8 มี.ค. 2020 เวลา 11:36 • ประวัติศาสตร์
เล่าเรื่อง...เมื่อ 53 ปีที่แล้วกับการผ่าตัดหัวใจครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก
เครดิตภาพ:www.Journal.ie
ก่อนศตวรรษที่ 20 หากพูดถึงการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมนุษย์...ถือเป็นเรื่องที่เกินจะจินตนาการได้ เหมือนเป็นเรื่องของนิยายวิทยาศาสตร์ที่ท้าทายวงการแพทย์มิใช่น้อย ทั้งในด้านความเสี่ยงเพราะด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่เป็นศูนย์รวมของระบบไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย
ทั้งในด้านของกฏหมายและจริยธรรม เพราะในช่วง 50 กว่าปีก่อน แม้แต่ในสหรัฐอเมริกานั้น หากการผ่าตัดนำหัวใจของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตายแต่หัวใจยังเต้นอยู่ มาเปลี่ยนให้คนไข้อีกคนหนึ่ง ยังถือว่าไม่เป็นที่ยอมรับได้ในทางกฏหมาย
ในช่วงบุกเบิกหรือริเริ่มการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง...โดยการผ่าตัดเอาหัวใจมนุษย์ของอีกคนหนึ่งมาใส่แทนนั้นมีทั้งกลุ่มคนที่เห็นด้วยและกระแสต่อต้านมากมาย.....แต่แพทย์ที่มีหัวใจมุ่งก็ยังคง ไม่ลดละความพยายาม เพราะความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ใดใดก็ตามย่อมมาจากก้าวแรก.....ที่ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกไว้
ก้าวเล็กๆแห่งความสำเร็จ เริ่มจากแพทย์ 2 ท่านที่มีความพยายาม ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือศัลยแพทย์ คริสเตียน บาร์นาร์ด(Christian Barnard)จากแอฟริกาใต้และศัลยแพทย์นอร์แมน ชุมเวย์(Norman Shumway)จากสหรัฐฯ
ศัลยแพทย์คริสเตียน บาร์นาร์ด(เครดิตภาพ;www.en.m.wikipedia)
นพ.คริสเตียน บาร์นาร์ดนั้นมีประวัติเกิดเมื่อค.ศ.1922 ที่ Cape Province ประเทศแอฟริกาใต้ มีบิดาเป็นนักการศาสนา มีพี่น้อง 4 คน มีน้องชายคนหนึ่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจตั้งแต่อายุ 3 ขวบ
เมื่อโตขึ้น บาร์นาร์ดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนแพทย์ของมหาลัย เคป ทาวน์(University of Cape Town)และจบแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ในปี ค.ศ.1945 หลังจากนั้นได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาล กรูต เชอร์(Groote Schuur Hospital) เมืองเคปทาวน์....ต่อมาได้รับทุนไปศึกษาต่อด้านศัลยกรรมที่ มหาวิทยาลัย มินเนโซตา ( University of Minnesota )สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 2 ปี ในช่วงนี้เองที่ บาร์นาร์ด ได้พบกับ...นพ.นอร์แมน ชุมเวย์ ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคในการปลูกถ่ายหัวใจให้นพ.บาร์นาร์ด
ศัลยแพทย์นอร์แมน ชุมเวย์(เครดิตภาพ:www.revespcardiol.org)
สำหรับนอร์แมน ชุมเวย์นั้นถือได้ว่าเป็นผู้ที่พยายามบุกเบิกการผ่าตัดหัวใจอย่างแท้จริง เนื่องด้วยชุมเวย์กับริชาร์ด โลเวอร์ศัลยแพทย์ทรวงอกชาวอเมริกันแห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด(Stanford University)ได้พยายามพัฒนาการผ่าตัดตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950 และมีลูกศิษย์มากมาย โดยทั้งแพทย์ทั้งสอง ได้พยายามผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจให้แก่สุนัขสำเร็จมาก่อนหลายราย
แต่เพราะข้อจำกัดทางกฏหมายในสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงใช้การหยุดการทำงานของหัวใจในการประกาศการเสียชีวิตของคนไข้เป็นหลัก ไม่ใช่ภาวะสมองตาย ต่างจากกฏหมายที่แอฟริกาใต้ที่เปิดกว้างมากกว่า
เมื่อบาร์นาร์สำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางกลับแอฟริกาใต้ โดยอาศัยกฏหมายที่ตีความเรื่องการเสียชีวิตที่สามารถตัดสินจากอาการสมองตายได้ด้วยแล้ว จึงไ้ด้เริ่มปลูกถ่ายหัวใจให้แก่คนไข้โดยได้นำความรู้และเทคนิคจาก นพ.ชุมเวย์มาต่อยอด
ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1976 ประวัติศาตร์จึงได้จารึกไว้ว่า คริสเตียน บาร์นาร์ด ได้เป็นศัลยแพทน์คนแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายหัวใจจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้สำเร็จ
ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.1976 ได้มีคนไข้รายหนึ่งชื่อ หลุยส์ วอชคันสกี(Louis Washkanky) มีถูกส่งตัวมาที่ รพ.กรูต เชอร์ ในภาวะที่ช็อกหมดสติ ผู้ป่วยรายนี้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและมีอาการของโรคหัวใจแทรกซ้อนตามมา แม้ว่าจะต้องกู้ชีพเขาให้ฟื้นกลับคืนมาได้แต่การทำงานของหัวใจก็ทำงานได้เพียง 1 ใน 3เท่านั้น เขาจึงอยู่ในอาการโคม่า แค่พอตอบสนองพูดคุยได้ด้วยเสียงที่แผ่วเบา หากหัวใจยังคงอ่อนแรงต่อไปเรื่อยๆไม่นานเขาคงต้องเสียชีวิต ...
ในที่สุดผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจของโรงพยาบาล กรูต เชอร์ จึงได้บรรจุชื่อของ หลุยส์ วอชคันสกี เป็นผู้ป่วยที่จะต้องรับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของศัลยแพทย์ คริสเตียน บาร์นาร์ดนั่นเองโดยต้องรอเพียงผู้บริจาคหัวใจให้เท่านั้น
ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1967 มีเด็กหนุ่มรายหนึ่งได้รับอุบัติเหตุตกลงมาจากที่สูง ผู้ป่วยรายนี้มีภาวะสมองตายแต่หัวใจยังคงสมบูรณ์อยู่ และพ่อแม่ก็ยินดีบริจาคหัวใจแก่ หลุยส์ วอชคันสกี ...ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเตรียมพร้อมสำหรับการผ่าตัด แต่และแล้ว...
ก็มีปัญญาสำคัญ...เรื่องที่คนไข้รายนี้เป็นคนผิวดำ จึงติดปัญหาทางกฏหมาย ซึ่งเวลานั้นแอฟริกาใต้มีกฏหมายแบ่งแยกสีผิวที่รุนแรงมาก โดยไม่อนุญาติให้คนผิวขาวกับคนผิวดำกระทำสิ่งใดร่วมกันอย่างเด็ดขาด
ตอนแรกทั้งผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจและศัลยแพทย์คริสเตียน บาร์นาร์ดคิดจะเพิกเฉยต่อเรื่องนี้เสีย เพราะเห็นว่าการช่วยเหลือชีวิตคนไข้นั้นสำคัญกว่า แต่ท้ายสุดก็ไม่อาจต้านทางฝ่ายกฏหมายได้ หลุยส์ วอชคันสกีจึงต้องรอผู้บริจาคหัวใจรายต่อไป..
แล้วโอกาศครั้งที่สองก็มาถึง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.1967 มีผู้ป่วยหญิงสาวกับมารดาประสบอุบัติเหตุเพราะถูกคนเมาจับรถชนขณะข้ามถนน ผู้เป็นมารดาเสียชีวิตทันที ส่วนหญิงสาวนามว่า เดนิส ดาร์วอลล์วัย 25 ปีอยู่ในอาการโคม่า
หลังจากทีมแพทย์ได้พยายามกู้ชีพของเธอนั้น พบว่าสมองของเธอได้รับความกระทบกระเทือนอย่ามากจนไม่สามารถตอบสนองใดๆเลยแต่หัวใจเธอยังทำงานปกติ
ทางโรงพยาบาลได้ปรึกษากับพ่อของเธอ ซึ่งพ่อของเธอ ลงความเห็นว่า...อนุญาตให้ปล่อยเธอจากไปอย่างสงบ ทางโรงพยาบาลจึงถามความประสงค์ต่อในการบริจาคหัวใจให้กับผู้ป่วยที่กำลังรอการช่วยชีวิตอยู่ ซึ่งผู้เป็นพ่อก็อนุญาตด้วยความเต็มใจ
การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจครั้งแรกในโลก...ในประวัติศาสตร์จึงเกิดขึ้น ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.1976 การผ่าตัดผ่านพ้นไปด้วยดี ความสำเร็จครั้งนี้จึงกลายเป็นข่าวดัง พาดหัวหน้าหนังสือพิมพ์ไปทั่วโลก โดยมีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวไว้ว่า " หัวใจหญิงสาวกำลังเต้นอยู่ในร่างของชายอีกคนหนึ่ง " ซึ่งฟังดูเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างมากในยุคนั้น
นับแต่นั้นมาทั้งศัลยแพทย์คริสเตียน บาร์นาร์ดและหลุยส์ วอชคันสกี ก็เป็นที่สนใจและได้รับการติดตามไปทั่วโลก รวมทั้งบิดาของเดนิช ดาร์วอลล์ ผู้อนุญาตแทนบุตรสาว ได้มอบบริจาคหัวใจให้แก่ หลุยส์ วอชคันสกี อย่างน้อยเขาก็ยังได้ยินเสียงหัวใจของลูกสาวเต้น จากอกของผู้บริจาค
1
หลุยส์ วอชคันสกี (เครดิตภาพ:www.Mauritius time)
เครดิตภาพ:www.SABCNEW
แต่ต่อมาอีก 18 วัน หลุยส์ วอชคันสกี คนไข้ปลูกถ่ายหัวใจที่ประสบความสำเร็จเป็นรายแรกของโลกก็ได้เสียชีวิตลง ท่ามกลางเสียวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานาว่าการผ่าตัดครั้งนั้นประสบความสำเร็จจริงหรือไม่
ต่อมาผลการชันสูตรศพของเขา จึงพบว่าเขาเสียชีวิตด้วยอาการของโรคปอดบวม ไม่ใช่หัวใจล้มเหลว ซึ่งน่าจะเป็นผลข้างเคียงจากยากดภูมิคุ้มกัน ที่ให้ไว้เพื่อไม่ให้ภูมิคุ้มกันของเขาปฎิเสธอวัยวะใหม่(ในสมัยนั้นยากดภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนามาก แพทย์จึงอาศัยยาประเภทสเตียรอยด์ ซึ่งมีผลข้างเคียงอย่างมาก ต่อเม็ดเลือดขาว เมื่อเม็ดเลือขาวลดจำนวนลงเรื่อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันจึงไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด จนเข้าสู่ภาวะปอดบวมขั้นรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด)
ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น หลังจากข่าวการผ่าตัดหัวใจครั้งแรกของโลก โดยคริสเตียน บาร์นาร์ดทำสำเร็จเป็นที่โด่งดังไปทั่วโลกแล้ว สหรัฐอเมริกาจึงได้มีการทบทวนกฏหมายเรื่องข้อการวินิจฉัยการเสียชีวิตเสียใหม่ โดยไม่ยึดถือแต่เพียงภาวะหัวใจหยุดทำงานเป็นเกณฑ์เพียงอย่างเดียว แต่ให้ยึดถือการหยุดการทำงานของสมองมาเป็นเกณฑ์ด้วย และต่อๆมา จึงมีการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจเกิดขี้นในสหรัฐอเมริกา
ในส่วนของศัลยแพทย์นอร์แมน ชุมเวย์ ผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกวิทยาการทางด้านการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจมาก่อนหน้านั้น เขาก็ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายหัวใจเป็นครั้งแรกในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1968 ด้วยเช่นกัน
และต่อๆมาก็มีความพยายาม ผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจโดยทีมแพทย์ตามประเทศต่างๆอีกนับ 100 รายตลอดปี ค.ศ.1968 ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดมักจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ไม่นานนัก โดยปัญหาทั้งหมดก็มาจากปัญหาเรื่องยากดภูมิคุ้มกันนั่นเอง ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้เกี่ยวกับหัวใจใหม่จนต้องเสียชีวิตในท้ายสุด
ต่อมาในปี ค.ศ.1980 (หลังจากการผ่าตัดหัวใจครั้งแรกของโลกของคริสเตียน บาร์นาร์ด ผ่านไป 13ปี) ได้มีการพัฒนายากดภูมิคุ้มกันตัวใหม่มีชื่อว่า " ไซโคลสปอริน " (Cyclosporin)ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อย คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจจึงมีภาวะแทรกซ้อนน้อย จึงสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกยาวนาน จนปัจจุบันนี้ จึงมีการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจได้สำเร็จนับจำนวนหลายพันราย ในโรงพยาบาลต่าง ราว 200 แห่งทั่วโลก...
ความสำเร็จใดๆในโลกนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีผู้บุกเบิกและผู้ริเริ่ม...คิดและกล้าลงมือทำ...เพราะก้าวแห่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมมาจากก้าวเล็กๆที่มุ่งมั่นเสมอ
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านนะคะ❤️❤️❤️
🌸หากชอบ เรื่องราวดีๆพร้อมสาระความรู้ฝากกด like &share และ ติดตามด้วยนะคะ🙏🏼🙏🏼🙏🏼
Dent -Jasmine เรียบเรียง
Ref.
-www.history.com/this-day-in-history/first-human-heart-transplant
-www.westerncape.gov.za/gerneral-publication/chris-barnard-performs-worlds-first-heart-transplant
-หนังสือเหตุการณ์พลิกโลกศตวรรษที่ 20
โฆษณา