23 มี.ค. 2020 เวลา 10:32
แม่ทุกคนต้องเคยพูดคำนี้กับเรา โดยเฉพาะคนที่ต้องมาทำงานไกลบ้าน หรือมาทำงานในเมืองกรุงฯ ที่เมื่อทำงานได้เงินมาเราจะต้องเจอกับสิ่งเร้า สิ่งยั่วยุมากมาย ให้เราเผลอควักเงินออกจากระเป๋าเพื่อปรนเปรอกิเลสตัวเอง
หรือแม้แต่การซื้อเพื่อเข้าสังคม ซื้อเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเอง กลายเป็นว่าทุกๆ เดือนที่เรามีเงินเข้ามา มันมักจะออกไปมากว่าที่ได้ได้ถูกเก็บเอาไว้
พอถึงวันที่ชีวิตของใครหลายคนต้องถึงวิกฤต กลับไม่มีเงินสำรองชีวิตไว้ใช้อย่างเพียงพอ เพราะมันได้ถูกใช้ไปจนหมดแล้ว
นี่เราพูดถึงชีวิตปัจจุบันที่ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะพนักงานประจำหรือฟรีแลนซ์ ต่างเจอวิกฤตทางเศรษฐกิจที่กระทบต่อรายได้ที่เข้ามา ยังไม่พูดถึงเวลาเราเกษียณอายุไปแล้ว เราจะมีเงินเก็บใช้เพียงพอจนตายหรือไม่
ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า คนไทยในวัยแรงงานกว่า 25 ล้านคน มีเงินเก็บไม่ถึง 50,000 บาทถึง 88% และมีเพียง 1% ที่มีเงินเก็บถึง 1 ล้านบาท
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่ได้ถูกสอนมาให้รู้จักวิธีการออมเงินอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่เด็ก หรือการปลูกฝังให้ใส่ใจการออมอย่างจริงจัง
อีกส่วนก็คือโครงสร้างทางสังคม ปริมาณของรายได้ ไม่เอื้อต่อการที่ประชาชนจะเหลือเงินมากเพียงพอที่จะเก็บ
แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ค่านิยมของการใช้เงินของคนไทย ที่มักใช้จ่ายเงินเกินตัว จากความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหมือนคนอื่นๆ และเอาตัวเองเปรียบเทียบกับคนอื่นเพื่อให้มีอย่างที่ใครๆ มี แม้จะต้องกู้หนี้ ยืมสิน ใช้เงินในอนาคตจากการมีบัตรเครดิตก็ยอม
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความผิดพลาดในการบริหารจัดการเงินของตัวเอง ที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางรายได้ และความมั่นคงในชีวิต
แต่วันนี้วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เห็นชีวิตของใครหลายๆ ที่กำลังประมาทกับการใช้ชีวิต ลืมวางแผนการใช้เงิน ให้เจอกับความยากลำบาก เมื่อวันที่งานไม่ใช่สิ่งหาง่าย และการตกงานถืิอเป็นเรื่องที่โคตรง่าย
บางครั้งคำพ่อแม่สอนอาจจะฟังดูน่าเบื่อ ว่าทำไมต้องพูดพร่ำสอนอยู่บ่อยๆ ซ้ำ แต่เชื่อเถอะว่าคำสอนเรื่องออมเงินง่ายๆ ของแม่นี่แหละ มันจะผุดมาเตือนสติใครต่อใครเสมอ ในยามที่คุณอาจต้องเจอกับวิกฤตทางการงานและการเงินในชีวิต เป็นคำเตือนด้วยความหวังดีที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทนั่นเอง
เป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่ได้รับผลกระทบในช่วงนี้ให้ผ่านวิกฤตไปได้ และเริ่มต้นในการเก็บออมครั้งใหม่เมื่อกลับมามีงานทำ
โฆษณา