22 มี.ค. 2020 เวลา 09:30 • ธุรกิจ
20 ข้อในการทำธุรกิจ เมื่อ Covid 19 มาเยือน
ไหนๆมันก็ระบาดจนมีผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว เราไม่มีทางหลีกเลี่ยง มีแต่ต้องปรับตัวตาม
picture from Crohn's & Colitis UK
แล้วอะไรที่เราควรทำได้บ้างล่ะ !! ในสภาวะแบบนี้ มีน้อยธุรกิจ ที่จะได้อนุสงค์จาก เจ้า Covit 19 (แม้ว่า 3M จะขายหน้ากาก อนามัยได้มากมาย แต่ธุรกิจหลักของเขากลับมีผลกระทบมากกว่า) เชื่อว่าเกือบทั้งประเทศไทยมีผลกระทบ เช่น
ธุรกิจที่มีการผลิตเพื่อการส่งออก หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และการบริการ จะได้รับผลกระทบสูงมาก และเมื่อคนไม่ออกจากบ้าน ปัญหาก็จะเพิ่มขึ้นมาอีก
ดังนั้นวันนี้เรามาดูกันว่า เราจะทำอะไร ได้บ้างเมื่อ covit 19 มาเยือนเรา ถ้าอยากดูแบบมีรูปภาพประกอบ ไปดูที่ FB : principle4biz
หมายเหตุ ข้อแนะนำทั้งหมดนี้ ผมคิดว่าคุณคงมีไอเดียอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยมันจะช่วยเตือนคุณทำมัน หรือส่งมันให้ทีมงานของคุณเอาไปอ่าน จะได้ไม่ต้องเสียเวลาคุยกันมาก เป็นการบอกแบบเนียนๆ
By Anant vachiravuthichai (Tangram Strategic Consultant)
#principle4biz #tangram
#professionalpurchasing #Internationaltrade
#codevelop #parttimegm
#covid19
1.ดูแลพนักงานของคุณให้ดี : สถานการณ์แบบนี้ ขวัญและกำลัง ใจของพวกเขาเป็นเรื่องสำคัญ ที่คุณต้องรักษาไว้ให้ได้ การดูแลก็ ต้องสื่อสารกับพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ว่าแผนของคุณเป็นอย่างไร ถ้ายอดขายลดลง จะต้องทำอะไร พวกเขาจะมีผลกระทบอย่างไร แค่นี้ก็คลายกังวลให้กับพวกเขาได้แล้ว (ถ้าคุณยังสามารถจ่ายเงินเดือนให้พวกเขาได้ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย ก็ไม่น่าจะมีข้อกังวลอะไร ใช่มั้ยครับ)
2.ออกไปช่วยเหลือสังคมบ้าง : เราจะเรียกว่า เป็นการทำ CSR (Corporate Social Responsibility) แบบหนึ่ง ถ้าปัญหาของคุณ ยังไม่หนักมาก ก็ออกไปช่วยสังคมบ้าง เช่น ทำป้ายแนะนำการป้องกัน Covid 19 ,ทำหน้ากากไปแจกประชาชน หรือช่วยเหลือเป็นเงินเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ อย่างลืมว่า การทำ CSR ไม่ได้ช่วยยอดขาย แต่เมื่อวิกฤษมาเยือนธุรกิจของคุณ ถึงเวลานั้นสังคมจะกลับมาช่วยเหลือคุณ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
3.ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น : ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต้องลดลง เช่น ค่าทำสวน ค่าทำความสะอาด เราสามารถให้พนักงานเป็นอาสา สมัครมาทำแทนได้ (เราจะได้ดูใจกัน ก็วันนี้ล่ะ)
4.เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด : สถานการณ์เปลี่ยน แปลง ได้ตลอดเวลา ต้องติดตามประกาศของทางราชการ เพื่อคุณจะได้ ปรับตัวได้ทัน เช่น ข้อมูลความช่วยเหลือของทางราชการ / การผ่อนปรนเพื่อการส่งออก
5.พัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ : ถ้าธุรกิจของคุณเป็น การขายหน้าร้าน คุณก็ต้องปรับเปลี่ยนให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายขึ้น เช่น มีบริการส่งถึงบ้าน เพราะพวกเขาจะออกนอกบ้านน้อยลง / การบริการ ต้องแสดงถึงสุขอนามัยอย่างเต็มที่ เขาจะได้กล้าที่จะมาใช้บริการ ของคุณ ตัวอย่างที่เด่นมากๆ ได้มีการสร้างรูปแบบธุรกิจห้องพัก สำหรับการกักตัว 14 วันขึ้นมาในราคา 30,000 บาท/14 วัน
6.ถ้า Cash flow ไม่พอ ต้องตัดรายจ่าย : สภาพคล่องทางการเงิน แน่นอนคุณรู้แล้วว่า รายรับจะมาไม่เหมือนเดิม แต่รายจ่ายที่ต้อง จ่ายประจำ (Fix Cost) ยังคงต้องจ่าย และคุณก็รู้เงินในกระเป๋า เหลืออยู่เท่าไร ที่จะจ่ายได้ !! คุณต้องลดรายจ่ายลงอย่างช่วยไม่ได้ รายจ่ายประจำ ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า ค่าบริการ ต่างๆ ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งหมดนี้ต้องบริหารจัดการ เช่น เงินเดือน คุณสามารถทำข้อตกลงกับพนักงานได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย โดยขอ ให้ ลาแบบไม่มีค่าจ้าง ลดค่าจ้างลง ตามสัดส่วนของฐานเงินเดือน / ค่าเช่าขอลดหย่อน หรือยกเลิกการเช่าไปเลย ถ้าไม่มีความจำเป็น ต้องใช้ / ดอกเบี้ยเงินกู้ เจรจากับธนาคารหรือเจ้าหนี้ เพื่อขอหยุด หรือลดหย่อนลงมา
ทั้งหมดนี้ก่อนดำเนินการ คุณก็ควรจะมีแผนในใจแล้วว่า จะต้องลดมา เหลือที่เท่าไหร่
เพื่อให้ธุรกิจคุณยังสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยไม่ติดขัด อย่างน้อยก็ 3-4 เดือนขึ้นไป (การวางแผนนี้ คุณต้องทำ Financial projection หรือ Performance review ขึ้นมาดู ยิ่งละเอียดยิ่งดี ทำเองก็ได้ ไม่ยาก หรือให้เจ้าหน้าที่บัญชีทำให้ดูก็ได้)
7.เป็นช่วงที่ต้องคิดถึงอนาคต (วางแผน 5 ปี) : ไหนๆกิจกรรมทาง ธุรกิจลดลง คุณจะมีเวลามากขึ้น เพื่อทบทวนไปข้างหน้าว่า ธุรกิจต่อ จากนี้ ควรจะต้องปรับแต่งอย่างไรบ้าง อย่าคิดว่ามันจะเหมือนเดิม ยกตัวอย่างกรณีที่โรคซาร์สที่ระบาดในจีนเมื่อ 17 ปีก่อน ก็ทำให้ธุรกิจ e-commerce ของจีนเติบโตขึ้นมาอย่างมาก ดังนั้น Covid 19 ก็สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในไทย และหลายๆที่ในโลกได้เหมือนกัน การวางแผน 5 ปีนี้ ก็คือ การทำBusiness Plan ของธุรกิจคุณออกมาดู
8.งานลด แต่คนต้องไม่ว่าง : การที่การผลิตการขายลดลง แน่นอน จะให้พนักงานมานั่งนอนอยู่เฉยๆคงไม่ใช่ เราต้องให้เขามาวางแผน การพัฒนาพื้นที่ความรับผิดชอบออกมา เช่น ระบบเอกสาร การทำความสะอาดพื้นที่ทำงาน (งานพวกนี้ไม่ต้องใช้เงิน)
9.ปรับปรุงกระบวนการผลิต : เวลาที่มีมากขึ้น เอาปรับปรุงการผลิต อันนี้เป็นงานของช่างและวิศวกร หรือของคุณ ที่จะต้องเอาเวลา ว่างของการผลิต มาคิดและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น
10.ทรัพยากรที่มีอยู่ เอาออกมาใช้ หรือขายออกไป : อันนี้เราจะ เรียกว่าเป็นการทำ 5 ส สะสางอะไรที่ไม่ได้ใช้ แล้วยังต้องมาดูแลอีก เสียพื้นที่ เสียเวลา ขายเอาไปเปลี่ยนเป็นเงินเข้ามาหมุนเวียนก่อน หรือจะปรับแต่งเพื่อเอามาใช้งาน ไม่ต้องไปซื้อใหม่
11.ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน : อันนี้หมายถึง พื้นที่รอบ นอกที่ไม่ใครดูแลโดยตรง เช่น สนามกีฬา ลานหรืออาคารจอดรถ รั้วอาคารสถานที่ ห้องน้ำรวม ห้องอาหาร จริงๆอาจเป็นฝ่าย บุคคลดูแล แต่เป็นการจ้างคนมาทำ ก็ให้พนักงานที่ว่างงาน มาทำดีกว่า และงานเพิ่มเติมก็มี ให้ถือเป็นการบูรณะ อาคาร สถานที่เช่น ทาสี ปลูกต้นไม้ แถมอันหนึ่ง อันนี้ผมถือมาก เพราะถ้าสถานที่ทำงาน ห้องน้ำ ห้องอาหาร ยังสกปรก ผมถือว่า เจ้าของไม่ดูแลพนักงาน (ถ้าแค่นี้เรายังทำให้พนักงานไม่ได้ อย่าเรียกว่า คุณดูแลพนักงานเลย)
12.คิดถึงจุดยืนทางธุรกิจ : ระหว่างที่คุณจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) ผมอยากให้คุณคิดถึง จุดยืนทางธุรกิจด้วย เพราะมันจะทำให้ คุณคิดอะไรได้ง่ายขึ้น เช่น เราจะทำธุรกิจนี้เพื่ออะไร จะสร้างสรรค์ อะไร แบ่งปันสังคมอย่างไร มันก็เปรียบรากฐานทางความคิด ที่คุณจะใช้เป็นทิศทางในการก้าวไปข้างหน้า
เพราะถ้าไม่มีจุดยืน คุณก็จะต้องโอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยไม่มีทิศทางของตัวเอง และเมื่อมีจุดยืนแล้ว การสร้างอะไรก็จะง่าย เช่น การสร้างแบรนด์ เราก็สร้างจุดยืนอันนั้น
13.พิจารณาสินค้าและบริการที่มีอยู่ : ในยุคนี้การมีสินค้าและบริการ ที่ใหม่และทันสมัย ไม่พอครับ เราต้องมองให้ลึกกว่านั้น ว่าสินค้าและบริการของเรา ตอบสนองความต้องการได้ดีแค่ไหน !! (Pain Point) และมันเหมาะกับใคร !! (Segmentation) ถ้ามันไม่ได้ถูกออกแบบมา อย่างที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ สินค้าและบริการนั้นก็จะไม่ได้รับการตอบสนอง อย่าคิดว่ายอดขาย มาจากการทำโฆษณาเท่านั้น
14.ซ่อมบำรุงอุปกรณ์และเครื่องจักร : ที่ผ่านมาคุณอาจละเลย ที่จะดูแลมัน คราวนี้เป็นโอกาสที่ดี ที่คุณจะได้ดูแลมัน
15.พัฒนาบุคลากร : นี้เป็นโอกาสที่ดี ที่คุณจะได้มา Focus ทีมงานของคุณ เพื่อพัฒนาพวกเขา คุณอาจให้เทรนกันเอง เช่น หัวหน้าเทรนลูกน้อง ผู้จัดการโรงงานเทรนหัวหน้างาน หรือทำการเทรนข้ามแผนกกัน
16.จัดการระบบสนับสนุน (supporting system) : ทำการศึกษา คู่มือปฏิบัติงานใหม่ (กรณีที่ไม่ได้ทำ ISO) ว่าสิ่งที่ทำกับสิ่งที่เขียน ไว้สอดคล้องกันมั้ย ทำการปรับปรุงให้ถูกต้อง หรือถ้าไม่มีก็จัดทำขึ้น มาใหม่
ถ้ามีการปฏิบัติงานโดยไม่มีคู่ปฏิบัติงาน ก็แสดงว่าคุณไม่มีมาตรฐาน และปัญหาจะตามมาอีกมากมาย ที่แน่ๆคุณไม่มีทางที่จะ พัฒนาธุรกิจ ให้เติบโตได้ !!
17.วิเคราะห์ต้นทุน : เมื่อคุณได้ดูต้นทุนทางธุรกิจ จากการทำ Financial projection หรือ Performance review ที่จัดทำขึ้นมา แล้ว คุณก็นำข้อมูลนั้นมาปรับแต่งให้เหมาะสมได้ เช่น ต้นทุนต่อหน่วยผลิตเหมาะสมหรือไม่ ถ้าต้นทุนสูง เราก็ลดราคา ขายไม่ได้ ซึ่งคู่แข่งอาจทำได้ !!
18.พัฒนาคู่ค้า : ในสภาวะแบบนี้ การพัฒนาคู่ค้าก็ถือเป็นโอกาสที่ดี เพราะพวกเขาจะมีเวลา ที่จะทำตามที่เราร้องขอ โดยมีเป้าหมายที่จะ โตไปด้วยกัน เช่น เราคิดที่จะพัฒนาธุรกิจไปในอนาคต ถือโอกาสคุยกันเพื่อจะปรับตัวไปด้วยกัน แต่ถ้าเขาไม่สนใจ ก็จะทำให้เรารู้ว่า เราจะต้องหาคู่ค้ารายใหม่
19.ปรับปรุงช่องทางการนำเสนอ : การสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ เช่น Video Conference คุณสามารถนำมาใช้กับลูกค้าได้ / การขาย Online ในรูปของ platform ต่างๆ
20.ปรับปรุงตัวเอง : ในฐานะเจ้าของธุรกิจ หรือผู้นำองค์กร คุณมีหน้าที่ที่จะต้องนำทีมไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่แข่งขันได้ และอยู่รอดได้ ไม่มีอะไรมากกว่า การศึกษาและเรียนรู้ อะไรที่ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ถ้าข้อแนะนำของผม ก็คือ คุณต้องอ่านหนังสือใหม่ๆให้ได้เดือนละ 1 เล่ม และชวนทีมของคุณมา ทำ Talk Meeting กัน เพื่อให้ทุกคนหาเรื่องของ ตัวเองมาเล่าใน ที่ประชุม
----------------------------------------------------------------------------------
โฆษณา