนึ่งที่ตลาดเริ่มตอบรับเพราะมีผู้เล่นรายใหญ่เกิดขึ้นมาคือ Apple Watch และผู้คนเริ่มเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย GARMIN เองที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า จึงสบโอกาสถูกเวลาออกผลิตภัณฑ์ Smart Watch
GPS ติดรถยนต์ ที่มา: www.garmin.co.th
นอกจากนี้ยังมีการวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ให้ตนเองเป็น Luxury Gadget ที่ผู้เล่นรายอื่นทำไม่ได้เท่าเขา ทำให้ GARMIN ปัจจุบันมีรายได้มากกว่า 1 แสนล้านบาทในปี พ.ศ. 2561 และรายได้หลักก็มาจาก Smart Watch นั่นเอง
ด้วยจุดมุ่งหมายการวางกลยุทธ์การตลาดที่ทำให้ GARMIN เป็นสินค้าเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เรื่องความหรูหราแล้ว GARMIN เองยังทำให้เห็นว่าผู้สวมใส่ต้องเป็นผู้มีระดับและยังเป็นผู้รักสุขภาพด้วย
ยังมีหลายรุ่นที่ราคามากกว่าแสนบาทขึ้นไป ที่สามารถแข่งขันกับนาฬิกาหรูหลายยี่ห้อได้ ไม่ว่าจะเป็น ROLEX Audemars Piguet,.Vacheron Constantin, Patek Philippe เป็นต้น
ผู้สวมใส่ต้องเป็นผู้มีระดับและยังเป็นผู้รักสุขภาพด้วย ที่มา: ชwww.garmin.co.th
เชื่อว่าอีกไม่นาน GARMIN คงไม่ใช่ผู้นำด้าน Smart Watch เท่านั้น ยังจะสามารถขึ้นเป็นผู้นำด้านสินค้ากลุ่มของหรูที่ใช้สวมใส่ด้วย (Luxury Wearable) จากการที่รักษาจุดแข็งพร้อมกับพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ยังไม่ใช่ รอให้ถึงช่วงเวลาที่ลงตัว
และมีการวางกลุ่มลูกค้า (Segmentation) เป้าหมายหลัก (Targeting) และตำแหน่งสินค้า (Positioning) ไว้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เรื่องเช่นนี้คงอาศัยความบังเอิญไม่ได้ สิ่งนี้ต้องมาจากความมุ่งมั่นที่มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลและชัดเจน
ที่มา: www.garmin.co.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
YouTube Channel The Standard ตอน วางกลยุทธ์อย่างไรในโลกที่คาดเดาไม่ได้ ตอน 1 เมื่อคุณไม่ได้มีอนาคตเดียว
ทำไมต้อง Garmin? https://www.garmin.co.th/company/about/
เหตุผล ทำไมต้องเลือกนาฬิกาออกกำลังกาย Garmin https://tsmactive.com/blog/Garmin-Selection
ข้อมูลเพิ่มเติม:
จีพีเอส (GPS) มีชื่อเต็มว่า Global Positioning System หรือแปลภาษาไทยก็คือ “ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก” เป็นระบบที่ดาวเทียมประมาณ 24 ดวงโคจรรอบโลกและแต่ละดวงมีระยะห่างเท่าๆกัน (ที่มา prosoftgps.com)
GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Services คือระบบบริการเสริมที่รองรับการรับส่งข้อมูลที่เป็นที่นิยมในสมัยก่อนที่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะเข้ามาแทนที่ ซึ่ง GPRS จะส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ Packet มันสามารถรับส่งข้อมูลหรือข้อความ (ที่มา cartrack.co.th)
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา