14 มี.ค. 2020 เวลา 11:18 • สุขภาพ
การตรวจ COVID-19 โดยการตรวจเลือด
การตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยที่ต้องสงสัย COVID-19 แพทย์จะใช้การป้ายหลังโพรงจมูก (nasal หรือ nasopharyngeal swab) แบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่
นำไปตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส (RNA) ด้วยวิธี PCR
แต่ได้มีการนำวิธีการตรวจเลือด โดยการตรวจหาแอนติบอดีมาใช้บ้าง
มีรายงานผลจากการศึกษาผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 173 คน ในเมือง Shenzhen ประเทศจีน โดยตรวจแอนติบอดี (แอนติบอดีรวม, IgM และ IgG) และเปรียบเทียบกับวันที่แสดงอาการของ COVID-19
พบว่าสามารถตรวจวัดแอนติบอดีในผู้ป่วยในช่วงสัปดาห์แรกหลังแสดงอาการประมาณ 30-40%
และตรวจวัดแอนติบอดีได้สูงขึ้นเรื่อยๆ จนได้เกือบ 100% ที่ประมาณ 14 วันหลังแสดงอาการ
นั่นคือมีความไวต่ำมาก ผลลบลวงสูง
การตรวจ lab แทบทุกอย่าง ไม่มีอะไร 100% มีผลลบลวง ผลบวกลวงได้
(ขนาดไข้เลือดออกที่รู้จักกันมานาน ยังมีผลลบลวง
การตรวจแอนติบอดีในช่วงสัปดาห์แรก ตรวจพบเพียง 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อ
ส่วนการตรวจพบแอนติบอดีเกือบ 100% ที่ 14 วัน ก็ดูช้าเกินกว่าจะรักษา
ผู้ป่วยอาจจะหายเอง หรือเสียชีวิตก่อน
เห็นบางสื่อ ประโคมข่าวว่าวิธีนี้ตรวจแล้วรู้ผลเร็ว ทำไมไม่เอามาใช้
*** ที่หนักกว่านั้น คือบางคนเอามาโฆษณาขาย ***
เพราะในแง่รักษา แทบจะไม่มีประโยชน์เลย
กว่าจะตรวจพบ ผ่านไป 7-14 วัน
มันช้าเกินกว่าจะกักตัวป้องกันการระบาด และให้การรักษา
ประโยชน์ของการตรวจแอนติบอดี จึงน่าจะเป็นในแง่การวิจัยมากกว่า
เช่น ศึกษาว่ามีคนติดเชื้อโดยไม่มีอาการกี่% หายเองกี่%

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

    โฆษณา