23 มี.ค. 2020 เวลา 12:49 • ความคิดเห็น
สิ่งที่มั่นใจมากๆเลย คือ ถ้าคนพร้อมจะด่าคนอื่นอ่ะ ใครทำอะไรขัดหูขัดตาหน่อยยังไงก็ด่าไว้ก่อน ไม่มีการสอบถาม ค้นหาข้อมูล หรือ วิเคราะห์อะไร และที่สำคัญคือ คนกลุ่มนี้ไม่พร้อมแลกเปลี่ยน หรือรับฟังค่ะ
คือ การด่า มันง่ายค่ะ
มันก็ด่ากันที่ปลายเหตุ แล้วมันช่วยแก้อะไรได้ไหม ?
มั น แ ก้ อะ ไร ไม่ ได้ ค่ะ !!
เพราะมันไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ที่โครงสร้าง
อย่างวันนี้ คนรวย คนมีตังค์บางกลุ่ม ก็ ก่นด่า กลุ่มพี่น้องแรงงาน ด่า กลุ่มคนรายได้ต่ำ
คือ เขากลัวคนกลุ่มนี้สร้างผลกระทบให้เขาไง
แต่...ตอนปี 40 เชื่อไหม คนรวยไม่มีใครออกมาโทษตัวเองเลยที่ทำเศรษฐกิจล่มจม คนตกงานเป็นล้าน
บางคนฆ่าตัวตาย บางครอบครัวต้องแยกกันอยู่
ผลพวงความเสียหายจากที่พวกคนรวยคนชั้นสูงทำอ่ะ
มันก็สร้างความเสียหายไม่ต่างกันหรอก
แต่ คุณเคยเห็นคนจน ด่าไหม เรียกร้องอะไรไหม ?
ช่วงนั้นเศรษฐกิจฟื้นได้เพราะกลุ่มเกษตร แรงงาน ชนชั้นกลางล่างอ่ะ เขาก็ทำงานไปไม่เคยบ่นหรอกค่ะ
เราแทบไม่ได้ยินเสียงพวกเขาเลย แม้ในยามลำบาก
พวกเขาเพิ่งจะเริ่มมามีปากเสียง สะท้อนได้ไม่กี่ทศวรรษนี้เองค่ะ
คุณมีบ้านอยู่ที่นี่ มีครอบครัวที่นี่ เอาบริบทตัวเองเป็นบรรทัดฐานมันก็ไม่ถูกต้องค่ะ
คือ โทษอย่างแรกคุณต้องเริ่ม โทษที่รัฐก่อนเลย มันคือหลักที่จะให้เราใช้ยึดโยง
ถ้าจะให้ทุกคนมีคุณภาพอ่ะ มันเริ่มจากตัวเองไม่ได้ทุกคนค่ะ แต่เราช่วยกันได้....นั่นแหละถึงจะถูกต้อง
มันเป็นโครงสร้างที่เกาะเกี่ยวกันค่ะ
โอกาส และ ความเท่าเทียม เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างค่ะ
เวลาที่เราพูดถึง ความเท่าเทียม เนี่ย ความเข้าใจที่ตรงกันคือ เรามักพูดถึงเรื่องของ เสรีภาพในเชิงอุดมคติ (ideal)
แต่....ถ้าใครสักคนเอาเรื่อง ความเท่าเทียม มาอ้างในเชิงบริบทโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ ส่วนใหญ่มักพังค่ะ เพราะใช้ตรรกะแบบเหมารวม โดยไม่ได้แยกองค์ประกอบ (Fallacy of composition)
อย่างกรณีที่เรามักพบเห็นกันบ่อยๆ
เช่น ..... ชาวนาทำไมไม่ไปทำอาชีพอื่นในเมื่อทำแล้วลำบาก หรือ ทำไมคุณไม่ลองทำตามวิธีคนที่ประสบความสำเร็จหล่ะ ดูสิว่าเขาทำยังไง ฯลฯ
เคทอยากอธิบายแบบนี้ค่ะ
อย่างกรณีของ ชาวนา หรือ เกษตรกรนั้น ถ้าเราแยกองค์ประกอบออกมา เราจะเห็นโครงสร้าง บริบท ทั้งใน
เรื่องของ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ
อยากให้คุณลองนึกภาพตามนะคะ
ถ้าสมมุติ คุณเกิดที่ภาคอีสาน คุณจะเลือกทำอาชีพอะไร ?
เชื่อไหม เคทให้คุณนั่งคิดไป 1ชั่งโมงกับอีก 20 นาที 38 วินาที คุณยังเบลอๆอยู่เลย
เห็นไหมคะ แค่เรื่องของภูมิศาสตร์ ก็ถูกจำกัด แล้วค่ะ เพราะอีสานมันทำอะไรไม่ได้มากหรอกค่ะ ไม่ใช่ว่าอยากปลูกทุเรียนหรือสตอเบอร์รี่ ก็ปลูกได้ ไม่ใช่นะคะ
อ่ะต่อ....แล้วถ้าคุณเกิดในครอบครัว ชาวนา หรือ
เกษตกร ที่ไม่ได้ร่ำรวย ที่บ้านมีรถมอไซค์เก่าๆคันนึง โรงเรียนที่อยู่ใกล้ที่สุด ห่างจากบ้านคุณ ระยะทาง 7 กิโลเมตร มีถึงแค่ชั้น ม.3 และมีครูที่โรงเรียน ทั้งหมด 3 คน(รวมครูใหญ่ ) กับอีกโรงเรียนนึงอยู่ห่างออกไป 25 กิโล มีถึงชั้น ม.6 คุณจะเลือกเรียนที่ไหน ?
แล้วจบมาคุณคิดว่า โอกาสที่จะติดมหาลัยชั้นนำกี่เปอร์เซ้นต์ เห็นไหมคะว่า โอกาสที่คุณจะยกระดับทางการศึกษาแทบไม่มีเลยค่ะ มีน้อยมากกก
แล้วอย่าลืมว่า คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ยากจนก็มักต้องเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานภายในบ้าน โอกาสที่คุณจะ Expert หรือเป็นสเปเชี่ยลลิสต์ด้านการศึกษามันน้อยจริงๆค่ะ
โอกาสที่จะเป็นสเปเชี่ยลลิสต์ทางการทำนา ทำไร่เพาะปลูกต่างๆ( know howที่ถ่ายทอดสู่กันมา) จึงมีโอกาสง่ายกว่า มันเลยเป็นเหตุผลให้สกิลที่ติดตัวคุณมามันมีได้ไม่กี่อย่าง(know how) และมันถูกจำกัดแบบ
กลายๆตั่งแต่คุณเกิดมาแล้วอ่ะค่ะ
เมื่อพื้นฐานต่างๆไม่ส่งเสริม โอกาสทางการแข่งขันก็น้อยตาม เรียกได้ว่าแทบปิดตายเลยค่ะ
ทีนี้ ถ้าคุณดิ้นรนทิ้งครอบครัวทิ้งชีวิต จากชนบท มาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในเมือง นั่นหมายถึงว่าคุณก็ต้องมีต้นทุนใหม่เช่นกัน (ทุนในที่นี้คือ ทรัพย์และองค์ความรู้) เพราะต้นทุนเดิมของคุณมันใช้ได้ในบริบทเดิม องค์ความรู้ต่างๆ ที่เคยมีคุณค่าจะกลายเป็นศูนย์หรือติดลบทันทีที่คุณอยู่ในบริบทใหม่
เห็นไหมคะ ว่ามันไม่ง่ายเลย ไม่ง่ายจริงๆ นี่ขนาดยังไม่ได้พูดถึงด้านการเมือง(นโยบาย)และเศรษฐกิจแบบตรงๆอีกนะ
ไม่ต้องมองอะไรมากหรอก ขนาดคนที่จบปริญญามา ยังตกงานเป็นแสนๆเลย
สกิลบางอย่างที่ติดตัวเรามา หรือ สกิลที่เราลงทุนเพื่อให้ได้มันมาเนี่ย อย่างที่บอก ถ้าคุณไม่เป็นคนที่ advance จริง คุณไม่สามารถที่จะต่อยอดมันหรือ change มันได้ง่ายๆหรอก เพราะทุกอย่างมันก็มีต้นทุนในการเปลี่ยนด้วยเช่นกัน และต่อให้คุณ change สำเร็จ คุณก็แค่ได้โดดจากสนามนึงไปเล่นในอีกสนามนึง หรือแค่เปลี่ยนตลาด แต่ยังไงคุณก็ต้องไปแข่งขันกับเขาใหม่อยู่ดี ถ้าระบบกลไกรัฐมันไม่รองรับเนี่ยยังไงก็เป็นปัญหาค่ะ
อย่างเรื่องการ ปรับ mindset หรือปรับ attitude เพื่อจะเปลี่ยนแปลงชีวิต หรือใช้กับธุรกิจ หรือการลงทุน
เคทบอกได้เลยว่า แม้แต่คนที่รวยๆเก่งๆเนี่ย ก็ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้นะคะ
ขอยกตัวอย่างนึง
จากประสบการณ์ที่เคยแนะนำคนหลายๆคนมาเนี่ย
สิ่งที่ทำกันได้ยากที่สุด คือ การ cut loss
การที่คุณจะยอมตัดขาดทุน แล้วไปเริ่มใหม่เนี่ย เป็นอะไรที่ยากมาก ขนาดในตลาดหุ้นเนี่ยการเริ่มต้นใหม่ทำได้ง่ายมากๆ เพราะมีหุ้นเยอะแยะมากมาย มีการซื้อขาย วอลุ่มจำนวนมาก แต่เชื่อไหมว่า มีน้อยคนมากๆที่จะกล้า cut loss หรือรวมถึง cut loss ถูกจังหวะ
ทั้งๆที่ คนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่ก็การศึกษาสูงๆกันทั้งนั้นอ่ะค่ะ
แล้วนับประสาอะไรกับการทำอาชีพเกษตรกร ที่ต้องใช้องค์ความรู้ในการสะสมมาต่อเนื่องยาวนาน กว่าจะรู้ตัวว่าผลไม้ที่ปลูก นาที่ทำ ยางที่กรีด ที่ดูแลมา 7-8ปีที่แล้ว ที่ครั้งนึงเคยให้ผลตอบแทนที่ดี ที่รัฐเคยส่งเสริม อุดหนุนอุ้มชู มาวันนี้มันไม่ใช่อีกต่อไป
คำถามคือ .... คุณจะให้เขาโค่นต้นไม้ที่ปลูกมา7-8ปี ทิ้ง แล้วเริ่มใหม่หรอคะ
มันไม่ง่ายเลยค่ะ ต้นทุนในการเปลี่ยนมันมากกว่าที่เราเห็นนะคะ มันไม่ใช่แค่เรื่องของทุนทรัพย์เพียงอย่างเดียว มันกินความไปถึงองค์ประกอบหลายๆอย่าง
ปัจจัยการ cut loss ทำไมมันถึงทำได้ยากรู้ไหมคะ เพราะมันไม่ใช่แค่ตัดขาดทุนอย่างเดียว แต่มันรวมไปถึงการทิ้งความเชื่อ เหตุและผลต่างๆที่คุณเคยมีมาแต่เดิมค่ะ !!
แล้วคุณลองคิดสิว่า คนที่เติบโตมาจากวิถีชีวิตเกษตร การ cut loss ของเขามันจะยากขนาดไหน มันหมายถึงการเปลี่ยนวิถีชีวิตเลยนะ
อย่าง fallacy หรือ stereotype ที่เรามักพบเห็นบ่อยอีกอย่างก็คือ คนที่รวยหรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมักเป็นคนที่เก่ง
เอาจริงๆแล้วอย่างคนรวยๆเนี่ย มีหลายๆคนนะคะ ที่เคทสัมผัสมา เขาไม่ได้เก่ง แต่ประสบความสำเร็จได้ มันมีปัจจัยหนุนเยอะค่ะ
บางคนไม่ต้องทำอะไรเลย ใช้เวลาทั้งหมดโฟกัสคิดและทำธุรกิจแค่อย่างเดียวพอ ถึงแม้ธุรกิจช่วงแรกๆไม่มีผลตอบแทนเขาก็ไม่เดือดร้อนค่ะ
แล้วกลับกัน ถ้าคุณหันมาทำตามเขาเนี่ย คุณจะยืนระยะได้เหมือนเขาไหม ยากมากค่ะ สายป่านแต่ละคนมันไม่เท่ากัน(ยังไม่ต้องไปพูดถึงคอนเน็คชั่นอื่นๆที่ครอบครัวสร้างไว้อีก)
ต้นทุนหรือทรัพยากรบางอย่างก็ไม่ต่างอะไรกับ อ็อกซิเจน ค่ะ ต่อให้คุณเก่งมากๆ แต่ถ้าขาดอ็อกซิเจนแค่ 5 นาทีคุณก็ตายแล้วค่ะ !!
รู้สึกบ่นเรื่อยเปื่อยและเริ่มวนยาวละ พอแค่นี้แล้วกันค่ะ 😅
เชิญเพื่อนๆ แลกเปลี่ยน แชร์ความเห็นกันค่ะ
มิ้วติ้วอ่ะ
โฆษณา