20 มี.ค. 2020 เวลา 16:11 • การศึกษา
วางแผนภาษีทำง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้...
วันนี้ผมจะมาเขียนเกี่ยวกับ App วางแผนภาษีซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์มากๆ สำหรับผู้มีรายได้(เงินได้) ตามเกณฑ์ที่ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับ App นี้ผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ ทั้งนั้น แต่ที่นำ App นี้มาเขียนเพราะผมใช้งานเอง และเห็นว่ามันใช้งานง่าย ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมายนัก โดย App ที่ว่านั้นชื่อว่า ''ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" ซึ่งสามารถโหลดได้จาก Play Store ในระบบ Android ส่วน IOS ผมไม่แน่ใจว่ามีไหมนะครับ
App นี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1.หน้าของเงินได้
2.หน้าของลดหย่อน
3.หน้าของคำนวนภาษี
หน้าตาใน App ก็จะตามภาพที่ทุกท่านได้เห็นครับ
ก่อนที่เราจะมาใช้ App นี้ เรามาทำความเข้าใจง่ายๆ สั้นๆ เกี่ยวกับคำว่า "เงินได้สุทธิ" กันก่อนนะครับ
คำว่าเงิน"เงินได้สุทธิ" ผมเอาให้เข้าใจง่ายๆ คือรายได้ (เงินได้พึงประเมิน) ที่เราได้รับตลอดปี พ.ศ. นั้นๆ ( เช่น เงินเดือน,O.T.,เบี้ยเลี้ยง,ค่าคอมฯ โบนัส หรืออื่นๆ ) ลบ(-) ค่าใช้จ่าย ลบ(-) ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ นั้นเอง ในส่วนรายได้มันมีหลายรูปแบบเพื่อนๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ ผมอาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดมากเนอะ
ต่อมา เงินได้สุทธิ ที่ต้องเสียภาษีนั้นก็มีขั้นภาษีที่ต้องชำระตามเงินได้สุทธิในแต่ละปีภาษี ดังนี้
สำหรับค่าใช้จ่าย หรือค่าลดหย่อน ต่างๆ ที่สามารถใช้ลดหย่อนได้นั้น เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูใน App ได้เลยครับ หากเพื่อนๆ สนใจส่วนไหน ก็แสดงความคิดเห็นไว้เนอะ เดียวผมจะมาอธิบายเรื่อยๆ ครับ ผมขออธิบายคราวๆ ประมาณนี้ก่อนนะครับ เราจะได้ไปดูตัวอย่างกัน....
ที่นี้เรามาวางแผนภาษีกันครับ
กรณีตัวอย่างต่อไปนี้ ผมจะยกตัวอย่างที่ผู้มีเงินได้ ไม่มีค่าลดหย่อนอื่นๆ เลย นอกจากประกันสังคม นะครับ หากท่านใดมีลดหย่อนอื่นๆ ก็กรอกตัวเลขลงไปในช่องลดหย่อนได้เลย
เมื่อเรารู้ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ เราก็กรอกลงในช่องได้เลยครับ ตามตัวอย่าง สมมุติผมใส่เงินเดือนที่ 40,000 และไม่มีรายได้อื่น แต่มี โบนัส 1 เดือน เราก็เอา 40,000×12 = 480,000 ลงในช่อง เงินเดือน/ค่าจ้าง และกรอก โบนัส 40,000 ในช่องโบนัส ดังรูป
สำหรับท่านใดไม่แน่ใจรายได้ที่เราได้รับ ก็อาจดูได้จากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ที่บริษัทออกให้ก็ได้ครับ จะมีรายได้ที่เราได้รับ เงินที่บริษัทหักเราเพื่อนำส่งไปก่อน และมีค่าลดหย่อน ที่นำไปใช้ได้ เช่น เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นต้น
จากนั้นเรามากรอกลดหย่อนกันครับ
กรณีนี้ผู้มีเงินได้ไม่มีลดหย่อนใดๆ เลยนอกจากประกันสังคม ก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 50 ไม่เกิน 100,000 และลดหย่อนส่วนตัว 60,000 (โปรแกรมจะกรอกให้อัตโนมัติ) 2 ส่วนนี้เป็น ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน ที่ผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิอยู่แล้วครับ
จากนั้นให้เราเลื่อนมากรอกประกันสังคม 9,000.- อ้างอิงจากเงินสมทบในอัตราสูงสุด คือ 15,000*5%×12เดือน = 750×12 = 9,000.- ตามรูปครับ
เราก็มาดูที่ "คำนวนภาษี" กันเลย..
แค่นี้เราก็รู้แล้วว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่...
กรณีที่เพื่อนๆ มีภาษีที่หักนำส่งไปแล้ว (ซึ่งปกติทาง HR หรือ บัญชี จะป็นผู้คำนวนเงินได้สุทธิ และนำส่งให้เรา) เราก็ดูได้จากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย(50 ทวิ) แล้วเราก็นำมากรอกลงในช่อง หัก ณ ที่จ่าย ได้เลยครับ เราอาจจะจ่ายน้อยลง ไม่ต้องจ่าย หรือได้รับเงินภาษีคืนก็ได้ (หากเรามีค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้เพิ่มขึ้น)
เห็นไหมครับแค่นี้เราก็จะสามารถรู้ได้แล้วว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ , ไม่ต้องจ่าย ,หรือได้รับภาษีคืน มันทำให้เราสามารถคำนวนคราวๆ ได้เลยว่าเราจะวางแผนยังไง จะเพิ่มลดหย่อนตรงไหนได้ หรือหากไม่สามารถที่จะมีค่าลดหย่อนอื่นๆได้แล้ว เราก็จะเตรียมเก็บเงินเพื่อชำระภาษีได้ตั้งแต่ต้น
ยังมี App ดีๆ อีกมากนะครับที่จะช่วยให้เราสามารถวางแผนภาษีได้ ช่วยเราคำนวน ช่วยเราหาค่าลดหย่อน เพื่อนๆ ลองติดตั้งมมาใช้งานเล่นๆดูครับไม่เสียหาย แถมได้รับความรู้อีกด้วย
หากมีข้อมูลส่วนใดผิดพลาดก็ขออภัยด้วยนะครับ
ขอบคุณที่ติดตามครับ
โฆษณา