4 มี.ค. 2020 เวลา 06:15 • การเมือง
จ่ายเงินวิ่งเต้นคดีมีอำนาจฟ้องหรือไม่
#โจทก์จ่ายเงินวิ่งเต้นคดีถือว่ามีอำนาจฟ้องหรือไม่
#วิเคราะห์ฎีกาใหม่ (ฎ.1666/2562)
กรณีการกระทำความผิดอาญาในข้อหาและสินบนแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 ถ้ามองแบบผิวเผินอาจจะเห็นว่า โจทก์หรือผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย เนื่องจากเป็นการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด กล่าวคือมีส่วนร่วมในการนำเงินนั้นไปกระทำความผิดหรือวิ่งเต้นคดี ตามที่เคยมีคำวินิจฉัยของศาลสูงหลายคดีเคยวินิจฉัยเอาไว้
แต่มีข้อสังเกตในคำพิพากษาฎีกานี้กล่าวคือ หากกรณีที่โจทก์หรือผู้เสียหายนั้น มิได้มีเจตนาตั้งแต่แรกในการวิ่งเต้นคดี
โดยในข้อเท็จจริง ตามคำพิพากษาฉบับยาวท่อนหนึ่งได้มีรายละเอียดที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยนั้นได้ไปหาโจทก์ (ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ต้องขังในคดีหนึ่ง) ที่บ้าน 2-3 ครั้งและอ้างว่าจะช่วยโจทก์ให้สามารถทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษแก่สามีของโจทก์ ที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตได้
โดยศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กรณีดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาตั้งแต่แรกที่จะวิ่งเต้นคดีให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่โจทก์ก็ทำไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ถึงไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
โจทก์(หรือผู้เสียหาย) #จึงถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยสามารถนำคดีมาฟ้องได้ ทั้งนี้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2562
คำพิพากษาฎีกานี้จึงเป็นอีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นการอุดช่องว่างในทางปฎิบัติให้ บุคคลที่เจตนาทุจริตหลอกลวงผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ในการวิ่งเต้นคดี ได้ตระหนักมากขึ้น
ภูดิท โทณผลิน
4/3/2563
โฆษณา