21 มี.ค. 2020 เวลา 12:14 • สุขภาพ
ตอนที่ 3 :สัญญาณที่บอกว่า เราติดหวานเกินไปแล้ว
บทความเดิม
ตอนที่1 เพิ่มภูมิคุ้มกันได้หากเราทำสิ่งนี้
ตอนที่2 เรากำลังกินยาพิษหรือยาอายุวัฒนะ
เรามาเช็คกันนะคะ ว่าเราติดหวานแล้ว จะเป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ
1. กินข้าวมากกว่ากินกับ
2. รู้สึกอยากขนมหวานที่ตัวเองชอบเรื่อยๆ
1
3. รู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี เหวี่ยงเมื่อไม่ได้กินอาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของแป้งหรือน้ำตาล
4. รู้สึกหิวบ่อย
5. คิดถึงอาหารอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าเพิ่งกินอาหารเสร็จ
1
6. มีนิสัยกินอาหารหวานต่อจากอาหารคาวเป็นประจำ
2
7. มีของติดตู้เย็นที่เป็นของหวานอยู่ตลอด
1
8. ชอบผลไม้รสหวาน เช่น มะละกอ ทุเรียน สับปะรด
1
9. ชอบผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม
3
10. ชอบอาหารกลุ่มซีเรียลเคลือบน้ำตาล
1
11. ทำอาหารทุกจานต้องเติมน้ำตาล เช่น ไข่เจียวเติมน้ำตาล ทำพริกน้ำปลาเติมน้ำตาล
12. ชอบงานเลี้ยงสังสรรค์ เพราะมีอาหาร เครื่องดื่มและของหวาน
13. ในมื้ออาหารมักจะเลือกดื่มเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่า
14. กินอาหารหวาน ทั้งๆที่ยังไม่หิว
1
15. อยากกินอะไรเค็มๆ
16. หายเศร้าเพราะของหวาน
1
17. รู้สึกผิดทุกทีที่กินหวาน
1
18. ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
สารให้ความหวานกลุ่มฟรุกโทส เช่น มอลทิทอล ซอร์บิทอล ไซลิทอล
เพราะสารเหล่านี้จัดเป็นคาร์โบไฮเดรต
แม้ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้น้อยกว่าน้ำตาล
แต่ก็จะถูกดูดซึมไปอยู่ในรูปของกลูโคสอยู่ดี
ซึ่งอาจมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง
(อีกทั้ง ยังทำให้เราอยากหวานขึ้นไปอีก)
19. ชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง
ของทอด หรืออาหารมัน ๆ ทั้งหลายที่เป็นของโปรดของใครหลายคน ส่งผลเสียกับสุขภาพกว่าที่คิด
เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายต้องเสี่ยงกับภาวะไขมันในเส้นเลือดแล้ว ไขมันยังส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ช้าอีกด้วย
เพราะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์จะเข้าไปชะลอกระบวนการดูดซึมกลูโคสเข้าในเซลล์ อาหารจำพวก เฟรนช์ฟราย หรือพิซซ่า ที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง ทำให้เกิดปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูงแน่นอน
20. ชอบเครื่องดื่มเกลือแร่
เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่คนมักจะนึกถึงเวลารู้สึกเหนื่อย ๆ หรือเวลาที่ต้องเจออากาศร้อน เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีน้ำตาลสูง
โดยเครื่องดื่มเกลือแร่เพียง 1 ขวด ในปริมาณ 250 มิลลิลิตร มีน้ำตาลอยู่ที่ 1.7 ช้อนชา หรือ ประมาณ 7 กรัม
ซึ่งดื่มแล้วอาจทำให้รู้สึกสดชื่นก็จริง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเงาตามตัว
ไม่เพียงเท่านั้น เครื่องดื่มเหล่านี้ยังมีแคลอรี่สูงอีกด้วย ส่งผลเสียทั้งในเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด และ หากดื่มบ่อย ๆ ก็ยิ่งทำให้น้ำหนักขึ้นแบบไม่รู้ตัว
21. ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงช่วงก่อนมีประจำเดือนไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนอย่าง
ท้องอืด ท้องเฟ้อ อารมณ์แปรปรวน เท่านั้น แต่ส่งผลให้ อินซูลินที่อยู่ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จนทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างที่ควรจะเป็น
เนื่องจากความแปรปรวนของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงช่วงมีประจำเดือนจะทำให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินน้อยลงนั่นเอง
22. เมื่ออยู่ในภาวะเครียด
ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา และฮอร์โมนดังกล่าวจะกระตุ้นร่างกายให้ปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของน้ำตาล
ยิ่งเครียดมากเท่าไหร่ ระดับน้ำตาลในเลือดก็ยิ่งสูงขึ้น
23. พักผ่อนไม่เพียงพอ
รวมทั้งผลกระทบในเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือดด้วย โดยมีการพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่ง
หากนอนหลับน้อยกว่าวันละ 4 ชั่วโมงจะส่งผลให้ความไวต่ออินซูลินลดลง 14-21% จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอยังส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอีกด้วย
24. ยาสเตียรอยด์บางชนิด
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
ที่ใช้ในการรักษาอาการผื่นคัน อาการข้ออักเสบ หรือโรคหอบหืด
หากรับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นผิดปกติ
นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย
25. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ที่จะแปรสภาพเป็นน้ำตาล
ยิ่งถ้าดื่มมาก น้ำตาลในเลือดก็จะยิ่งสูง
โดยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไวน์แดง 1 แก้ว (148 มิลลิลิตร) มีน้ำตาล 1.2 กรัม
ส่วนเบียร์ก็มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ 12.64 กรัม
หากถูกย่อยสลายเป็นกลูโคสแล้วก็ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้มากเลยทีเดียว
26. เป็นไข้หวัดบ่อย
ดูเหมือนไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน
แต่การกินน้ำตาลจะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง โอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสก็มีมากขึ้น
27. วิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า
การกินน้ำตาลมากทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ที่รวมถึงสภาพทางจิตใจด้วย
เช่น อาจมีอาการเซื่องซึม เศร้า เครียด และปลีกตัวออกจากสังคม ซึ่งหากรู้สึกว่าตัวเองเริ่มวิตกกังวลมากขึ้น หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้าบ่อยขึ้น
ลองกินน้ำตาลให้น้อยลง อาจจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
28. โรคผิวหนังและปัญหาเกี่ยวกับเท้า
การกินน้ำตาลมาก มีผลต่อการอักเสบของร่างกายและทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบ
หากคุณมีโรคผิวหนังอยู่แล้ว เช่น เป็นสิว เป็นแผลเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อ
หรือการเกาแรงๆที่ทำให้เป็นแผลอักเสบ รวมถึงการมีผิวแห้งกว่าปกติ
ก็อาจเป็นไปได้ว่าน้ำตาลคือตัวการสำคัญ
มีตัวอย่างของคนไข้ที่มีการอักเสบของเท้า หรือแม้แต่อาการปวดส้นเท้า และการเกิดรอยคล้ำใต้ดวงตา
เมื่อติดตามพฤติกรรมของคนเหล่านี้ มักพบว่าเป็นพวกที่ชอบกินของหวาน ดื่มน้ำหวานๆ หรือแม้แต่กินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป
29. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เพราะร่างกายของมนุษย์สามารถรองรับน้ำตาลได้ในปริมาณที่จำกัด
แคลอรีจากน้ำตาลจะถูกแปรสภาพกลายเป็นไขมันสะสมในร่างกาย
หากกินน้ำตาลมากเกินไป จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
มีคอเลสเทอรอลสูงและมักมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
30. ความดันโลหิตสูง
สมัยก่อนเรามักคิดว่าการกินเค็มหรือมีโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง แต่หลังจากปี ค.ศ.2010 เป็นต้นมา การศึกษาวิจัยพบว่า ความดันโลหิตสูงมีส่วนสัมพันธ์กับการกินน้ำตาลมากเกินไป
31. ปัญหาเกี่ยวกับฟัน
ถ้ากินหวานมากโอกาสจะเกิดฟันผุหรือการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปากก็มีมากขึ้นด้วย
32. ปัสสาวะมีมดขึ้น
33. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงบ่อย
34. มีสัญญาณที่ผิว บ่งบอกว่า คุณใกล้จะเป็นเบาหวาน
1. ติ่งเนื้อ(skin tag หรือ acrochordons)
ก้อนเนื้อเล็กๆนิ่มๆที่ยื่นออกมาจากผิวหนัง
ชอบขึ้นตามคอ รักแร้ ขาหนีบ
เชื่อว่าเกิดจากภาวะที่มีระดับอินซูลินในเลือดสูงจากการที่ร่างกายเริ่มดื้อต่ออินซูลิน
ส่งผลให้มีการแบ่งเซลล์ของ keratinocyte หรือเซลล์ที่ผิวหนังผิดปกติ
2. รอยคล้ำที่คอ รักแร้ ข้อนิ้ว(Acanthosis nigrican)
สาเหตุจะคล้ายกับข้อแรก เกิดจากการที่มีอินซูลินในเลือดสูงบ่อยๆ นานๆเช่นกัน
3. กระหม่อมล้าน(Androgenetic alopecia)
อันนี้มักพบในฝรั่ง
ลักษณะคือผมตรงกระหม่อมจะบางลงและร่วง โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้น
หากท่านมีอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงว่าร่างกายของคุณเริ่มมีภาวะดื้ออินซูลิน
และถ้ามีอาการของเบาหวานร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย ไม่มีแรง แนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ตรวจเลือดหาเบาหวาน
นอกจากนี้ยังมีลักษณะอื่นๆที่พบในผู้หญิงที่บ่งบอกว่ามีภาวะดื้ออินซูลินเกิดขึ้นได้ เช่น มีสิวขึ้น ขนดกผิดปกติ ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
ภาวะดื้ออินซูลินเป็นสิ่งที่ตรวจได้ยาก และไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้และมองข้ามไป จนสุดท้ายต้องกลายเป็นเบาหวานในที่สุด
เป็นไงกันบ้างคะ หลายๆข้อ เพื่อนๆอาจจะไม่ได้คิดว่าเป็นสัญญาณว่าเราติดหวานหรือเพิ่มความหวานให้เราใช่ไหมคะ
แล้วเรามาติดตามกันต่อนะคะ
ตอนที่4 ภัยจากน้ำตาลเทียม
ว่าเราจะออกจากความหวานได้อย่างไร
น้ำตาลเทียมมีผลอย่างไรกับร่างกายเรา
อย่าลืมกดไลท์กดแชร์ ให้กับ ชะแลความก่อ ..ชะลอวัยใช่เลย..เคล็ดลับง่ายๆของคนหน้าวัยใสนะคะ
สามารถติดตาม เพจ..ชะแลความก่อ..ได้ตามช่องทางนี้ค่ะ
📍youtube
📍ติดตามในFacebook
1
📍ติดตามใน Blockdit
📍ติดตามในLine@
#รอยดำ #สัญญาณ #ติดหวาน #น้ำตาล #หน้าอ่อน #ชะลอวัย #การนอน #พฤติกรรม #อาการ #อ่อนหวาน #แอลกอฮอล์ #เบาหวาน #รู้ #หวุดหงิด #ฮอร์โมน #น้ำตาลเทียม #ทำลาย #เครียด
ที่มา:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา