19 มี.ค. 2020 เวลา 13:08 • ประวัติศาสตร์
ย้อนรำลึกในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ผู้ช่วยสยามพ้นวิกฤติ ร.ศ.112
และเอกพุทธศิลป์สถาปัตย์แห่งรัตนโกสินทร์ “โลหะปราสาท”
ภาพจาก: https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:03-วัดราชนัดดาราม.jpg#mw-jump-to-license
ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
มีการกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สามารถสะท้อนเหตุการณ์
ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในแต่ละรัชสมัยได้เด่นชัด ความว่า
“ รัชกาลที่ 1 ใครเป็นนักรบ รบเก่งเป็นคนโปรด
รัชกาลที่ 2 ใครเป็นกวี ก็เป็นคนโปรด
รัชกาลที่ 3 ใครเป็นช่างสร้างวัดวาอารามก็เป็นคนโปรด”
ระหว่างพุทธศักราช 2367 - 2394 เป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 ทรงปกครอง พระองค์มีพระอัจฉริยภาพปรีชาสามารถในการบริหาร บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งด้าน เศรษฐกิจ การค้าต่างประเทศ การศึกษา การพระศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความมั่นคง
ทรงเป็นนักก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่หาผู้ทัดเทียมมิได้ มีพระราชปณิธานสร้างกรุงรัตโกสินทร์ให้รุ่งเรืองประดุจพระนครศรีอยุธยา ดังปรากฏใน
ถาวรวัตถุอันเนื่องมาจากการจรรโลงพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ทั้งการสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่สถิตสถาพรเป็นศรีสง่าแก่แผ่นดิน ตกทอดเป็นมรดกสมบัติล้ำค่าของชาวไทยตราบจนทุกวันนี้
แผนที่การเดินทางจากลังกาของศาสนาพุทธ
ชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนาแบบลัทธิ "ลังกาวงศ์" ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พุทธศาสนาในลังกาทวีปได้สูญสิ้นไปจากผืนแผ่นดิน ชาวไทยได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานให้เจริญขึ้น เรียกพระพุทธศาสนาในศรีลังกาครั้งนั้นซึ่งสืบต่อมาถึงปัจจุบันว่า "สยามวงศ์" สัมพันธไมตรีระหว่าง
ไทยและศรีลังกาจึงมั่นคงมาแต่โบราณ
ตราบถึงกรุงรัตนโกสินทร์
1
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ได้มีการติดต่อค้าขายและการพระศาสนาตลอดรัชกาล โดยเฉพาะการพระศาสนาได้มีการแลกเปลี่ยน
ด้านวัฒนธรรมหลายประการ ทั้งศิลปกรรม เอกสาร พระไตรปิฎก คัมภีร์ต่างๆ และการส่งธรรมทูตไปมาหากัน
1
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชจ้า รัชกาลที่ 3 แห่งพระบรม
ราชจักรีวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
และสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31
มีนาคม พุทธศักราช 2430 ณ พระราชวังเดิมพระนามเดิม “หม่อมเจ้าทับ”
พระราชวังเดิม ภาพจาก:Wikipedia
เมื่อล่วงถึงพุทธศักราช 2356
พระชนมพรรษา 26 พรรษา ได้รับการสถาปนาให้ทรงกรม พระนาม พระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ประทับ ณ วังท่าพระทรงว่าราชการ กรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมพระตำรวจว่าความฎีกาซึ่งในสมัยนั้นเป็นหน่วยงานที่สำคัญมาก
นอกจากนั้นสมเด็พระบรมชนกนาถทรงไว้วางพระราชหฤทัยโปรดให้ดูแลราชการต่างพระเนตรพระกรรณด้วย
ทรงรับราชการสนองพระยุคลบาทด้วยความจงรักภักดี มีความกตัญญกตเวทิตาธรรมสูง พุทธศักราช 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบการสืบราชสันตติวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้ประชุมปรึกษากัน มีสมานฉันท์เป็น "อเนกมหาชนนิกร สโมสรสมุติ" อัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองสิริราชสมบัติ และทรงดำรงอยู่ในสิริราชสมบัติ 27 ปี เสด็จ
สวรรคตวันพุธที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2394 สิริรวมพระชนมพรรษา 63 พรรษา 2 วัน
ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่ชาติและชาวไทยอเนกอนันต์
โดยเฉพาะความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ การค้า การต่างประเทศ การพระศาสนา วรรณกรรม
การแพทย์แผนไทย และศิลปกรรม ทรงได้รับการเฉลิมพระเกียรติคุณต่างๆ คือ
"เจ้าสัว"
"พระบิดาแห่งการค้าไทย"
"อัครมหาสถาปนิกสยาม"
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังปกแผ่มาถึงปัจจุบัน พุทธศักราช 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ทรงถวายพระราชสมัญญา "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" หมายความว่า
พระมหาราชผู้มีพระราชหฤทัยตั้งมั่นในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ
รัฐบาลได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหา
เจษฎาราชเจ้า เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้แผ่ไพศาลเพื่อถวายสักการะ ด้านหน้าวัดราชนัดดารามวรวิหาร ณ ลานมหาเจษฎาบดินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
กำหนดให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสำคัญของชาติ เรียกว่า
"วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า"
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงถวายเครื่องราชสักการะเป็นประจำทุกปี
• คติการสร้างโลหะปราสาท •
3
การสร้างปูชนียวัตถุเพื่อน้อมถวายไว้ในพระพุทธศาสนา คือความเลื่อมใสศรัทธาอันบริสุทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกล เมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ สิ่งก่อสร้างทั้งปวงล้วนมีมูลเหตุของการสร้างขึ้นว่าประสงค์ให้เกิดประโยชน์อย่างใด ด้วยอานิสงส์ของการสร้างนั้นได้ถ่ายทอดอิทธิพลอันเป็นแรงบุญแก่บรรดาผู้ที่ทุ่มเทจิตใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนายิงขึ้น ดังเช่น พระพุทธเจดีย์ในดินแดนพุทธศาสนิกชนแต่ละประทศ ต่างมีพุทธลักษณะอันเป็นพุทธศิลป์ตามถิ่นของตน
หนังสือมหาวงศ์ พงศาวดารทางพุทธศาสนาของศรีลังกา ได้เล่าถึงมูลเหตุของการสร้างโลหะปราสาทสถานที่ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา โลหะปราสาทเป็นสถานที่เงียบสงัดสำหรับพระภิกษุเพื่อบำพ็ญฌานสมาบัติในศาสนสถานภายในพระอาราม ไม่ต้องปลีกวิเวกออกไปอยู่ตามลำพัง และกำหนดให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่แต่ละชั้นตามความรู้ของตน องค์ที่มีสมณศักดิ์สูงอยู่ขั้นบนและลองมาตามลำดับ
1
คำพรรณนาถึงโลหะปราสาทของศรีลังกาในหนังสือมหาวงศ์ เป็นแรงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้เจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้ามีพระราชศรัทธาแรงกล้าในการสร้างพุทธเจดีย์โลหะปราสาทนี้บนผืนแผ่นดินไทยเพื่อประกาศให้ชาวโลกรับรู้ว่า แผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินแห่งพระพุทธศาสนาที่มั่นคง
1
โลหะปราสาทอุบัติขึ้นในโลกเพียง 3 แห่ง
- แห่งแรก สร้างขึ้นในประเทศอินเดียเมื่อครั้งพุทธกาล ณ วัดบุพพาราม เมืองสาวัตถีซึ่งสูญสลายไปหมดสิ้นตามกาลเวลา
3
ภาพจากเฟสบุ๊คเพจ:วัดไทยเชตวันมหาวิหาร นครสาวัต รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย
- แห่งที่ 2 สร้างขึ้นในประเทศศรีลังกา ปัจจุบันปรักหักพังเหลือแต่ซากกองอิฐ ราว พุทธศักราช 387
1
ภาพจาก:thairat.co.th
- แห่งที่ 3 สร้างขึ้นในประเทศไทย ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร
1
และเพื่อสะท้อนให้พสกนิกรในแผ่นดินรู้จักพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นจากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในอดีตว่ามีความยิ่งใหญ่ไพศาลอย่างใด กล่าวกันว่าโปรดให้ช่างเดินทางไปศรีลังกาถึง 2 ครั้ง เพื่อนำคติการสร้างและลักษณะอาคารมาเป็นแบบอย่าง
เมื่อพุทธศักราช 2389 โปรดให้สร้างวัดราชนัดดารามเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ขณะเมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เมื่อพระชันษาบริบูรณ์ที่จะประกอบพิธีโสกันต์
การสร้างพระอาราม ประกอบด้วย พระอุโบสถ พระวิหาร การเปรียญ หมู่กุฏิสงฆ์ และให้โลหะปราสาทเป็นพุทธเจดีย์ประธานของพระอาราม โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) ขณะดำรงตำแหน่งพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา เป็นแม่กองดำเนินการสร้าง โดยให้รูปแบบทางสถาปัตยกรมมีลักษณะเป็นพุทธศิลป์แบบไทย
• โลหะปราสาท •
1
:ที่ตั้ง: วัดราชนัดดารามวรวิหาร
:ผู้สถาปนา: พระบาทสมเด็พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชจ้า รัชกาลที่ 3
:ผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง:
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ(ทัต บุนนาค) ขณะดำรงตำแหน่งพระยาศรีพิพัฒราชโกษา
1
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ(ทัต บุนนาค)
:ผู้สร้างหุ่นจำลอง: เล่ากันว่ามีการสร้างหุ่นจำลองด้วยไม้ระกำ โดยพระยาภักดีภูธร
(งัน ภักดีกุล)
:สัณฐานสถาปัตยกรรม:
- อาคาร 7 ชั้น มีเรือนยอดมณฑป 37 ยอด ฐานจตุรัสกว้างด้านละ 23 วา ทางขึ้นเป็นบันไดเวียนบริเวณกลางอาคาร
- ชั้นที่ 1,3 และ 5 เป็นคูหา มีระเบียงรอบ
- ชั้นที่ 2 และ 4 เป็นคูหาจตุรมุข ยอดบุษบก
ส่วนยอดมณฑปล่าง (ชั้นที่ 2) มี 24 ยอด
ส่วนยอดมณฑปกลาง (ชั้นที่ 4) มี 3 ยอด
รวม 36 ยอด
- ชั้นที่ 7 เป็นมณฑปยอดปราสาท ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รวมทั้งหมดเป็น 37 ยอด
1
ภาพวิว360องศาชั้นบนสุด
:ปรัชญาการสร้าง:
ปรัชญาการสร้างสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนามักแฝงคติธรรมไว้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติระลึกถึงธรรมอันเป็นมรดกแห่งการนำไปสู่พระนิพพานด้วยสัญลักษณ์ที่ผูกไว้กับอาคารสถาปัตยกรรมทั้ง 37 ยอดนี้ หมายถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า “โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
1
คือปัจจัยแห่งการหลุดพ้นสู่ดินแดนพระนิพพานประกอบด้วย ดังนี้
- สติปัฏฐาน 4
- สัมมัปปทาน 4
- อิทธิบาท 4
- อินทรีย์ 5
- พละ 5
- โพชฌงค์ 7
- และมรรค 8 รวม 37 ประการ
1
อายุของโลหะปราสาท ระหว่างพุทธศักราช 2389 - 2563 ผ่านพ้นมาถึง 8 แผ่นดิน จึงนับเป็นกาลเวลาที่ยาวนานมากทีเดียว
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทั้งนี้ก็ด้วยมหาศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวไทยที่ไม่เสื่อมคลาย ประชาชนทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้รวมแรงร่วมใจสละทรัพย์เพื่อเสริมสร้างโลหะปราสาทให้สมบูรณ์อย่างเต็มกำลัง
เพื่อเป็นเนื้อนาบุญแห่งพระพุทธศาสนาและตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณพระบทสมเด็พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า
และสนองพระราชดำริในการสร้างพุทธสถานที่สำคัญเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเพื่อประกาศความเป็นเมืองพระพุทธศาสนาของไทยที่ยิ่งใหญ่ให้ชาวโลกได้รับรู้ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้จึงได้สง่างามเป็นเอกพุทธศิลป์สถาปัตย์แห่งรัตนโกสินทร์ และเป็น "โลหะปราสาทแห่งเดียวในโลก" ที่จะสถิตคู่ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนตลอดไป
1
ภาพจากไทยรัฐออนไลน์
ผู้ทรงช่วยไถ่ประเทศไทยจาก เหตุการณ์วิกฤติ ร.ศ. 112 ด้วย ’เงินถุงแดง’ จากพระเนตรอันกว้างไกล
1
ผู้ทรงธำนุบำรุงพระศาสนา
และผู้ทรงพระปรีชาสามารถในทุกๆด้าน
ข้าพระพุทธเจ้า เพจ ’เจาะเวลาหาอดีต’
ขอเป็นตัวแทน Blockdit น้อมเกล้ารำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 ในวโรกาส วันคล้ายวันพระราชสมภพ 31 มีนาคมที่กำลังจะถึงนี้
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า เพจ’เจาะเวลาหาอดีต’
❤️กดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเป็นกำลังใจ❤️
ขอบพระคุณครับ
โฆษณา