16 มี.ค. 2020 เวลา 11:53 • ข่าว
คาดการณ์การระบาดระยะที่ 3 โควิด-19 ในไทย
ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในระยะท่ี 3 โดยใช้เทคนิค Compartmental Model ซึ่งมีการใช้เทคนิคนี้ในการคาดการณ์การระบาดจากหลายสถาบันทั้งในประเทศจีน แคนาดา ฮังการี สวีเดน และ WHO โดยพิจารณาจากปัจจัย ต่อไปนี้
– ความสามารถในการแพร่เชื้อจากผู้ติดเชื้อไปสู่คนอื่นๆ (R0)
– ความมีฤดูกาลของโรค
– สัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ (ร้อยละ 45 อ้างอิงจากข้อมูลเรือ Diamond Princess) โดยมีสมมติฐานคือ หากการระบาดเกิดข้ึนอย่างรวดเร็วมาก จะระบาดแบบระลอกเดียวจบ แต่หากการระบาดชะลอลงได้ในระดับหนึ่ง จะเห็นแนวโน้มการเกิดโรคเป็นฤดูกาล ผลการคาดการณ์แสดงได้ใน 3 ฉากทัศน์ ดังน้ี
1. สถานการณ์ท่ีการควบคุมโรคไม่มีประสิทธิภาพ (รุนแรงท่ีสุด) นั่นคือ หากปล่อยให้การระบาดเป็นไปโดยธรรมชาติของโรค มีความพยายามท่ีจะชะลอการระบาดบ้างแต่ไม่มากนัก หรือไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้ติดเชื้อ 1 คน จะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น (R0) ได้อีก 2.2 คน การระบาดจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มข้ึนเป็นเท่าตัวทุกสัปดาห์ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป จนพบผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดในเดือนสิงหาคม จำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้นประมาณ 16.7 ล้านคนใน 1 ปี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้น่าจะไม่มีโอกาสเกิดข้ึนในประเทศไทย เนื่องจากการดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคท่ีผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถลดจำนวนผู้ป่วยลงกว่าท่ีคาดการณ์ได้ 3-4 เท่าแล้ว
2. สถานการณ์ที่สามารถชะลอการระบาดได้พอสมควร หากมาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการมีความร่วมมือท่ีดีจากภาคประชาชน ทำให้ประเทศไทยสามารถชะลอการแพร่ระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง จนทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น (R0) ได้เพียง 1.8 คน การระบาดในวงกว้างจะเกิดข้ึนอย่างช้าๆ จนเข้าสู่จุดท่ีพบผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จำนวน 480,000 คนต่อสัปดาห์ มาตรการควบคุมโรคในสถานการณ์นี้ต้องลดโอกาสการสัมผัสโรคของประชาชนลง เช่น การงดกิจกรรมรวมคน การกักกันเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นท่ีระบาด
3. สถานการณ์ที่สามารถควบคุมโรคได้ดี จนทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น (R0) ได้เพียง 1.6 คน เกิดการระบาดตามฤดูกาลในแต่ละปี และกลายเป็นโรคประจำถิ่นคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ มาตรการควบคุมโรค ในสถานการณ์น้ีต้องมีความเข้มข้นและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง รวมท้ังประชาชนให้ความ ร่วมมือเป็นอย่างมาก โดยมีเป้าหมายเพื่อลดโอกาสการสัมผัสโรคของประชาชนลงให้ได้มากท่ีสุด เช่น การงดกิจกรรมรวมคน ส่งเสริมการทำงานจากบ้าน งดการเคลื่อนย้ายคนในหน่วยงานท่ีมีคนจำนวนมาก เช่น ค่ายทหาร เรือนจำ โรงเรียน ฯลฯ รวมทั้งป้องกันและควบคุมการเกิดการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ เช่น การระบาดในโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน หรือในสถานท่ีทำงาน ฯลฯ
การคาดการณ์นี้เป็นเพียงการคำนวณโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์บนพื้นฐานของข้อมูลธรรมชาติของโรคและระบาดวิทยาที่มีในปัจจุบัน ยังไม่ได้พิจารณาปัจจัยการป้องกันควบคุมโรคและการรักษา เช่น การงดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก การใช้ยา ซึ่งยังต้องรอข้อมูลประสิทธิผลของการรักษาและวัคซีน ซึ่งอาจมีขึ้นในอนาคต
ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา
เรื่อง: THE STANDARD TEAM
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thestandard.co
โฆษณา