7 มี.ค. 2020 เวลา 04:39 • ความคิดเห็น
กรณีน้องนักศึกษาที่ติดเชื้อ Covid-19
เคทอยากพูดถึงเรื่องนี้โดยแบ่งเป็น 3 กรณีนะคะ
1) กรณีแรกนี้ เป็นเรื่องของ ความเข้าใจผิด
(misleading)
เข้าใจดีว่าสังคมตอนนี้อยู่ในช่วงแห่งภาวะความวิตกกังวล โดยส่วนนึงมาจากความไม่มั่นใจต่อรัฐ เช่น การจัดการปัญหาต่างๆที่ดูไร้ประสิทธิภาพ และรวมถึงปัญหาจากภายนอก นำมาซึ่งความกังวลและปัญหาต่างๆมากมาย
แต่...กับกรณีล่าสุดนี้ เคทอยากให้ทุกคนใจเย็นกันนิดนึง อย่าเพิ่งด่าทอน้องกันมากเลยค่ะ เพราะน้องก็ถือเป็น 1 ในผู้เสียหายจากภัยพิบัตินี้เช่นกันค่ะ (ถ้าจะด่า หลักๆคือด่ารัฐ โทษรัฐเถอะค่ะ ที่ไม่มีมาตรการชัดเจนตรงนี้)
ที่สำคัญคือ หากดูไทม์ไลน์กันดีๆ น้องไม่ได้มีเจตนาปกปิด หรือ จะใช้ชีวิตลั้นลาอะไรนะคะ (อ้างอิงข้อมูลจากเวิร์พ้อยนิวส์ ดูในคอมเม้น)
ช่วงวันที่ 26 ก.พ. ที่น้องถึงไทย ยอดติดเชื้อที่อิหร่านรายงานยังไม่ถึงหลัก 100 คนเลยค่ะ ซึ่งมันน้อยมากนะคะตอนนั้น(ในแง่ความเสี่ยง) แต่ในรายงานข่าวส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ ทำให้คนเข้าใจผิดกัน (เพราะคนส่วนมากก็ไม่หาข้อมูลด้วย)
อีกทั้งตัวน้องเองก็ไม่มีอาการ แล้วทางการก็ไม่ได้มีมาตรการให้รายงานตัวหรือตรวจอะไรจากคนที่มาจากอิหร่านตอนนั้น(ตรงนี้สำคัญมาก) และที่สำคัญ คือ ถึงแม้ถ้าตรวจตอนนั้นก็ไม่อาจไม่พบเชื้อนะคะ อิหร่านตอนนั้นระดับความเสี่ยงถือว่าน้อยกว่า ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์มากค่ะในแง่ของรายงานผู้ติดเชื้อ
ทีนี้พอกลับถึงไทย ได้แค่วันสองวันตัวเลขที่อิหร่านก็พุ่งค่ะ
แล้วพอมาวันที่ 2 มี.ค. = 5 วันเองนะคะที่ทราบจากเพื่อนว่าติดเชื้อ และวันรุ่งขึ้นก็เข้าปรึกษาหมอ(น้องไม่ได้ถูกทางการเรียกนะคะ จริงๆควรเรียกรายงานตัว)
และวันที่ 5 เราก็ทราบว่าติดเชื้อจาก สธ นั่นแหละค่ะ
2) เรื่องมาตรการตรวจคัดกรอง หรือการฟอลโล่ผู้เสี่ยง และการจัดการต่างๆ รัฐต้องออกมาตรการรับมือที่ชัดเจน แจ้งรายงานสถานการณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชน เพื่อลดความตื่นตระหนกและไม่เสียขวัญจนเกินไป (ตรงนี้มันไม่ชัดเจนจริงๆค่ะ)
อย่างกรณีที่เกิดขึ้นล่าสุด จริงๆถ้ารัฐมีมาตรการคุมเข้มสักนิดกับคนที่เดินทางกลับมาไทย (ในกรณีนี้อาจเรียกตัวย้อนหลังเนื่องจากอัตราเสี่ยงของอิหร่านเพิ่มขึ้น) โดยให้รายงานตัวเป็นระยะ และเช็คกับ ร.พ. และอยู่แต่ในบ้านเป็นส่วนใหญ่เพื่อดูอาการติดตามฟอลโล่ น่าจะช่วยให้สถานการณ์ต่างๆดีขึ้นมาก รวมถึงเคสผีน้อยที่พึ่งกลับรวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาพร้อมกัน และนักท่องเที่ยวที่มาจากกลุ่มเสี่ยง ต้องฟอลโล่และรายงานสถานการณ์ให้ประชาชนทราบจะได้ไม่กังวลระแวงจนเสียขวัญ
แนะนำมาตรการในการจัดการให้กับ ผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ ว่าควรรับมือยังไง การที่ห้างร้านหรือธนาคารมาปิดบริการหลังจากมีผู้เสี่ยงไปใช้บริการ มันดูตลกอ่ะบอกตรงๆ มันเกินกว่าเหตุไปและเหมือนวัวหายล้อมคอกอ่ะ (อันนี้กรณีนี้ที่เอมควอเทียทำได้ดี ใกล้เคียงกับที่ไต้หวันทำเลยค่ะ)
3) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดกรณีนักศึกษาติดเชื้อ สะท้อนชัดเจนแล้วว่า หากไม่มีการเข้าตรวจ ยอดผู้ติดเชื้อก็จะไม่เพิ่ม ดังนั้นหมายความว่า ณ ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อเกินกว่ายอดที่รายงานค่ะ แค่ยังไม่พบเฉยๆ จนกว่าจะแสดงอาการหรือเข้ารับการตรวจ
ดังนั้น รัฐต้องเร่งตรวจค่ะ ซึ่งสัมพันธุ์กับข้อ 2 ข้างต้น
และทำให้เราเข้าใจว่าเหตุใดอิหร่านจึงมีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น เคทจับข้อสังเกตุได้จากกรณีน้องนักศึกษาคือ
น้องเข้าละหมาดที่มัสยิดค่ะ !! ด้วยความที่เป็นอิสลามเขาจึงให้ความสำคัญกับการละหมาดมาก ดังนั้น จุดนี้เลยแพร่เชื้อได้ไวมากกกก
ทีนี้ลองนึกภาพรัฐอิสลามอย่างอิหร่านดูสิคะ นอกจากเมืองท่องเที่ยวที่มีความเสี่ยงมากแล้ว พิธีกรรมบางอย่างก็ควรต้องงดนะคะ และแน่นอน นั่นหมายถึง สงกรานต์นี้ต้องงดแล้วล่ะค่ะ
ช่วงบ่ายๆถ้ามีเวลาจะมาพูดถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่ออกมาล่าสุดนะคะ
มิ้วๆ
โฆษณา