15 มี.ค. 2020 เวลา 01:25 • สุขภาพ
ทำสินค้าขายแต่อยากมีสลากต้องทำอย่างไร
สลากที่เป็นตามเงื่อนไขต้องมีแนวทางดังนี้
⚡แนวทางในการแสดงฉลาก
1. การแสดงฉลากอาหารที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคแต่ไม่ได้ส่งออก ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทยจะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และต้องแสดงรายละเอียด
1.1 #ชื่ออาหาร
ชื่ออาหารภาษาไทยต้องมีข้อความต่อเนื่องกันในแนวนอน ขนาดของตัวอักษรใกล้เคียงกัน สีเดียวกัน ถ้าแสดงบรรทัดเดียวได้ไม่หมดก็แยกเป็นหลายบรรทัดก็ได้ และชื่ออาหารภาษาไทยจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษาต่างประเทศ
1.2 #เลขสารบบอาหาร
ในเครื่องหมาย ด้วยตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ และมีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของกรอบตัดกับสีพื้นของฉลาก
1.3 #ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ
เพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า “ผลิตโดย” หรือ “ผลิต-แบ่งบรรจุโดย” กำกับ สำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ่ของ ผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิตด้วย
1.4 #ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก
ถ้าเป็นอาหารผงหรือแห้งหรือก้อนให้แสดงน้ำหนักสุทธิ ถ้าอาหารเป็นของเหลวให้แสดงเป็นปริมาตรสุทธิ ในกรณีที่เป็นอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ถ้าแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำได้ให้แสดงน้ำหนักเนื้ออาหารด้วย
1.5 #ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ
โดยแสดงจากปริมาณมากไปหาน้อย กรณีที่เป็นอาหารที่ต้องเจือจางหรือทำละลายก่อนบริโภค ให้แสดงส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารเมื่อเจือจางหรือทำละลายตามวิธีปรุงเมื่อรับประทานตามที่แจ้งไว้ในฉลาก
1.6 #ข้อความว่า“ใช้วัตถุกันเสีย” ถ้ามีการใช้
1.7 #ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” แล้วแต่กรณีที่มีการใช้
1.8 #ข้อความว่า “..... เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร” (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุปรุงแต่งที่ใช้) เช่น กรณีที่เป็นโมโนโซเดียมกลูตาเมทให้แสดงข้อความว่า “ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมท เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร”
1.9 #ข้อความว่า “ใช้ ..... เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล” (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้) ด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของตัวอักษรตัดกับสีพื้นของฉลาก เช่น กรณีที่เป็นแอสปาร์แตม (aspatame) ให้แสดงข้อความว่า “ใช้แอสปาร์แตมเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล”
1.10 #ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” , “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” , “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” , “แต่งรสธรรมชาต” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” แล้วแต่กรณีถ้ามีการใช้
1.11 #แสดงวันเดือนปีที่ผลิต
หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า “ผลิต” หรือ “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับ แล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้
ก. อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน
ข. อาหารที่เก็บได้เกิน 90 วัน ให้แสดงเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน
ค. อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้แสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์
1.12 #คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)
1.13 #วิธีปรุงเพื่อรับประทาน (ถ้ามี)
1.14 #วิธีการใช้และข้อความที่จำเป็นสำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อน หรือบุคคลกลุ่มใดใช้โดยเฉพาะ
1.15 #ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
สำหรับอาหารกลุ่ม 4 แสดงความเชื่อมั่น
อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ 1.ชื่ออาหาร 2.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายแล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า “ผลิตโดย” หรือ “ผลิต-แบ่งบรรจุโดย” กำกับสำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดงประเทศผู้ผลิตด้วย 3.ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก 4.วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า “ผลิต” หรือ “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับ
#setubrain
#อย
#การขอใบอนุญาติ
#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
โฆษณา