23 มี.ค. 2020 เวลา 23:00
#สติต่างนอกแต่เหมือนใน
1
“ ท้าวสักกะเทวราชเคยตรัสถามพระพุทธองค์ว่า “มีแนวปฏิบัติเพียงหนึ่งเดียว เป็นยาครอบจักรวาล
ใช้ได้กับสัตว์โลกทุกข์จำพวกหรือไม่พระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ไม่มี มหาบพิตร เพราะธรรมชาติสัตว์โลกมีความหลากหลาย มีอุปนิสัยใจคอแตกต่าง ไม่มีใครเหมือน ไม่เหมือนใคร ลอกเลียนแบบกันไม่ได้”
รูปแบบการปฏิบัติจึงมีหลากหลาย
สไตล์ใครสไตล์มัน
เช่น พุท–โธ ,ไหว – นิ่ง ,พอง – หนอ ยุบ – หนอ ,สัมมา –อะระหัง และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน
ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจธรรมชาติที่หลากหลายของสัตว์ มักถกเถียงกันว่าแนวปฏิบัตินั้นดีกว่าแนวนี้ แนวปฏิบัตินี้ดีกว่าแนวโน้น จิตใจไม่สงบสักที มีแต่สับสนวุ่นว่าย เตลิดไปนอกลู่จนกู่ไม่กลับ
แนวปฏิบัติทุกอย่างใช้ได้ทั้งนั้น ฝึกรูปแบบไหนก็ได้ ให้ถูกกับอุปนิสัยใจคอของเรา เมื่อเราฝึกวิธีใดแล้วสติเกิดไว จิตใจสงบนิ่งจับอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน นั่นแหละแนวปฏิบัติที่เราจะต้องยึดถือเป็นสรณะตลอดไป
1
พระพุทธองค์ทรงวางแนวกว้างๆ ในการฝึกสติไว้ ๔ แนว ดังนี้...
๑. กาย ๒. ความรู้สึก ๓. จิต ๔. ธรรม
เปรียบเหมือนเมืองมีทางเข้า ๔ ทาง จะเดินเข้าทางไหนก็ได้ จะเข้าไปด้วยวิธีการไหนก็ได้ เช่นเดินเท้า นั่งรถ นั่งเครื่องบิน และอื่นๆ อยู่ที่ความถนัดและความต้องการของมนุษย์แต่ละคนเข้าทางไหน สุดท้ายก็ถึงเมืองเหมือนกัน
ทำไมถึงตรัสการฝึกสติไว้ถึง ๔ ทาง มนุษย์แต่ละคนมีนิสัยใจคอมเหมือนกัน แต่ละแนวเหมาะสำหรับอุปนิสัยใจคอที่แตกต่างกันออกไป
๑. ผู้ติดรูปร่างหน้าตา หลงติดในความงามของรูปร่างหน้าตาภายนอก หลงใหลในผิวพรรณที่ขาวนวลเปล่งปลั่ง จิตใจมักเตลิดเปิดเปิงไปกับความสวยงามฉาบไล้ภายนอก ไม่เคยมองลึกเข้าไปข้างใน จนเห็นความจริงตรงข้ามที่ซ่อนอยู่ เหมือนแมลงเม่า เห็นเปลวไฟสีสวยสด ต่างก็รู้สึกร่างเริงกระโจนเข้าสู่เปลวไฟอย่างเมามัน ไม่เคยฉุกคิดว่าภายใต้เปลวไฟที่สวยสดนั้นมีความร้อนไหม้ซ่อนเร้นอยู่ มันจึงถูกเผาตายอย่างน่าอนาถ
ผู้หลงติดในรูปร่างหน้าตาก็เหมือนกัน จะมีทุกข์เพราะหน้าตาที่ตนเองยึดติดเมื่อหน้าตานั้นแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้มองให้ลึก นึกให้ทะลุ มองเห็นความเป็นจริงของกายข้างใจ เรียกภาษาพระว่า
1
“อสุภะ” คือ ฝึกมองให้เห็นความไม่สะอาดของกายอย่างมีสติ
1
๒. ผู้ติดในสุข ยึดติดในความสุขสบายที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือสุขจากกิน – กาม – เกียรติ หลงเชื่อว่าสุขดังกล่าวเที่ยงแท้ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น แต่แท้จริงไม่มีสุขที่เที่ยงแท้ถาวร หากสังเกตให้ดี ความสุขสบายที่เราแต่ละวินาทีเปลี่ยนแปลงไปตลอด ไม่คงทนถาวรได้ผู้หลงติดในสุขจึงมีทุกข์หรือเครียดเมื่อสุขนั้นหายไป
2
พระพุทธองค์จึงทรงแนะให้ใช้สติปัญญา มองให้เห็นแก่นแท้ของความสุข “ความรู้สึกสุขทุกประเภทที่มนุษย์ได้รับ ล้วนแต่ไม่แน่แปรเปลี่ยนทุกเสี้ยววินาที” นั่นคือแก่นแท้ของสุขทุกชนิด เมื่อมันไม่แน่ พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า นั่นไม่ใช่สุขที่แท้จริง เมื่อไม่ใช่สุขแท้ก็เท่ากับทุกข์นั่นเอง พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้ใช้สติปัญญาพิจารณาให้
เห็นชัดว่า ความรู้สึกสุขที่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่แท้ก็คือ “ทุกข์” นั่นเอง เมื่อเห็นทุกข์ซ่อนในสุข ก็จะไม่ติดใจในสุขทุกชนิด รู้จักวางเฉยกับสุขทุกอย่างที่เกิดทางทวารทั้ง ๖ ไม่ตื่นเต้นดีใจกับมันเหมือนแต่ก่อน ฝึกมองให้เห็นทุกข์ในสุข จึงเป็นแนวฝึกสติที่เหมาะสำหรับคนหลงติดในความรู้สึก
๓. ผู้ติดในความคิด หลงคิดว่าประสบการณ์ที่ตัวเองได้ ความคิดที่ตนเองคิด ถูกต้องทั้งหมด ไม่เปิดรับรู้ความคิดคนอื่นผู้หลงติดในความคิดตัวเองมักเปิดรับรู้แง่คิดใหม่ๆ ทำให้ตกยุคไม่ก้าวหน้าเหมือนคนอื่น ความคิดล้าหลัง ถูกคนอื่นว่าเอาก็ไม่พอใจแสดงความโกรธและเกลียดชัง ผู้หลงติดความคิด พระพุทธองค์แนะนำให้พิจารณาจิต ดูความคิดว่าไม่เที่ยงแท้ เกิด – ดับ เก่าไปใหม่มา จะไปหลงใหลยึดมั่นถือมั่นอะไรกับมันมากทำไม
1
๔. ผู้ติดในความรู้ พวกนักวิชาการที่มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆ มักจะหลงว่าตัวเองรู้ดีกว่า เก่งกว่าคนอื่นๆ ทำให้ติดในความรู้ ติดในความคิดว่าเก่ง หากดูอย่างฉาบฉวย ความคิดว่า “เก่ง”
ไม่น่าจะเป็นปัญหาแต่หากพิเคราะห์ให้แยบคาย ความคิดว่า “เก่ง” นั่นแหละคือสาเหตุใหญ่ของทุกข์ เมื่อคิดว่ากูเก่ง ทำให้เกิดความคิดแบ่งแยก ไม่เห็นคนอื่นในสายตา ไม่เข้าใจความรู้สึกคนอื่น ไม่ให้เกียรติคนอื่น ทำให้เกิดความขัดแย้ง
องค์กรที่มีคนคิดว่าคนเก่งมาก มีอีโก้สูง จึงมีความขัดแย้งมาก ความเครียดสูง เพราะไม่ยอมลงรอยกันง่ายๆ มองแต่ความเก่งของตัวเอง
1
ผู้ยึดติดในความรู้ พระองค์ให้พิจารณาธรรม คือ ให้ใช้สติปัญญาพิเคราะห์สิ่งที่ตนรู้นั่นแหละว่า “ว่างเปล่าจากตัวตน” (อนัตตา) เมื่อความรู้ทั้งหมด ไม่ว่าจะดีวิเศษแค่ไหน
1
ว่างเปล่าจากตัวตน แล้วเราจะเอาอะไรกับมัน มันไม่ได้เป็นของใคร ใครไม่ได้เป็นเจ้าของ มันว่างอย่างนั้นของมันเอง แต่ไม่ว่าจะฝึกสติทางไหน รูปแบบใด
ท้ายสุดก็แก้ทุกข์ได้ทั้งนั้น เนื้อนอกต่าง เนื้อในจึงเหมือน “
1
Cr: พระอาจารย์มหาสุภา ชิโนรโส
โฆษณา