15 มี.ค. 2020 เวลา 01:00 • สุขภาพ
หลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าคนที่มีอาการเบาหวานมีโอกาสเสียชีวิตด้วย COVID 19 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยการเสียชีวิตมากกว่า 3 เท่า
ที่มา: https://www.tcijthai.com/news/2020/3/current/9970
สรุปจากข้อมูลเรื่อง “ข้อสรุป 25 ผู้เชี่ยวชาญ WHO หลังปฏิบัติงานได้ 9 วันในจีน” โดยกองบรรณาธิการ TCIJ
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เผยแพร่ รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีน
โดยมีข้อสรุปหลักๆ ของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้หลังจากปฏิบัติงานผ่านไป 9 วัน แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “The WHO sent 25 international experts to China and here are their main findings after 9 days”
ซึ่ง “โรคเบาหวาน เป็นได้ก็หายได้” คัดเอาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานมาแบ่งปันดังนี้
ประชากรที่อาศัยในจีน 13.5% ที่อายุระหว่าง 20-29 ปี จากจำนวนผู้ติดเชื้อในจีน มี 8.1% ที่อยู่ในอายุกลุ่มนี้ มีแนวโน้มของคนที่อายุในช่วงนี้จะมีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างต่ำกว่าเฉลี่ย และในกลุ่มอายุนี้ที่ติดเชื้อจะเสียชีวิต 0.2% ที่มา: https://www.tcijthai.com/news/2020/3/current/9970
เพศ:
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคเท่าๆ กับผู้ชาย
มีหญิงชาวจีนเพียง 8% เท่านั้นที่ ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคนี้ ขณะที่ผู้ชายราว 4.7% เสียชีวิต
โรคนี้รุนแรงในกลุ่มผู้หญิงมีครรภ์มากกว่ากลุ่มอื่น
ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า หากเกิดการติดเชื้อในช่วง 3 หรือ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เด็กในท้องจะเป็นอย่างไร เพราะเด็กเหล่านี้ยังไม่ถึงกำหนดคลอดในปัจจุบัน
ไวรัสชนิดนี้ มีพันธุกรรม 96% เหมือนกับโคโรนาไวรัสที่รู้จักแล้วที่อยู่ในค้างคาว และเหมือนโคโรนาไวรัสในตัวนิ่ม (pangolin) 86-92% ดังนั้น มีความเป็นไปได้มากว่าที่มาของไวรัสใหม่นี้คือ ส่งผ่านไวรัสที่กลายพันธุ์จากสัตว์มายังคน
นับตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม จำนวนคนที่มีโคโรนาไวรัสในจีนค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงตอนนี้มีเพียง 329 รายที่วินิจฉัยพบใหม่ เทียบกับประมาณหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ที่พบราว 3,000 รายต่อวัน
อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ
-มีไข้ (88%)
-ไอแห้งๆ (68%)
-ไม่มีเรี่ยวแรง (38%)
-ไอแบบมีเสมหะ (33%)
-หายใจลำบาก (18%)
-เจ็บคอ (14%)
-ปวดหัว (14%)
-ปวดกล้ามเนื้อ (14%)
-หนาวสั่น (11%)
-อาการที่พบน้อยลงมาหน่อยคือ -คลื่นไส้และอาเจียน (5%)
-คัดจมูก (5%)
-และท้องเสีย (4%)
โรคเบาหวานขึ้นตา – หนึ่งในอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ที่มา: https://www.tcijthai.com/news/2020/3/current/9970
อาการที่ไม่ใช่สัญญาณโรคของโควิด-19 คือ น้ำมูกไหล
จากการตรวจสอบคนจีนที่ติดเชื้อรวม 44,672 คน
มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 4%
อัตราการเสียชีวิตขึ้นเป็นอย่างมากกับ อายุ, สภาพร่างกายก่อนติดเชื้อ, เพศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบสุขภาพที่รับมือโรค
ระบบสุขภาพของจีน:
คนที่ติดเชื้อในจีนราว 20% ต้องการการรักษาที่โรงพยาบาลนานหลายสัปดาห์
จีนมีโรงพยาบาลเพียงพอจะใช้รักษาประชากรได้ 4% ของทั้งหมดในเวลาเดียวกัน
ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ มีศักยภาพราว 0.1–1.3% และเตียงส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีผู้ป่วยโรคอื่นใช้อยู่แล้ว
วิธีการรับมือที่สำคัญแรกสุดที่จะช่วยป้องกันการกระจายของไวรัสได้อย่างชะงัด คือ
1. ทำให้จำนวนผู้ป่วยหนักโรคนี้มีจำนวนน้อย
2. ขั้นตอนสำคัญรองลงมาคือ การเพิ่มจำนวนเตียง (รวมทั้งวัสดุและบุคลากร) จนกว่าจะมีเพียงพอสำหรับผู้ป่วยหนัก
จีนทดสอบการรักษาด้วยวิธีการที่หลากหลายกับโรคที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก และนำวิธีการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดไปใช้ทั่วประเทศ ด้วยวิธีการตอบสนองเช่นนี้เอง ที่ทำให้อัตราการตายลดลงกว่าเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้
สภาพร่างกายก่อนการติดเชื้อ:
อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อที่มีโรคระบบหลอดเลือดหัวใจในจีนคือ 2%
คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (เบาหวานที่ไม่ควบคุม) อยู่ที่ 9.2%
สำหรับโรคความดันสูง 8.4%
สำหรับโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
8%
สำหรับโรคมะเร็ง 7.6%
คนที่ไม่มีอาการป่วยใดๆ ก่อนติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิตที่ 1.4%
อายุ:
ยิ่งอายุน้อย ก็ยิ่งติดเชื้อยาก และแม้จะติดเชื้อ ก็จะป่วยไม่หนักเท่ากับผู้ที่อายุมากกว่า
นี่คือข้อมูลที่น่าสนใจที่มีการสรุปผลกระทบจาก COVID 19 ล่าสุดที่มีการสรุปอย่างเป็นทางการ
ที่มา: TCIJ 7 มี.ค. 2563
โฆษณา