4 มี.ค. 2020 เวลา 05:16 • ประวัติศาสตร์
ชีวิตและผลงานแพทย์เอกของโลก หมอกาเล็น(Clausdius Galens);แพทย์เลื่องชื่อขวัญใจจักรพรรดิโรมันและเหล่ากลาดิเอเตอร์ ตอน 3(ตอนจบ)
(Cr:www.famousscientists.org/galen/)
ต่อจากตอนที่แล้ว หลังจากที่แพทย์กาเล็นตัดสินใจปิดคลินิก เพราะโดนพวกบรรดาแพทย์โรมันเจ้าถิ่น ปล่อยข่าวทำลายชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือต่างๆนานา
ในเวลาต่อมา แพทย์กาเล็นจึงตัดสินใจไปเช่าสถานมหรสพ หอประชุมศาลาประชาคมต่างๆในกรุงโรม เปิดสาธิตและทำการทดลอง(Demonstration & Experiments) เกี่ยวกับสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์(Physiology&Anatomy) โดยใช้หมู(Pigs)และลิง(Barbary Apes)มาทำการผ่าตัดและศึกษากล้ามเนื้อและโครงกระดูก
Galen's public demonstration( cr:www: wikimedia commons)
ต้องยอมรับนะคะว่า ในยุคสมัยของแพทย์กาเล็นนั้น ไม่สามารถนำศพมนุษย์มาผ่าตัดชำแหละได้เลย เพราะเป็นเรื่องต้องห้ามและผิดกฎหมาย
การจัดสาธิตของแพทย์กาเล็น ตามหอประชุมต่างๆนั้นมีผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนักธุรกิจ ข้าราชการชั้นสูง ผู้ปกครองรัฐและกงสุล ....กระทั่งเวลาต่อมา มีกงสุลโรมันท่านหนึ่งซึ่งชื่นชม ยกย่องในตัวแพทย์กาเล็นอย่างมาก ว่าเป็นแพทย์ที่เก่งและเชี่ยวชาญมากที่สุดในกรุงโรม (ซึ่งแพทย์กาเล็นได้ให้การรักษาภรรยาท่านกงสุลให้หายป่วยจนอาการดีขึ้นจากโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งแพทย์อื่นรักษาไม่หาย)
ท่านกงสุลท่านนี้ ให้เงินรางวัลแก่แพทย์กาเล็นจำนวนหนึ่งพร้อมจัดสร้างหอปฏิบัติการ(Laboratory) เพื่อจะได้ใช้เป็นที่ทำการศึกษาเรียนรู้สรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ พร้อมทั้งช่วยจัดหาสัตว์ต่างๆมาให้ด้วย แต่แพทย์กาเล็นเลือกเฉพาะลิงเพียงอย่างเดียว เพราะมีลักษณะกายวิภาคใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด
ในปีค.ศ 167 แพทย์กาเล็นได้ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่เปอร์กามอน(หลังจากสาธิตเรื่องกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์อยู่หลายปี) เชื่อกันว่าแพทย์กาเล็นหนีโรคระบาด(กาฬโรค)ที่กำลังคุกคามอย่างหนักในกรุงโรมขณะนั้น
ในฤดูหนาวของปี ค.ศ.168 ในขณะที่แพทย์กาเล็นอยู่ที่เปอร์กามอนบ้านเกิด......แพทย์กาเล็นได้รับสาสน์จากจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัส(เป็นจักรพรรดิโรมันครองราชย์ในช่วงปีค.ศ.162-180) ....ซึ่งในระหว่างนั้นได้ทรงนำกองทัพไปรบในสมรภูมิทางภาคเหนือของประเทศอิตาลี ในสงครามเยอรมันนิคส์(Germanics War ) แม่ทัพนายกองผู้เก่งกล้าของพระองค์ได้ล้มป่วยลงหลายคน พร้อมๆกัน แพทย์สนามไม่สามารถรับมือได้ พระองค์ได้ร้องขอวิงวอนให้แพทย์กาเล็นรีบเดินทางไปยังแนวรบ ....แพทย์กาเล็นไม่อาจปฏิเสธได้ จึงเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำร้องขอของพระองค์
จักรพรรดิโรมัน Marcus Aurelius (Cr:wikipedia
แพทย์การเล็นได้ให้การรักษาดูแลทหารในกองทัพที่เจ็บป่วย....เป็นที่พอพระทัยแก่จักรพรรดิเป็นอย่ามาก
ในที่สุดเมื่อสงครามยุติลง โดยจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัสเป็นฝ่ายได้ชัยชนะเหนือศัตรู .....จากนั้นจึงนำกองทัพกลับกรุงโรม ประชาชนให้การต้อนรับและฉลองชัยกันอย่างเอิกเกริก ส่วนแพทย์กาเล็นนั้นก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญและสดุดีเทียบเท่าวีรบุรุษสงครามเช่นกัน....
ในเวลาต่อมาแพทย์กาเล็นได้ลาออกจากการเป็นแพทย์ในกองทัพ มาทำการศึกษาค้นคว้าและทดลอง เพื่อทุ่มเทในการเขียนตำราทางการแพทย์อย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิมาร์คัส ยังคงร้องขอให้แพทย์กาเล็นคงอยู่รับใช้ ในตำแหน่งหมอหลวงประจำราชสำนัก ควบคู่กับการเขียนตำราการแพทย์
นายแพทย์กาเล็นได้ใช้ชีวิตในกรุงโรมต่อมาเป็นเวลานานถึง 30 ปี ....แม้ว่าภายหลังจากจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัสสิ้นพระชนม์แล้ว แพทย์กาเล็นยังคงเป็นหมอหลวงประจำราชสำนักดูแลจักรพรรดิของโรมันองค์ต่อๆมาอีก คือจักรพรรดิลูซิอัส ออเรลิอัส โคโมดัสและจักรพรรดิเซเวียร์อัส
ในช่วงชีวิตของแพทย์กาเล็นนั้นถือได้ว่าท่านได้มีคุณูปการต่อความก้าวหน้าทางวงการแพทย์อย่างยิ่งนัก
เพราะด้วยประสบการณ์ที่เคยผ่านการรักษาเหล่ากลาดิเอเตอร์มามากมายและเป็นแพทย์ของกองทัพโรมันในสนามรบ ได้พบเจอบาดแผล ในรูปแบบต่างๆมีโอกาศได้สัมผัสและศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย
ต่อมาแพทย์กาเลน จึงได้จัดพิมพ์ตำราเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ( Kinesiology) ขึ้นเป็นเล่มแรก ซึ่งชื่อกล้ามเนื้อและกระบวนการทำงานของกล้ามเนื้อ และคำศัพท์ต่างๆส่วนใหญ่ เป็นรากฐานของตำรากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ (Human Anstomy Book) ที่ยังใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
ในช่วงชีวิตของแพทย์กาเลนนั้นได้เขียนตำราทางการแพทย์ไว้มากมาย รวบรวมเป็นเล่มใหญ่ได้ถึงราว 20 เล่ม( แต่ละเล่มหนาราว 1,000 หน้า) โดยเขียนไว้ราว 400 เรื่อง รวมทั้งพจนานุกรมทางการแพทย์ขนาดใหญ่รวม 5 เล่ม
ด้วยเหตุนี้แนวทางการรักษาผู้ป่วยของแพทย์กาเล็นจึงส่งอิทธิพลต่อแพทย์รุ่นต่อๆมายาวนานโดยไม่มีผู้ใดเทียบได้ถึง 1,500 ปี (ครอบคลุมตลอดยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ Renaissance)
แพทย์กาเล็นจึงได้รับการยกย่อง เป็น " บิดาแห่งการทดลองสรีรวิทยา " และยังมีสมญาอื่นๆอีกเช่น " เจ้าชายแห่งการแพทย์ " บางตำรายกย่องให้เป็น " บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์ " อีกด้วย
ในบั้นปลายของชีวิต แพทย์กาเล็นยังได้รับเชิญให้ไปบรรยาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรุงโรม จนกระทั่งสิ้นสมัยของจักรพรรดิพับลิอุส เฮลวิอุส เปอร์ติแนกซ์( Publius Helvius Pertinax,126-193 A.D. ) แพทย์กาเล็นจึงออกเดินทางจากกรุงโรม ท่องเที่ยวไปยังเมืองต่างๆและเสียชีวิตลงที่เกาะซิซิลี( Sicily Island )ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในปีค.ศ. 200 รวมอายุประมาณ 70 ปี
😍😍ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านมาโดยตลอดนะคะ❤️❤️❤️
😋ต่อๆไปจะหาเรื่องราวน่าสนใจมาให้อ่านมากขึ้นเรื่อยๆคะ ❤️ฝากกดlike&share และติดตามด้วยนะคะ /ขอบคุณค่ะ🙏🏼
Dent-jastmine เรียบเรียง
Ref.
-www.famousscientists.org/galen/
-www.schoolhistory.co.uk/notes/clausdius-galen/
-www.greekmedicine.net/whos_who/galen.html
-หนังสือแพทย์เอกของโลก
โฆษณา