15 มี.ค. 2020 เวลา 01:11 • การศึกษา
สถานการณ์ COVID-19
ดูเหมือนทางการอังกฤษมองว่าไวรัสนี้ไม่มีทางควบคุมให้หยุดการระบาด
อย่างเด็ดขาดได้แบบที่จีนกำลังพยายามทำ
จึงเลือกที่จะใช้วิธีการชะลอการระบาดโดยลดการเดินทางและการชุมนุม
ของประชาชนเพื่อผ่อนให้การระบาดของไวรัสไม่เป็นไปอย่างเร็วเกินไป
ระบบสาธารณสุขจะได้สามารถปรับตัวรองรับผู้ที่มีอาการหนักได้ และยื้อ
เวลาเพื่อรอให้การวิจัยวัคซีนและยารักษาเกิดขึ้นทันแต่ก็คงต้องใช้เป็นเวลา
ประมาณหนึ่งปี
และขณะเดียวกันก็จะระวังไม่ให้โรคระบาดช้าเกินไปจนกระทั่งเข้าถึงฤดู
หนาวปีหน้า แล้วไวรัสนี้ระบาดในหมู่คนที่ยังไม่เคยสัมผัสยังไม่มีภูมิต้าน
ทานซ้ำอีกครั้งก็จะหนัก เพราะเชื้อโรคไวรัสนี้ระบาดได้ดีในอากาศหนาว
อังกฤษต้องการให้ประชาชนได้สัมผัสและมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นให้เรียบร้อย
ก่อนที่จะอากาศหนาวจัดในปีหน้า
ดูแนวโน้มประเทศทางตะวันตกทั้งยุโรปและอเมริกาก็จะเลือกใช้แนวทางนี้
ข้อดีของแนวทางแบบทางตะวันตกคือ ภาวะการชะงักงันทางเศรษฐกิจจะไม่หนักแบบที่จีนทำเมื่อเดือนกพ. และเมื่อไวรัสระบาดไปทั่วประชาชนมีภูมิต้านทานแล้ว เชื้อไวรัสตัวนี้ก็หมดฤทธิ์ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตและทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ
แต่ข้อเสียคือในช่วงที่ไวรัสกำลังระบาดนี้ จะมีคนล้มป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากอาจเป็นหลักหลายล้าน โดยเฉพาะผู้สูงอายุและคนที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงเป็นพื้นเดิมอยู่แล้ว
แนวทางที่พยายามจะควบคุมการระบาดของไวรัสให้อยู่หมัดแบบที่จีนทำ
มีข้อดีคือลดการล้มป่วยและเสียชีวิตได้มากในสถานการณ์เฉพาะหน้า
แต่มีข้อเสียคือต้องระวังเชื้อไวรัสตัวนี้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
การเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศจีนกับประเทศอื่นๆทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น
คนจีนหรือคนต่างชาติจะมีปัญหาอย่างยาวนานกระทบต่อเศรษฐกิจยาว
สุดท้ายสองแนวทางนี้ในระยะยาวแบบไหนจะดีกว่ากัน หัวใจชี้ขาดที่สำคัญคือ จะสามารถวิจัยผลิตวัคซีนและยารักษาโรคสำหรับไวรัสนี้ได้สำเร็จเมื่อ
ไหร่ ถ้าสำเร็จเร็ว แนวทางแบบจีนชนะถ้าสำเร็จช้า ในระยะยาวแนวทางแบบทางตะวันตกอาจจะส่งผลดีกว่าโดยภาพรวม
อีกราว 2 สัปดาห์ จะเห็นภาพชัดขึ้นว่าสถานการณ์รวมของโลกและในไทย
จะไปทิศทางไหน
โฆษณา